คิตตีจีวายเอ็ม
คิตตีจีวายเอ็ม (อังกฤษ: Kitty GYM) เป็นวงชั่วคราวที่ก่อตั้งใน ค.ศ. 2006 เพื่อสนับสนุนวอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2006[1] สมาชิกในกลุ่มได้แก่โทโมฮิซะ ยามาชิตะจากวงนิวส์ กอล์ฟ-ไมค์ คู่ป็อปจากไทย และสมาชิกวงคิตตี (ฮิโรมิตสึ คาตายามะ, เค อิโนโอะ, โชตะ ทตสึกะ และฮิการุ ยาโอโตเมะ) ของจอห์นนีส์จูเนียร์ ชื่อกลุ่มมาจากตัวอักษรแรกของนามสกุลสมาชิก และนามแฝงของสมาชิกชาวไทย
คิตตีจีวายเอ็ม | |
---|---|
รู้จักในชื่อ | GYM |
ที่เกิด | ญี่ปุ่น |
แนวเพลง | ป็อป |
ช่วงปี | 2006 |
ค่ายเพลง | จอห์นนีและสหาย |
อดีตสมาชิก |
ในวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 จีวายเอ็ม (กอล์ฟ, ยามาชิตะ และไมค์) จัดงานที่เอ็นเอชเค ฮอลล์และแสดง "ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์" ครั้งแรก[2] โดยเพลงนี้ถูกใช้เป็นเพลงหลักในการถ่ายทอดสดวอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2006 ของช่องฟูจิเทเลวิชัน[3]
วงนี้ปล่อยเพลงแค่อันเดียวคือ "ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์" ในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2006[4] ซึ่งรวมเพลงเดี่ยวโดยโทโมฮิซะ ยามาชิตะ และเพลงคู่โดยกอล์ฟ-ไมค์[5] ภายใต้ชื่อวง "จีวายเอ็ม" โดยติดท็อปในโอริคอนซิงเกิลชาร์ตในสัปดาห์ของวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2006.[6] ในเดือนเดียวกัน สมาคมอุตสาหกรรมบันทึกเสียงแห่งญี่ปุ่นได้ให้ใบรับรองแพลตตินัมสำหรับการขายเพลงไป 250,000 หน่วย[7] จากนั้นจึงขายมากกว่า 300,000 ฉบับ ทำให้เป็นซิงเกิลที่ขายดีที่สุดประจำปีในอันดับ 25 ของประเทศญี่ปุ่น[8] ซิงเกิลนี้เผยแพร่ในประเทศไทยเมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 2006 และไต้หวันในวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 2006[9]
นับตั้งแต่วันยุบวง สมาชิกทั้งหมดมีอาชีพทางดนตรีที่ดี โดยเค อิโนโอะกับฮิการุ ยาโอโตเมะเปิดตัวเป็นสมาชิกเฮย์! เซย์! จัมป์ใน ค.ศ. 2007[10] กอล์ฟ-ไมค์ยุบวงใน ค.ศ. 2010 และกลายเป็นนักร้องเดี่ยว ฮิโรมิตสึ คาตายามะเปิดตัวเป็นสมาชิกKis-My-Ft2ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2011[11] โทโมฮิซะ ยามาชิตะออกจากวงนิวส์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2011 เพื่อไปทำอาชีพเดี่ยว[12] และโชตะ ทตสึกะเปิดตัวเป็นสมาชิกในวง A.B.C-Z ใน ค.ศ. 2012[13]
"ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์"
แก้"ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์" | |
---|---|
ซิงเกิลโดยจีวายเอ็ม | |
ภาษา | ญี่ปุ่น |
วางจำหน่าย | 30 สิงหาคม ค.ศ. 2006 |
แนวเพลง | |
ความยาว | 19:12[14] |
ค่ายเพลง | จอห์นนีและสหาย |
ผู้ประพันธ์เพลง |
|
"ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์" (Fever to Future) เป็นซิงเกิลของจีวายเอ็ม โดยเผยแพร่ในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2006 ผ่านจอห์นนีและสหาย[14] "ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์" แต่งโดย A to Z, H.U.B. และชิง ทานิโมโตะ และเรียบเรียงโดยนาโอยะ คูโรซาวะและชุนซูเกะ ยาบูกิ เป็นเพลงแดนซ์อัปเท็มโป[2]
แทร็ก
แก้ลำดับ | ชื่อเพลง | เนื้อเพลง | ทำนอง | ยาว |
---|---|---|---|---|
1. | "ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์" |
| ชิง ทานิโมโตะ | 3:51 |
2. | "โฮกาโงะ บลูส์" (เดี่ยวของยามาชิตะ) | โทโมฮิซะ ยามาชิตะ | ยามาชิตะ | 4:05 |
3. | "รันฟอร์ยัวร์เลิฟ" (คู่ของกอล์ฟ-ไมค์) |
|
| 3:51 |
4. | "มายแองเจิล" |
|
| 3:13 |
