เว้

นครในจังหวัดเถื่อเทียนเว้ ประเทศเวียดนาม
(เปลี่ยนทางจาก Huế)

เว้ (เวียดนาม: Huế เฮฺว้; จื๋อโนม: ) เป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดเถื่อเทียนเว้ ประเทศเวียดนาม และเคยเป็นเมืองหลวงเก่าในสมัยราชวงศ์เหงียนช่วง พ.ศ. 2345–2488 มีชื่อเสียงจากโบราณสถานที่มีอยู่ทั่วเมือง จำนวนประชากรอยู่ที่ประมาณ 340,000 คน

เว้

Huế

เฮว้
Thành phố Huế
นครเว้
มุมมองทางอากาศของนครเว้
ประตูเมอริเดียน (เหงอะโมน)
วัดเทียนหมุ
สะพานเจื่องเตี่ยน
มุมมองทางอากาศของนครเว้,
ประตูเมอริเดียน (เหงอะโมน), วัดเทียนหมุ,
สะพานเจื่องเตี่ยน
สมญา: 
เมืองหลวงเก่า, นครแห่งเทศกาล
แผนที่
เว้ตั้งอยู่ในประเทศเวียดนาม
เว้
เว้
ที่ตั้งในประเทศเวียดนาม
พิกัด: 16°28′00″N 107°34′45″E / 16.46667°N 107.57917°E / 16.46667; 107.57917
ประเทศ เวียดนาม
ภูมิภาคชายฝั่งตอนกลางเหนือ
จังหวัดเถื่อเทียนเว้
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด265.99 ตร.กม. (102.70 ตร.ไมล์)
ความสูง15 เมตร (49 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2020)[1]
 • ทั้งหมด652,572 คน
 • ความหนาแน่น2,453 คน/ตร.กม. (6,350 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์53
เว็บไซต์www.huecity.gov.vn
หมู่โบราณสถานเมืองเว้ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
สุสานจักรพรรดิขาย ดิ่ญ
พิกัด16°28′00″N 107°34′45″E / 16.46667°N 107.57917°E / 16.46667; 107.57917
ประเทศ เวียดนาม
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(iv)
อ้างอิง678
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2536 (คณะกรรมการสมัยที่ 17)
พื้นที่315.47 ha
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ประวัติศาสตร์

แก้

แรกเริ่มนั้นเว้เป็นเมืองหลวงของราชวงศ์เหงียน ซึ่งปกครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของเวียดนามตอนใต้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17-19

เว้มีฐานะเป็นเมืองหลวงของประเทศจนถึง พ.ศ. 2488 เมื่อจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย แห่งเวียดนามทรงสละราชสมบัติ และมีการก่อตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ขึ้นที่ฮานอย ทางตอนเหนือของเวียดนาม ต่อมาใน พ.ศ. 2492 จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ทรงได้รับการช่วยเหลือจากชาวฝรั่งเศสในอาณานิคม และทรงก่อตั้งเมืองหลวงใหม่ คือ ไซ่ง่อน ทางใต้ของประเทศ

ในช่วงสงครามเวียดนาม เว้อยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับอาณาเขตระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ โดยเว้อยู่ในอาณาเขตของเวียดนามใต้ ใน พ.ศ. 2511 ตัวเมืองได้รับความเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะโบราณสถานหลายแห่งที่ระดมยิงและถูกระเบิดจากกองทัพอเมริกัน แม้หลังสงครามสงบลงแล้ว เหล่าโบราณสถานก็ยังไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ เนื่องจากถูกกลุ่มผู้นำคอมมิวนิสต์และชาวเวียดนามบางส่วนมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของระบอบศักดินาในอดีต แต่หลังจากที่แนวคิดทางการเมืองได้เปลี่ยนแปลงไป ก็เริ่มมีการบูรณะโบราณสถานบางส่วนมาจนถึงปัจจุบัน

ภูมิศาสตร์

แก้

เมืองเว้ตั้งอยู่ในเวียดนามตอนกลาง ริมฝั่งแม่น้ำหอม ถัดเข้ามาในแผ่นดินจากริมฝั่งทะเลจีนใต้เพียง 2–3 ไมล์ ห่างจากกรุงฮานอยไปทางใต้ประมาณ 540 กิโลเมตร และห่างจากนครโฮจิมินห์ไปทางเหนือประมาณ 644 กิโลเมตร

ข้อมูลภูมิอากาศของเว้
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 34
(93)
36
(97)
38
(100)
40
(104)
39
(102)
40
(104)
40
(104)
40
(104)
38
(100)
35
(95)
35
(95)
32
(90)
40
(104)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 23
(73)
24
(75)
27
(81)
30
(86)
33
(91)
34
(93)
34
(93)
34
(93)
31
(88)
28
(82)
26
(79)
23
(73)
28.9
(84)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 20
(68)
21
(70)
23
(73)
26
(79)
28
(82)
29
(84)
29
(84)
29
(84)
27
(81)
25
(77)
23
(73)
20
(68)
25
(77)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 17
(63)
18
(64)
20
(68)
22
(72)
23
(73)
25
(77)
25
(77)
24
(75)
23
(73)
22
(72)
20
(68)
18
(64)
21.4
(70.5)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 8
(46)
11
(52)
12
(54)
13
(55)
17
(63)
21
(70)
20
(68)
21
(70)
18
(64)
16
(61)
12
(54)
11
(52)
8
(46)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 180
(7.09)
90
(3.54)
60
(2.36)
60
(2.36)
80
(3.15)
90
(3.54)
50
(1.97)
130
(5.12)
500
(19.69)
680
(26.77)
640
(25.2)
370
(14.57)
2,930
(115.35)
ความชื้นร้อยละ 87 87 84 79 74 69 67 70 79 84 84 86 79.2
แหล่งที่มา: Weatherbase

มรดกโลก

แก้

เมืองเว้ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 17 เมื่อ พ.ศ. 2536 ที่เมืองการ์ตาเฮนา ประเทศโคลอมเบีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้

  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Nghị quyết 1264/NQ-UBTVQH14 2021 điều chỉnh địa giới hành chính cấp huyện Thừa Thiên Huế". thuvienphapluat.vn. สืบค้นเมื่อ 4 May 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้