อาการแสบร้อนกลางอก
อาการแสบร้อนกลางอก[1] (อังกฤษ: heartburn, cardialgia) เป็นความรู้สึกแสบร้อนตรงกลางหน้าอกหรือตรงยอดอก (epigastrium)[2][3][4] ซึ่งอาจกระจายไปที่คอ ปกติจะเกิดจากการไหลย้อนของกรดกระเพาะอาหารกลับเข้าไปในหลอดอาหาร และเป็นอาการหลักของโรคกรดไหลย้อน[5] แต่ในคนไข้ 0.6% นี่จะเป็นอาการของโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ[6]
อาการแสบร้อนกลางอก (heartburn) | |
---|---|
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | R12.r |
ICD-9 | 787.1 |
MedlinePlus | 003114 |
MeSH | D006356 |
นิยาม
แก้คำภาษาอังกฤษว่า indigestion (อาหารย่อยไม่ดี) จะหมายถึงอาการนี้บวกกับอาการอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง[7] และบางครั้งก็นิยามว่าเป็นการปวดกลางท้องด้านบนบวกกับอาการนี้[8] แต่คำภาษาอังกฤษว่า heartburn ก็ใช้แลกเปลี่ยนกับคำว่าโรคกรดไหลย้อนได้เหมือนกัน โดยไม่ได้หมายแค่เป็นอาการหนึ่งของโรค[9]
การวินิจฉัยแยกโรค
แก้อาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและอาการทางหลอดอาหารต่าง ๆ อาจคล้ายกันมาก เพราะหัวใจและหลอดอาหารมีเส้นประสาทกลุ่มเดียวกัน[6]
การมองข้ามเรื่องหัวใจวายเป็นเรื่องอันตราย ดังนั้น แพทย์จึงพิจารณาปัญหาโรคหัวใจก่อนอื่นสำหรับผู้ที่เจ็บที่หน้าอกโดยยังไม่รู้สาเหตุ คนไข้ที่เจ็บหน้าอกเนื่องกับโรคกรดไหลย้อนแยกจากผู้เจ็บหน้าอกเนื่องจากโรคหัวใจได้ยาก และภาวะแต่ละอย่าง ก็ยังเลียนอาการของอีกสภาวะหนึ่ง การตรวจโดยวิธีอื่น ๆ เช่นการถ่ายดูภาพ บ่อยครั้งจึงจำเป็น
โรคหัวใจ
แก้อาการแสบร้อนกลางอกอาจสับสนกับการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (MI) ฉับพลันหรืออาการปวดเค้นหัวใจได้ง่าย[10] ความรู้สึกแสบร้อนหรือเจ็บปวดแบบอาหารไม่ย่อยก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ (ACS) ด้วย แต่ไม่ถึงระดับที่มีนัยสำคัญทางสถิติ[11] เช่น ในบรรดาคนไข้ที่มาโรงพยาบาลและมีอาการของโรคกรดไหลย้อน 0.6% จะเกิดจากโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ (IHD)[6] ส่วนคนไข้ที่เจ็บหน้าอกและกำลังตรวจรักษาด้วยสายสวนหลอดเลือดหัวใจประมาณ 30% จะพบว่า ไม่สามารถอธิบายการเจ็บหน้าอกได้ และบ่อยครั้งจะจัดว่า มีอาการปวดเจ็บหน้าอกที่ไม่ตรงแบบหรือไม่ทราบสาเหตุ[12] งานศึกษาหลายงานที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นกรดด่างในหลอดอาหารในชีวิตประจำวันและการวัดการบีบตัวของหลอดอาหาร ประเมินว่า 25%-50% ของคนไข้เหล่านี้มีหลักฐานว่า มีโรคกรดไหลย้อนที่อาการไม่ตรงแบบ
โรคกรดไหลย้อน
แก้โรคกรดไหลย้อนเป็นเหตุสามัญที่สุดของอาการนี้ เพราะกรดที่ไหลย้อนขึ้นทำหลอดอาหารให้อักเสบ[3]
ไม่ทราบสาเหตุ
แก้คำภาษาอังกฤษว่า functional heartburn หมายถึงอาการแสบร้อนกลางอกที่ไม่ทราบสาเหตุ[13] ซึ่งสัมพันธ์กับโรคทางเดินอาหารที่ไม่ทราบสาเหตุ (FGID) อื่น ๆ เช่น กลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (IBS) และเป็นเหตุหลักของอาการที่ไม่ดีขึ้นหลังรักษาด้วยยายับยั้งการหลั่งกรดแล้ว (PPI)[13] แต่ยานี้ก็ยังเป็นการรักษาลำดับแรกของอาการเช่นนี้ซึ่งคนไข้จะดีขึ้นในอัตราร้อยละ 50[13] โดยเป็นการวินิจฉัยแบบกำจัดเหตุตามเกณฑ์วินิจฉัย Rome III คือ
- มีอาการแสบร้อนหลังกระดูกอก
- ได้กำจัดว่า กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและโรคกรดไหลย้อนเป็นเหตุแล้ว
- ไม่มีโรคการบีบตัวของหลอดอาหาร (esophageal motility disorder)[13]
การวินิจฉัย
