บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก
บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก (ญี่ปุ่น: 東日本旅客鉄道株式会社; โรมาจิ: Higashi-Nihon Ryokaku Tetsudō Kabushiki-gaisha; อังกฤษ: East Japan Railway Company) เป็นบริษัทที่ให้บริการการคมนาคมระบบรางรถไฟในบริเวณภูมิภาคคันโตและโทโฮกุของญี่ปุ่น เป็นเครือข่ายรถไฟที่มีจำนวนผู้โดยสารมากที่สุดในโลกและมากที่สุดในกลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น เรียกโดยย่อว่า JR East สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในย่านโยโยงิ เขตชิบูยะ กรุงโตเกียว[1]
ประเภท | มหาชน บริษัทร่วมทุน (TYO: 9020) |
---|---|
ISIN | JP3783600004 |
อุตสาหกรรม | รถไฟ |
ก่อนหน้า | การรถไฟญี่ปุ่น (JNR) |
ก่อตั้ง | 1 เมษายน พ.ศ. 2530 (จากการแตกออกเป็นบริษัทย่อยของ JNR) |
สำนักงานใหญ่ | |
พื้นที่ให้บริการ | คันโต และ โทโฮกุ นีงาตะ, นางาโนะ, ยามานาชิ และ ชิซูโอกะ |
บุคลากรหลัก | มัตซึตะเกะ โอทสึกะ, กรรมการผู้จัดการใหญ่ เทตสึโระ โทะมิตะ , ประธาน |
ผลิตภัณฑ์ | ซุยกะ (บัตรเติมเงิน) |
บริการ | รถไฟขนส่งมวลชน [1] ขนส่งสินค้า [1] รถโดยสาร [1] การบริการอื่นๆ [1] |
รายได้ | 2,867,200 ล้านเยน (2016) [2][3] |
รายได้จากการดำเนินงาน | 487,821 ล้านเยน (2016) [2][3] |
รายได้สุทธิ | 245,310 ล้านเยน (2016) [2][3] |
สินทรัพย์ | 7,789,762 ล้านเยน (2016) [2] |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | 2,442,129 ล้านเยน (2016) [2] |
เจ้าของ | Japan Trustee Services Bank (6.61%) [4] The Master Trust Bank of Japan (4.93%) ธนาคารโตเกียว-มิตซุบิชิ ยูเอฟเจ (3.13%) ธนาคารซุมิโตะโมะมิตซุย (2.63%) ธนาคารมิซุโฮะคอเปอร์เรต (2.50%) ธนาคารมิซูโฮะ (2.50%) สมาคมพนักงานการรถไฟบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก (2.46%) นิปปอนไลฟ์ (2.00%) ได-อิชิไลฟ์ (1.78%) (ณ วันที่ 31 มีนาคม 2009) |
พนักงาน | 71,729 (ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555) [1] |
แผนก | ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถไฟ [5] Life-style business [5] IT & Suica business[5] |
บริษัทในเครือ | 83 บริษัท[6]
[7] รวมทั้ง โตเกียวโมโนเรล |
เว็บไซต์ | www.jreast.co.jp |
ประวัติ
แก้บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2530 หลังจากการยุบการรถไฟญี่ปุ่นเป็นบริษัทย่อยหลายบริษัทเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินที่มีอยู่มาก โดยรับผิดชอบในเส้นทางรถไฟเดิมของการรถไฟญี่ปุ่นในบริเวณพื้นที่กรุงโตเกียวและบริเวณภูมิภาคโทโฮกุ
เส้นทางรถไฟ
แก้เส้นทางบริการรถไฟของบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออกครอบคลุมพื้นอาณาเขตภูมิภาคคันโตและโตโฮกุ จังหวัดนีงะตะ จังหวัดนางาโนะ จังหวัดยามานาชิ และจังหวัดชิซูโอกะ
ชิงกันเซ็ง
แก้บริษัทให้บริการรถไฟความเร็วสูงชิงกันเซ็งในเส้นทางด้านทิศเหนือของโตเกียว มีเส้นทางดังนี้
- อากิตะชิงกันเซ็ง (โมริโอกะ - อากิตะ)
