โลกสภา
โลกสภา (อักษรโรมัน: Lok Sabha; ฮินดี: लोकसभा, Lōkasabhā) เป็นสภาล่างของรัฐสภาอินเดีย ตามรัฐธรรมนูญอินเดียกำหนดให้สมาชิกโลกสภามีจำนวนไม่เกินห้าร้อยห้าสิบสองคน ไม่เกินยี่สิบคนในจำนวนนี้เป็นผู้แทนจากสหภาพดินแดนต่าง ๆ ของประเทศอินเดีย และสองคนเป็นผู้แทนจากประชาคมแองโกลอินเดีย
โลกสภา House of the People | |
---|---|
โลกสภาที่ 17 | |
ประเภท | |
ประเภท | เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภาอินเดีย |
จำกัดวาระ | 5 ปี |
ผู้บริหาร | |
ว่าง | |
ว่าง เนื่องจากไม่มีพรรคฝ่ายค้านใดมีที่นั่งมากกว่า 10% | |
โครงสร้าง | |
สมาชิก | 545 (543 Elected + 2 Nominated) |
กลุ่มการเมือง | รัฐบาล (355) National Democratic Alliance (355)
ฝ่ายค้าน (188)
อื่นๆ (95)
ว่าง (2)
|
การเลือกตั้ง | |
แบ่งเขตคะแนนสูงสุด | |
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด | 11 เมษายน – 19 พฤษภาคม ค.ศ.2019 |
การเลือกตั้งครั้งหน้า | พฤษภาคม ค.ศ.2024 |
ที่ประชุม | |
โลกสภา, Sansad Bhavan, Sansad Marg, นิวเดลี, ประเทศอินเดีย - 110 001 | |
เว็บไซต์ | |
loksabha |
สมัยประชุมแต่ละสมัยของโลกสภามีอายุห้าปี หลังจากนั้นจะสิ้นสุดลงโดยอัตโนมัติ เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ แต่อาจมีการขยายระยะเวลาของสมัยประชุมออกไปได้ตามรัฐกำหนดที่รัฐบาลอินเดียตราขึ้นเมื่อมีเหตุจำเป็น ปัจจุบันอยู่ระหว่างสมัยประชุมที่สิบหกของโลกยสภา ซึ่งเริ่มต้นเปิดสมัยประชุมมาตั้งแต่หลังการเลือกตั้งทั่วไปในอินเดีย เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557
โลกสภา มีความแตกต่างจาก ราชยสภา หรือสภาสูงของรัฐสภาอินเดีย ที่โลกสภาสามารถถูกยุบสภาได้ตามระบอบการปกครองประชาธิปไตยแบบเวสต์มินสเตอร์ แต่จะไม่มีการยุบราชยสภา อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดีอินเดียมีอำนาจที่จะสั่งการให้ระงับสมัยประชุมของโลกสภาและราชยสภาได้ทั้งคู่ นอกจากนั้น สมัยประชุมของโลกยสภาก็มีการเปิดขึ้นและปิดสมัยประชุมไปเป็นระยะตามวงรอบทุกห้าปี แต่ราชยสภาเปิดสมัยประชุมต่อเนื่องตลอดเวลา
โลกสภาและราชยสภาบริหารอำนาจนิติบัญญัติร่วมกัน โดยมีอำนาจหน้าที่เท่าเทียมกันในการเสนอและพิจารณาร่างกฎหมาย (ยกเว้นประเด็นที่เกี่ยวกับงบประมาณ เป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของโลกสภาที่จะพิจารณา นอกจากนั้น โลกสภายังมีอำนาจหน้าที่ที่จะประชุมอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ซึ่งราชยสภาไม่มี) ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านนิติบัญญัติ ปัญหาดังกล่าวนี้จะได้รับการตัดสินโดยที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาอินเดีย แต่โดยที่โลกสภามีสมาชิกมากกว่าราชยสภาถึงสองเท่า จึงนับว่าโลกสภามีอำนาจมากกว่าในการประชุมร่วมกันดังกล่าว อย่างไรก็ดี การประชุมร่วมกันของสภาทั้งสองที่ประกอบขึ้นมาเป็นรัฐสภาอินเดียมีน้อยครั้งมาก ในประวัติศาสตร์ตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐอินเดียจนถึงปัจจุบัน มีการประชุมร่วมเช่นว่านั้นเพียงสามครั้งเท่านั้น
ในที่ประชุมรัฐสภา ที่นั่งและพรมทางเดินของสมาชิกโลกสภาจะเป็นสีเขียว ขณะที่ของสภาสูงหรือราชยสภาเป็นสีแดง
อ้างอิง
แก้- ↑ "Om Birla unanimously elected Lok Sabha Speaker, PM Modi heaps praises on BJP colleague". India Today (ภาษาอังกฤษ). 19 June 2019. สืบค้นเมื่อ 19 June 2019.
- ↑ "Snehlata Shrivastava appointed Lok Sabha Secretary General". The Economic Times. 28 November 2017. สืบค้นเมื่อ 21 June 2019.
- ↑ "Narendra Modi to be sworn in as 15th Prime Minister of India on May 26". Deccan Chronicle. 20 May 2014. สืบค้นเมื่อ 23 June 2019.