แก้อาการแสบร้อนกลางอกมีเหตุหลายอย่าง และการวินิจฉัยเป็นโรคกรดไหลย้อนในขั้นต้นก็จะต้องขึ้นกับอาการอื่น ๆ อีกด้วย ความเจ็บปวดหน้าอกของโรคกรดไหลย้อนจะเป็นแบบแสบร้อน เกิดหลังทานอาหารหรือในเวลากลางคืน ซึ่งแย่ลงเมื่อนอนลงหรือก้มลง[14] เป็นโรคสามัญในหญิงมีครรภ์ และอาจจุดชนวนเมื่อทานอาหารมาก หรืออาหารบางอย่างที่มีเครื่องเทศบางชนิด มีไขมันสูง หรือมีกรดสูง[14][15]
ถ้าการเจ็บหน้าอกสันนิษฐานว่าเป็นอาการแสบร้อนกลางอก โดยคนไข้มีอาการเรอเปรี้ยวเรอขม และไม่มีอาการน่าเป็นห่วงอื่น ๆ แพทย์ก็อาจเริ่มรักษาด้วยยาได้เลย ซึ่งถ้าอาการดีขึ้นภายในสองอาทิตย์ก็อาจวินิจฉัยฟันธงได้ว่า เป็นโรคกรดไหลย้อน[16] ถ้าคนไข้ไม่ดีขึ้นเมื่อทานยาและเปลี่ยนอาหารพร้อมพฤติกรรมแล้ว อาจจะต้องตรวจเพิ่มขึ้น โดยแพทย์อาจแนะนำให้ไปหาแพทย์เฉพาะทาง เช่น แพทย์โรคทางเดินอาหาร[17]
ส่วนอาการแสบร้อนกลางอกหรือเจ็บปวดหน้าอกหลังทานอาหารหรือดื่มน้ำบวกกับปัญหาการกลืนลำบาก ก็อาจบ่งชี้ภาวะหลอดอาหารกระตุก[18]
การลองรักษาด้วยยา
แก้ถ้าอาการบรรเทาภายใน 5-10 นาทีหลังได้ยาน้ำเป็นยาชาเฉพาะที่คือ ลิโดเคนบวกกับยาลดกรดก็จะเพิ่มโอกาสว่า ความเจ็บมีเหตุจากหลอดอาหาร[19] ถึงกระนั้น ก็ยังไม่สามารถกันเหตุเกี่ยวกับหัวใจออกได้[20] เพราะความเจ็บหน้าอกเหตุหัวใจในคนไข้ 10% จะบรรเทาเมื่อทานยาลดกรด[21]
การตรวจความเป็นกรดด่าง
แก้แพทย์สามารถวัดความเป็นกรดด่างในหลอดอาหารโดยส่งสายยางบาง ๆ ผ่านจมูกลงไปในหลอดอาหารส่วนล่าง เพราะความเป็นกรดด่างที่ต่าง ๆ กันถึงระดับหนึ่งก็ปกติ และการไหลย้อนแบบน้อย ๆ ก็เป็นเรื่องค่อนข้างสามัญ การวัดความเป็นกรดด่างก็จะช่วยให้เห็นเหตุการณ์กรดไหลย้อนในเวลาจริงได้
วิธีทางกายภาพอื่น ๆ
แก้ในการวัดการบีบตัวของหลอดอาหาร (manometry) แพทย์จะใส่สายบาง ๆ ผ่านเข้าจมูกเข้าไปในกระเพาะอาหาร ซึ่งคนไข้จะทำการกลืนเมื่อแพทย์ค่อย ๆ ดึงสายออกมากสู่หลอดอาหาร โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะบันทึกแรงบีบของกล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ ของหลอดอาหาร[17]
การส่องกล้องสามารถทำให้เห็นเยื่อเมือกหลอดอาหารได้โดยตรง ซึ่งทำโดยส่งเส้นใยนำแสงบาง ๆ ประกอบด้วยกล้องส่องเข้าไปผ่านปากเพื่อตรวจหลอดและกระเพาะอาหาร โดยวิธีนี้ ก็จะสามารถได้หลักฐานว่าหลอดอาหารอักเสบและสามารถตัดเนื้อออกตรวจได้ถ้าจำเป็น เพราะวิธีนี้ทำให้แพทย์สามารถตรวจทางเดินอาหารส่วนบนได้ จึงอาจช่วยกำหนดความเสียหายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถรู้ไดโดยวิธีอื่น ๆ
แพทย์สามารถตัดเนื้อชิ้นเล็ก ๆ ออกเมื่อกำลังส่องกล้อง แล้วตรวจดูการอักเสบ เซลล์มะเร็ง และปัญหาอื่น ๆ
การรักษา
แก้ยาลดกรด เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต บ่อยครั้งจะสามารถใช้แก้ปัญหาในเบื้องต้น[22] แต่การรักษาต่อ ๆ ไปจะขึ้นอยู่กับเหตุ ยาเช่น สารต้านตัวรับเอช2หรือยายับยั้งการหลั่งกรด มีประสิทธิผลต่อกระเพาะอักเสบและกรดไหลย้อน ซึ่งเป็นเหตุสามัญที่สุดของอาการนี้ โดยจะใช้ยาปฏิชีวนะถ้าติดเชื้อแบคทีเรีย H. pylori
ความระบาด
แก้ประชากรประมาณ 42% ในสหรัฐจะประสบกับอาการแสบร้อนกลางอกในช่วงชีวิต[23]
เชิงอรรถและอ้างอิง
แก้- ↑ "Heartburn", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕,
(แพทยศาสตร์) อาการแสบร้อนกลางอก
- ↑ heartburn ใน พจนานุกรมศัพท์การแพทย์ดอร์แลนด์
- ↑ 3.0 3.1 Differential diagnosis in primary care. Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins. 2008. p. 211. ISBN 0-7817-6812-8.