- โฮกูริกุชิงกันเซ็ง (โตเกียว - คานาซาวะ)
- โจเอสึชิงกันเซ็ง (โตเกียว - นีงาตะ)
- โทโฮกุชิงกันเซ็ง (โตเกียว - เซนได - ฮาชิโนเฮะ - อาโอโมริ)
- ยามางาตะชิงกันเซ็ง (ฟูกูชิมะ - ชินโจ)
แม้ว่าสายโทไกโดชิงกันเซ็ง (โตเกียว - โอซากะ) ให้บริการโดยบริษัทรถไฟโทไก แต่จอดรับส่งผู้โดยสารในสถานีของบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก
ภูมิภาคคันโต
แก้พื้นที่มหานครโตเกียว
แก้- สายหลักชูโอ (โตเกียว - ชิโอจิริ[ต้องการอ้างอิง])
- สายรถเร็วชูโอ (โตเกียว - ทาคาโอะ - โอทสึกิ)
- สายชูโอ-โซบุ (มิตากะ - ชินจูกุ - จิบะ)
- สายฮาจิโก (ฮาจิโอจิ - คูรางาโนะ)
- สายอิสึกาอิชิ (ฮาอิจิมะ - มูซาชิ-อิสึกาอิชิ)
- สายโจบัง (อูเอโนะ - อิวากิ)
- สายโจเอสึ (ทากาซากิ - มินากามิ)
- สายคาวาโงเอะ (โอมิยะ - คาวาโงเอะ - โคมางาวะ)
- สายเคฮิง-โทโฮกุ (โอมิยะ- โตเกียว - โยโกฮามะ)
- สายเคโย (โตเกียว - โซงะ)
- สายมิโตะ (โอยามะ - โทโมเบะ)
- สายมูซาชิโนะ (ฟูชุ - ฮมมาชิ - นิชิ-ฟูนาบาชิ) (วงแหวนรอบนอกโตเกียว)
- สายนัมบุ (คาวาซากิ - ทาชิกาวะ ชิตเตะ - ฮามากาวาซากิ)
- สายนาริตะ (ซากูระ - โชชิ; อาบิโกะ - นาริตะ; นาริตะ - ท่าอากาศยานนาริตะ)
- สายเนงิชิ (โยโกฮามะ - โอฟูนะ)
- สายโอเมะ (ทาชิกาวะ - โอเมะ - โอกูทามะ)
- สายเรียวโม (โอยามะ - ชิน-มาเอบาชิ)
- สายซางามิ (ฮาชิโมโตะ - จิงาซากิ)
- สายไซเกียว (โอซากิ - โอมิยะ) ( สายเดิมคือ สายอาคาบาเนะ (อิเคบูคูโระ - อาคาบาเนะ) )
- สายโชนัน-ชินจูกุ (โอมิยะ - ชินจูกุ - โอฟูนะ)
- สายโชบุ (โตเกียว - โชชิ)
- สายโซโตโบ (จิบะ - โมบาระ - อาวะ-คาโมงาวะ)
- สายทากาซากิ (โอมิยะ - ทากาซากิ)
- สายโทงาเนะ (นารูโตะ- โออามิ)
- สายหลักโทโฮกุ (สายอูสึโนมิยะ) (อูเอโนะ - คูโรอิโสะ)
- สายหลักโทไกโด (โตเกียว - โยโกฮามะ - อาตามิ)
- สายสึรูมิ (ทซึรูมิ - โอกิมาจิ; อันเซน - โอกาวะ; อาซาโนะ - อูมิ-ชิบาอูระ)
- สายอูชิโบ (โซงะ - คิซาราซุ - อาวะ-คาโมงาวะ)
- สายยามาโนเตะ (โอซากิ - ชินจูกะ - ทาบาตะ - โตเกียว - โอซากิ)
- สายโยโกฮามะ (ฮิงาชิ-คานางาวะ - ฮาจิโอจิ)
- สายโยโกซูกะ (โตเกียว - คูริยามะ)
- สายนิกโก (อูสึโนมิยะ - นิกโก)
สายอื่นในภูมิภาคคันโต
แก้- สายคาราซูยามะ (คาราซูยามะ - โฮชากูจิ)
- สายคาชิมะ (คาโตริ - สนามกีฬาคาชิมะ)
- สายคูรูอิ (คิซาราซุ - คาซูสะ-คาเมยามะ)
ภูมิภาคโตไกและโคชิเนทสึ
แก้- สายอะกะทซึมะ (ชิบุกะวะ - โอมะเอะ)
- สายจูโอ (นิระซะกิ - ชิโอะจิริ)
- สายเอะจิโกะ (นีงะตะ - คะชิวะซะกิ)
- สายฮะกุชิน (นีงะตะ - ชิบะตะ)
- สายอียะมะ (โทะโยะโนะ - เอะจิโกะ-คะวะกุจิ)
- สายอิโต (อะตะมิ - อิโต)
- สายโจเอตสึ (ชิบุกะวะ - มิยะอุจิ; เอะจิโกะ-ยุซะวะ - กะละ-ยุซะวะ)
- สายโคะอุมิ (โคะบุจิซะวะ - โคะโมะโระ)
- สายโออิโตะ (มัตซึโมะโตะ -มินะมิโอะตะริ)
- สายชินเอตสึ (ทะกะซะกิ - โยะโกะคะวะ; ชิโนะโนะอิ - นะงะโนะ - นีงะตะ)
- สายชิโนะโนะอิ (ชิโนะโนะอิ - ชิโอะจิริ)
- สายยะฮิโกะ (ฮิงะชิ-ซันโจ - ยะฮิโกะ)
ภูมิภาคโตโฮะกุ
แก้- สายอะเตะระซะวะ (คิตะ-ยะมะงะตะ - อะเตะระซะวะ)
- สายบันเอตสึตะวันออก (อิวะกิ - โคริยะมะ)
