การยึดครองเชโกสโลวาเกียของเยอรมนี
การยึดครองเชโกสโลวาเกียของเยอรมนี (ค.ศ. 1938–1945) เริ่มต้นด้วยเยอรมันผนวกภูมิภาคตอนเหนือและชายแดนด้านตะวันตกของเชโกสโลวาเกีย, ก่อนหน้านี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมัน-ออสเตรียที่รู้จักกันเป็นอย่างดีคือซูเดเทินลันด์ ภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้โดยข้อตกลงมิวนิก ผู้นำเยอรมันอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้เอ่ยอ้างสำหรับการกระทำเช่นนี้คือได้กล่าวถึงความทุกข์ทรมานความเดือดร้อนโดยประชากรชนกลุ่มน้อยเชื้อชาติเยอรมันที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนั้น ป้อมปราการชายแดนที่ใหม่และกว้างขางคลอบคลุมเชโกสโลวักยังคงตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน
ภายหลังจากอันชลุสส์คือการผนวกออสเตรียของนาซีเยอรมนี ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1938 การพิชิตเชโกสโลวาเกียได้กลายเป็นความปรารถนาของฮิตเลอร์ต่อไป การรวมตัวของซูเดเทินลันด์มาเข้าสู่เยอรมนีได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1938 ได้ทิ้งส่วนที่เหลือไว้ของเชโกสโลวาเกีย และได้เป็นอำนาจที่จะต่อต้านการเข้ายึดครองที่มีผลตามมา ส่วนหนึ่งของพรมแดนได้ถูกยึดครองและผนวกโดยโปแลนด์ จนเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1939 กองทัพเวร์มัคท์ของเยอรมันได้เคลื่อนทัพเข้าไปยังส่วนที่เหลือของเชโกสโลวาเกีย โดยที่ปราสาทปราก ฮิตเลอร์ได้ป่าวประกาศว่าดินแดนโบฮีเมียและโมราเวียนั้นได้กลายเป็นรัฐอารักขาแห่งโบฮีเมียและโมราเวีย การยึดครองได้สิ้นสุดลงด้วยการยอมจำนนของเยอรมนีในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ดูเพิ่ม
แก้- Fall Grün, the German invasion plan for Czechoslovakia rendered obsolete by the Munich Agreement
- Lety concentration camp
- Hodonin concentration camp
- International Students' Day
- Czechoslovak border fortifications – built 1935–1938 against Germany
- Battle of Czajánek's barracks
- Karel Pavlík
- Western betrayal
อ้างอิง
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้