มินสค์

(เปลี่ยนทางจาก Minsk)

มินสค์ (อังกฤษ: Minsk; เบลารุส: Мінск; รัสเซีย: Минск) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศเบลารุส ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสวิสลาช (Svislach) และแม่น้ำเนียมีฮา (Niamiha) ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 280.4 เมตร กรุงมินสค์เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของเครือรัฐเอกราช (CIS) ในที่เป็นฐานะเมืองหลวงของประเทศ ยังมีสถานะการบริหารพิเศษและยังเป็นศูนย์กลางการบริหารของจังหวัดมินสค์และเขตมินสค์อีกด้วย ในปี ค.ศ. 2006 กรุงมินสค์มีประชากรประมาณ 1,780,000 คน และมีนายมีคาอิล ปัฟลอฟ (Mikhail Pavlov) เป็นนายกเทศมนตรี

มินสค์

Мінск  · Минск
เมืองหลวง
ตามเข็มจากบนซ้าย: ถนน Pobediteley ย่านเศรษฐกิจของเมือง, ศาลาว่าการนครมินสค์, จัตุรัสสถานีรถไฟ, โรงอุปรากรแห่งชาติ, โบสถ์นักบุญพีเทอร์และพอล, โบสถ์แดง
ธงของมินสค์
ธง
ตราราชการของมินสค์
ตราอาร์ม
มินสค์ตั้งอยู่ในเบลารุส
มินสค์
มินสค์
ตำแหน่งของมินสค์แสดงภายในแคว้นมินสค์
พิกัด: 53°54′N 27°34′E / 53.900°N 27.567°E / 53.900; 27.567
ประเทศเบลารุส
ก่อตั้งขึ้นค.ศ.1067
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีAndrei Shorets
พื้นที่
 • เมืองหลวง409.5 ตร.กม. (158.1 ตร.ไมล์)
ความสูง280.6 เมตร (920.6 ฟุต)
ประชากร
 (2014)
 • เมืองหลวง1,921,807 คน
 • ความหนาแน่น5,966 คน/ตร.กม. (15,450 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง2,101,018 คน
เขตเวลาUTC+3 (FET[1])
รหัสไปรษณีย์220001-220141
รหัสพื้นที่+375 17
ป้ายทะเบียนรถ7
เว็บไซต์www.minsk.gov.by
บริเวณจัตุรัสแห่งชัยชนะในกรุงมินสค์

หลักฐานยุคแรกเริ่มสุดที่กล่าวถึงมินสค์นั้นย้อนไปถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 (ค.ศ. 1067) ในปี ค.ศ. 1242 มินสค์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของราชรัฐลิทัวเนีย (Grand Duchy of Lithuania) และได้รับอภิสิทธิ์เมืองในปี ค.ศ. 1499 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1569 เมืองนี้ได้เป็นเมืองหลวงของมินสค์วอยวอดชิป (Minsk Voivodship) ในเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย ต่อมาถูกผนวกเข้ากับรัสเซียในปี ค.ศ. 1793 ซึ่งเป็นผลจากการแบ่งแยกโปแลนด์ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1919-1991 มินสค์เคยมีฐานะเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย (Byelorussian SSR) ก่อนสหภาพโซเวียตล่มสลาย

เมืองพี่น้อง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Eternal Daylight Saving Time (DST) in Belarus". timeanddate.com. 19 September 2011. สืบค้นเมื่อ 30 October 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้