การอดอาหารประท้วง

(เปลี่ยนทางจาก Hunger strike)

การอดอาหารประท้วง เป็นวิธีขัดขืนโดยปราศจากความรุนแรง[2] ซึ่งผู้เข้าร่วมปฏิเสธการกินอาหารเพื่อประท้วงทางการเมือง หรือเพื่อสร้างความรู้สึกสำนึกผิดแก่ผู้ที่ถูกประท้วง วิธีการประท้วงรูปแบบนี้มักได้รับการยอมรับทั่วไปในฐานะการประท้วงที่ปราศจากความรุนแรง และสร้างผลกระทบมหาศาลต่อผู้ถูกประท้วง

พริษฐ์ ชิวารักษ์ (ซ้าย) นักกิจกรรมชาวไทยและนักโทษการเมือง อดอาหารประท้วงใน ค.ศ. 2021[1] (ขวา) ภาพฝาผนังในเบลฟาสต์เป็นรูปผู้อดอาหารจนเสียชีวิตจำนวน 10 คนเมื่อ ค.ศ. 1981

การอดอาหารประท้วงโดยนักโทษ โดยเฉพาะนักโทษทางการเมือง มักถูกยุติโดยผู้คุมบังคับให้กินอาหาร

ปรากฏหลักฐานการอดอาหารเพื่อประท้วงที่เก่าแก่ที่สุดชิ้นหนึ่งในประเทศไอร์แลนด์ยุคก่อนศาสนาคริสต์ เพื่อประท้วงความอยุติธรรม โดยเรียกว่า Troscadh หรือ Cealachan[3]

มุมมองทางการแพทย์

แก้

ในช่วงสามวันแรกของการอดอาหาร ร่างกายยังคงใช้พลังงานจากกลูโคส[4] หลังจากกลูโคสไม่เพียงพอ ตับจะเริ่มสลายไขมันของร่างกายด้วยกระบวนการคีทอซิส และหลังจากไขมันในร่างกายสูญเสียไปหมด ร่างกายจะเริ่มเข้าสู่ "สภาวะกระหาย"[4] ซึ่งร่างกายจะเริ่มสลายแหล่งพลังงานจากกล้ามเนื้อและอวัยวะสำคัญ จนกระทั่งเป็นอันตรายถึงชีวิตเมื่อไขกระดูกถูกสลาย มีผู้ที่ประท้วงอดอาหารจนเสียชีวิตหลังอดอาหารได้ 46 ถึง 73 วัน เช่นในการอดอาหารประท้วงของชาวไอริช ปี 1981[ต้องการอ้างอิง]

สถานะทางกฎหมาย

แก้

ข้อ 8 ของปฏิญญาโตเกียว ค.ศ. 1975 ของแพทยสมาคมโลก ห้ามแพทย์บังคับนักโทษที่ประท้วงกินอาหาร ทั้งคาดหมายให้แพทย์ทำความเข้าใจในเจตนาอิสระของนักโทษ และมีข้อแนะนำให้ต้องมีความเห็นจากแพทย์มากกว่าหนึ่งคน (second opinion) ในเรื่องความสามารถของนักโทษในการเข้าใจผลลัพธ์การตัดสินใจอดอาหารและในการให้ความยินยอมเมื่อรับทราบข้อมูลแล้ว (informed consent)

เมื่อนักโทษไม่ยอมรับโภชนาการ และได้รับการพิจารณาจากแพทย์ว่า สามารถตัดสินใจอย่างไม่บกพร่องและมีเหตุผลเกี่ยวกับผลลัพธ์ของการสมัครใจไม่ยอมรับโภชนาการเช่นนั้นแล้ว การป้อนอาหารแก่เขาโดยวิธีนอกเหนือธรรมชาติจะกระทำมิได้ คำวินิจฉัยเกี่ยวกับความสามารถของนักโทษในการตัดสินใจเช่นนั้นควรได้รับการยืนยันจากแพทย์ที่มีอิสระอย่างน้อยอีกหนึ่งคน ให้แพทย์อธิบายผลลัพธ์ของการไม่ยอมรับโภชนาการนั้นแก่นักโทษ[5]

ต่อมา แพทยสมาคมโลกได้ตรวจชำระและปรับปรุงปฏิญญามอลตาว่าด้วยผู้อดอาหารประท้วง (Declaration of Malta on Hunger Strikers)[6] ในบรรดาข้อเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มีข้อ 21 ที่ระบุอย่างกำกวมว่า การบังคับให้กินเป็นการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมและลดทอนศักดิ์ศรี

แพทยสมาคมอเมริกัน (AMA) ซึ่งเป็นสมาชิกของแพทยสมาคมโลก ได้อนุมัติปฏิญญาโตเกียวอย่างเป็นทางการ และมีหนังสือหลายฉบับถึงรัฐบาลสหรัฐรวมถึงออกแถลงการณ์สาธารณะแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการที่แพทย์สหรัฐมีส่วนในการบังคับผู้ประท้วงให้กินอาหารโดยขัดกับจริยธรรมแพทย์[7]

ดูพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "เพนกวิน พริษฐ์ อดอาหารประท้วงครบ 30 วัน ครอบครัวเผยน้ำหนักลดลงเกือบ 20 กิโลฯ ขณะที่รุ้ง ปนัสยาเอง ก็อดอาหารครบ 16 วันแล้ว". The Matter. 2021-04-14. สืบค้นเมื่อ 2021-04-22.
  2. https://www.collinsdictionary.com/dictionary/english/hunger-strike
  3. Ellis, Peter Bereford. The Druids (Eerdmans, 1998). pp. 141-142.
  4. 4.0 4.1 C. J. Coffee, Quick Look: Metabolism, Hayes Barton Press, 2004, p. 169 แม่แบบ:ISBN?
  5. "WMA - the World Medical Association - WMA DECLARATION OF TOKYO – GUIDELINES FOR PHYSICIANS CONCERNING TORTURE AND OTHER CRUEL, INHUMAN OR DEGRADING TREATMENT OR PUNISHMENT IN RELATION TO DETENTION AND IMPRISONMENT".
  6. "WMA - the World Medical Association-WMA Declaration of Malta on Hunger Strikers".
  7. "American Medical Association Opposes Force-Feeding Prisoners On Hunger Strike At Gitmo".

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • [1]"Hunger Strikes, Force-feeding, and Physicians' Responsibilities"
  • [2] Fasting as a Method To Demand International Protection For the People of Darfur, Sudan
  • [3] Bibliography on hunger strikes and force-feeding in the IFHHRO Right to Health Wiki
  • [4] "The long history of the Irish hunger strike: New exhibition in Kilmainham Gaol tells the story from Thomas Ashe to Bobby Sands" Irish Times 2017-09-21 (contains a short video describing the exhibition)