- สายบันเอตสึตะวะนตก (โคริยะมะ -นิอิทสึ)
- สายโกะโน (ฮิงะชิ-โนะชิโระ - คะวะเบะ)
- สายฮะจิโนะเฮะ (ฮะจิโนะเฮะ - คุจิ)
- สายฮะนะวะ (โอดะเตะ - โคมะ)
- สายอิชิโนะมะกิ (โคะโงะตะ - โอะนะงะวะ)
- สายอิวะอิซุมิ (โมะอิจิ - อิวะอิซุมิ)
- สายโจบัง (ทะกะฮะงิ - อิวะนุมะ)
- สายคะมะอิชิ (ฮะนะมะกิ - คะมะอิชิ)
- สายเคะเซ็นนุมะ (มะเอะยะจิ - เคะเซ็นนุมะ)
- สายคิตะคะมิ (คิตะคะมิ - โยะโกะเตะ)
- สายโอฟุนะโตะ (อิจิโนะเซะกิ - ซะคะริ)
- สายโอะงะ (โอะอิวะเกะ - โอะงะ)
- สายโอมินะโตะ (โนะเฮะจิ - โอมินะโตะ)
- สายโออุ (ฟุกุชิมะ - ยะมะงะตะ - อะกิตะ - อะโอะโมะริ)
- สายริคุอุตะวันออก (โคะโงะตะ - ชินโจ)
- สายริคุอุตะวันตก (ชินโจ- อะมะรุเมะ)
- สายเซ็นเซะกิ (อะโอะบะโดริ - อิชิโนะมะกิ)
- สายเซ็นซัน (เซ็นได - อุเซน-จิโตะเสะ)
- สายซุยกัน (มิโตะ - อะซะกะ-นะงะโมะริ; คะมิซุงะยะ - ฮิตะชิ-โอตะ)
- สายทะดะมิ (อะอิซุ-วะกะมัตซึ - โคะอิเดะ)
- สายทะซะวะโกะ (โมะริโอะกะ - โอมะงะริ)
- สายโตโฮะกุ (คุโระอิโซะ - โมะริโอะกะ; ฮะจิโนะเฮะ - อะโอะโมะริ; อิวะกิริ - ริฟุ)
- สายทสึกะรุ (อะโอะโมะริ - มิมมะยะ) (ส่วนหนึ่งของ สายทสึกะรุไคเคียว)
- สายทสึกะรุไคเคียว (อะโอะโมะริ -นะกะโอะกุนิ)
- สายอุเอตสึ (นิอิตสึ - อะกิตะ)
- สายยะมะดะ (โมะริโอะกะ - คะมะอิชิ)
- สายโยะเนะซะกะ (โยะเนะซะวะ - ซะกะมะจิ)
ธุรกิจอื่น
แก้- ร้านค้าฮิงะชิ นิฮง - จำหน่ายหนังสือพิมพ์ เครื่องดื่ม ภายในพื้นที่สถานีรถไฟ
- รถโดยสารเจอาร์คันโต และเจอาร์โทโฮะกุ - รถโดยสารระหว่างเมือง
- นิปปอนเรสเตอรองก์ - จำหน่ายอาหารกล่องเบนโตบนรถไฟและภายในพื้นที่สถานีรถไฟ
- โตเกียวโมโนเรล - ถือหุ้น 70%
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 East Japan Railway Company. "JR East Corporate Data". สืบค้นเมื่อ 20 June 2009.(อังกฤษ)
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 East Japan Railway Company. "Consolidated Results of Fiscal 2011 (Year Ended 31 March 2011)" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 27 April 2011.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 East Japan Railway Company. "Notice Regarding Impact of the Great East Japan Earthquake and Differences between Forecasts of Business Results and Actual Results" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 27 April 2011.
- ↑ East Japan Railway Company. "Business Report for the 22nd Fiscal Year" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-07-18. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2009.(อังกฤษ)
- ↑ 5.0 5.1 5.2 East Japan Railway Company. "Organization". สืบค้นเมื่อ 20 June 2009.(อังกฤษ)
- ↑ East Japan Railway Company. "グループ会社一覧". สืบค้นเมื่อ 20 June 2009.(ญี่ปุ่น)
- ↑ East Japan Railway Company. "会社要覧2008" (PDF). สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2009.(ญี่ปุ่น)
ข้อมูลเพิ่มเติม
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ JR East