หลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซีรีบรัล

(เปลี่ยนทางจาก Anterior cerebral artery)

ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ หลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซีรีบรัล ให้ออกซิเจนเลี้ยงส่วนใหญ่ของส่วนกลางของสมองกลีบหน้า (frontal lobe) และสมองกลีบข้างส่วนซุพีเรียร์ มีเดียล (superior medial parietal lobes) เป็นแขนงออกมาจากหลอดเลือดแดงอินเทอร์นัลคาโรติด (internal carotid artery) และเป็นส่วนหนึ่งของวงกลมของวิลลิส (Circle of Willis)

หลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซีรีบรัล
(Anterior cerebral artery)
ผิวนอกของซีรีบรัล เฮมิสเฟียร์ แสดงบริเวณต่างๆ ที่เลี้ยงโดยหลอดเลือดแดงซีรีบรัล สีฟ้าแสดงบริเวณที่เลี้ยงโดยหลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ ซีรีบรัล
วงกลมของวิลลิส (circle of Willis) และหลอดเลือดแดงของสมอง หลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซีรีบรัล (ด้านบนของภาพ) ออกมาจากทางแยกสามทางของหลอดเลือดแดงอินเทอร์นัลคาโรติด (internal carotid) ซึ่งแยกเป็นหลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซีรีบรัล, หลอดเลือดแดงมิดเดิลซีรีบรัล และ หลอดเลือดแดงโพสทีเรียร์ซีรีบรัลในแต่ละข้าง
รายละเอียด
จากหลอดเลือดแดงอินเทอร์นัลคาโรติด (internal carotid artery)
หลอดเลือดดำหลอดเลือดดำซีรีบรัล (cerebral veins)
เลี้ยงซีรีบรัม
ตัวระบุ
ภาษาละตินarteria cerebri anterior
MeSHD020771
TA98A12.2.07.022
TA24502
FMA50028
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

หลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซีรีบรัลข้างซ้ายและขวาเชื่อมต่อกันด้วยหลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์คอมมิวนิเคติง (anterior communicating artery)

บริเวณที่หลอดเลือดนี้เลี้ยง

แก้

บริเวณที่เลี้ยงโดยหลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซีรีบรัลได้แก่

  1. ผิวส่วนใกล้ลำตัว (medial surface) ของสมองกลีบหน้า โดยหลอดเลือดแดงมีเดียลออร์บิโต-ฟรอนทัล (medial orbito-frontal artery) และสมองกลีบข้าง
  2. ด้านหน้าสี่ในห้าส่วนของคอร์ปัส คาโลซัม (corpus callosum)
  3. ประมาณ 1 นิ้วของคอร์เท็กซ์ส่วนด้านหน้าและข้างศีรษะ (frontal and parietal cortex)
  4. ส่วนด้านหน้าของเบซัล แกงเกลีย (basal ganglia) และอินเทอร์นัลแคปซูล (internal capsule)

การอุดตัน

แก้

การอุดตันของหลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซีรีบรัลทำให้เกิดผลดังนี้

  1. อัมพาตของเท้าและขาด้านตรงข้าม
  2. สูญเสียความรู้สึกของเท้าและขาด้านตรงข้าม
  3. กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ซึ่งมักเกิดขึ้นกับการทำลายทั้งสองข้าง (bilateral damage)

ภาพอื่นๆ

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้