- ↑ "Pyrosis Medical Definition - Merriam-Webster Medical Dictionary". merriam-webster.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2015. สืบค้นเมื่อ 24 July 2015.
- ↑ "Heartburn". National Library of Medicine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2016. สืบค้นเมื่อ 24 July 2015.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Kato, H; Ishii, T; Akimoto, T; Urita, Y; Sugimoto, M (April 2009). "Prevalence of linked angina and gastroesophageal reflux disease in general practice". World J. Gastroenterol. 15 (14): 1764–8. doi:10.3748/wjg.15.1764. PMC 2668783. PMID 19360921.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Duvnjak, Marko, บ.ก. (2011). Dyspepsia in clinical practice (1. Aufl. ed.). New York: Springer. p. 2. ISBN 9781441917300. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2015.
- ↑ Delaney, B; Ford, AC; Forman, D; Moayyedi, P; Qume, M (2005). Delaney, Brendan (บ.ก.). "Initial management strategies for dyspepsia". Cochrane Database Syst Rev (4): CD001961. doi:10.1002/14651858.CD001961.pub2. PMID 16235292.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Sajatovic, Martha; Loue, Sana; Koroukian, Siran M. (2008). Encyclopedia of aging and public health. Berlin: Springer. p. 419. ISBN 0-387-33753-9.
- ↑ Waller, CG (December 2006). "Understanding prehospital delay behavior in acute myocardial infarction in women". Crit Pathw Cardiol. 5 (4): 228–34. doi:10.1097/01.hpc.0000249621.40659.cf. PMID 18340239.
- ↑ Woo, KM; Schneider, JI (November 2009). "High-risk chief complaints I: chest pain--the big three". Emerg. Med. Clin. North Am. 27 (4): 685–712, x. doi:10.1016/j.emc.2009.07.007. PMID 19932401.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ "Heartburn and Regurgitation". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-16. สืบค้นเมื่อ 21 June 2010.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 Fass, R (January 2009). "Functional heartburn: what it is and how to treat it". Gastrointest. Endosc. Clin. N. Am. 19 (1): 23–33, v. doi:10.1016/j.giec.2008.12.002. PMID 19232278.
- ↑ 14.0 14.1 "The Mayo Clinic Heartburn page". Mayo Clinic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ "The MedlinePlus Heartburn page". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2016.
- ↑ "โรคกรดไหลย้อน". รศ.นพ.อุดม คชินทร (หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล), ผศ.นพ.สมชาย ลีลากุศลวงศ์ (อายุรแพทย์ด้านระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล). สนุก! Woman. 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2009. สืบค้นเมื่อ 28 August 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ 17.0 17.1 "Acid Reflux (GER & GERD) in Adults". The National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. November 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2018. สืบค้นเมื่อ 19 July 2018.
- ↑ "Esophageal spasms". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 May 2010.
- ↑ Differential diagnosis in primary care. Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins. 2008. p. 213. ISBN 0-7817-6812-8.
- ↑ Swap, CJ; Nagurney, JT (November 2005). "Value and limitations of chest pain history in the evaluation of patients with suspected acute coronary syndromes". JAMA. 294 (20): 2623–9. doi:10.1001/jama.294.20.2623. PMID 16304077.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Hanke, Barbara K.; Schwartz, George Robert (1999). Principles and practice of emergency medicine. Baltimore: Williams & Wilkins. p. 656. ISBN 0-683-07646-9.
- ↑ "What Are Antacids? - TUMS®". www.heartburn.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2017. สืบค้นเมื่อ 29 April 2018.
- ↑ Kushner, PR (April 2010). "Role of the primary care provider in the diagnosis and management of heartburn". Curr Med Res Opin. 26 (4): 759–65. doi:10.1185/03007990903553812. PMID 20095795.