5. | "ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์" (เสียงดนตรี) | ทานิโมโตะ | 3:52 | |
ความยาวทั้งหมด: | 19:12 |
ลำดับ | ชื่อเพลง | เนื้อเพลง | ทำนอง | ยาว |
---|---|---|---|---|
1. | "ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์" |
| ทานิโมโตะ | 3:51 |
2. | "โอกาโงะ บลูส์" (เดี่ยวของยามาชิตะ) | ยามาชิตะ | ยามาชิตะ | 4:05 |
3. | "รันฟอร์ยัวร์เลิฟ" (กอลฟ์-ไมค์) |
|
| 3:51 |
ความยาวทั้งหมด: | 11:58 |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ยาว |
---|---|---|
1. | "ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์" (มิวสิกวิดีโอ) | |
2. | "การจัดทำฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์" | |
3. | "การสัมภาษณ์พิเศษ" | |
ความยาวทั้งหมด: | 20:00 |
อ้างอิง
แก้- ↑ "Archived copy" 「Kitty GYM」初登場…女子バレー世界一へ強力バックアップ (ภาษาญี่ปุ่น). Sports Hochi. July 19, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 23, 2007. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ 2.0 2.1 2.2 "Archived copy" アジアへ第一歩「GYM」…山下智久、初国際ユニット (ภาษาญี่ปุ่น). Sports Hochi. July 18, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 23, 2007. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ GYM、女子バレー・イメージソングで初登場首位! (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. August 30, 2006. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.
- ↑ 8/30発売の注目シングルは、山下智久の期間限定ユニット!. Oricon Style (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. August 28, 2006. สืบค้นเมื่อ January 4, 2008.
- ↑ 話題のユニット“GYM”やレンジなど、本日発売! CDリリース情報 (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. August 30, 2006. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.
- ↑ 週間 シングルランキング 2006年09月11日付 (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. September 11, 2006. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.
- ↑ "The Record No.563" (PDF). The Record (Bulletin) (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. 563: 18. 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 7, 2018. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.
- ↑ 年間 シングルランキング 2006年度 21~30位 (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. 2006. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.
- ↑ "Archived copy" Kitty GYM「たくさんの観客にドキドキ」 (ภาษาญี่ปุ่น). Sports Hochi. August 19, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 9, 2006. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Hey!Say!JUMP、初登場1位デビュー!史上初の親子でデビュー作1位に (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. November 20, 2007. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.
- ↑ キスマイ デビュー曲いきなり海外進出! (ภาษาญี่ปุ่น). Sports Nippon. June 24, 2011. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.
- ↑ 山P、錦戸が「NEWS」脱退! (ภาษาญี่ปุ่น). Sports Nippon. October 7, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 16, 2011. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.
- ↑ 【オリコン】A.B.C-Z、デビューDVDが総合首位 ~史上初の快挙 (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. February 8, 2012. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.
- ↑ 14.0 14.1 GGYM 「フィーバーとフューチャー」 (ภาษาญี่ปุ่น). Johnny's Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-12. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.