หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์
หมู่เกาะอันดามันและหมู่เกาะนิโคบาร์[5] เป็นดินแดนสหภาพของประเทศอินเดียที่ประกอบด้วยเกาะ 572 เกาะ ในจำนวนนี้เพียง 37 เกาะที่มีผู้อยู่อาศัยถาวร หมู่เกาะตั้งอยู่บนรอยต่อระหว่างอ่าวเบงกอลกับทะเลอันดามัน[6]
หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
(ตามเข็ม) เกาะบาร์เรน, ชายหาดของเกาะรอสส์ และ เกาะสมิธ; อาทิตย์ยามอรุณที่หมู่เกาะอันดามัน; การดำน้ำในแถบอันดามัน | |||||||
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย | |||||||
พิกัด (พอร์ทแบลร์): 11°41′N 92°46′E / 11.68°N 92.77°E | |||||||
ประเทศ | อินเดีย | ||||||
จัดตั้ง | 1 พฤศจิกายน 1956 | ||||||
เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด | พอร์ทแบลร์ | ||||||
อำเภอ | 3 | ||||||
การปกครอง | |||||||
• ผู้แทนผู้ว่าการ | เทเวนทรา กุมาร โชษี | ||||||
• โลกสภา | 1 | ||||||
• ศาลสูง | ศาลสูงกัลกัตตาภาคพอร์ทแบลร์ | ||||||
พื้นที่[1] | |||||||
• ทั้งหมด | 8,250 ตร.กม. (3,190 ตร.ไมล์) | ||||||
อันดับพื้นที่ | ที่ 28 | ||||||
ประชากร (2012)[2] | |||||||
• ทั้งหมด | 380,520 คน | ||||||
• ความหนาแน่น | 46 คน/ตร.กม. (120 คน/ตร.ไมล์) | ||||||
ภาษา[3] | |||||||
• ทางการ | ภาษาฮินดี, ภาษาอังกฤษ[3] | ||||||
• พูด | ภาษาเบงกอล, ภาษาฮินดี, ภาษาทมิฬ, ภาษาเตลูกา, ภาษามลยาฬัม, ภาษานิโคบาร์, ภาษากุรุข, ภาษามุนดา, ภาษาขาเรีย[4] | ||||||
เขตเวลา | UTC+05:30 (IST) | ||||||
รหัส ISO 3166 | IN-AN | ||||||
HDI (2018) | 0.739 (High) • ที่ 6 | ||||||
เว็บไซต์ | www | ||||||
|
ดินแดนนั้นตั้งอยู่ใกล้กับอาเจะฮ์ ประเทศอินโดนีเซีย ด้วยระยะทาง 150 กิโลเมตร และถูกแบ่งจากประเทศพม่าและประเทศไทยด้วยทะเลอันดามัน และห่างจากจังหวัดภูเก็ตของประเทศไทย ประมาณ 750 กิโลเมตร หมู่เกาะนั้นประกอบด้วยสองกลุ่มเกาะย่อย คือ หมู่เกาะอันดามัน (บางส่วน) กับหมู่เกาะนิโคบาร์ ซึ่งถูกแยกจากกันด้วยช่องแคบองศาที่สิบ (ซึ่งอยู่บนละติจูดที่ 10°N) ความกว้าง 150 กิโลเมตร โดยหมู่เกาะอันดามันอยู่ทางเหนือของละติจูดนี้
เมืองหลวงของดินแดนคือพอร์ทแบลร์ และดินแดนแบ่งออกเป็นสามอำเภอ คืออำเภอนิโคบาร์ มีเมืองหลวงคือ คาร์นิโคบาร์, อำเภออันดามันใต้มีพอร์ทแบลร์เป็นเมืองหลวง และ อำเภออันดามันเหนือและกลาง มีมายาบันเดอร์เป็นเมืองหลวง
ในหมู่เกาะอันดามันประกอบด้วยชาวเซนทิเนล กลุ่มคนที่ตัดขาดจากโลกภายนอกโดยสมบูรณ์ และเป็นไปได้ว่าเป็นกลุ่มคนกลุ่มสุดท้ายในโลกที่ยังคงไม่มีวิวัฒนาการไปเกินกว่าเทคโนโลยียุคหินตอนต้น[7] อย่างไรก็ตามเป็นที่ถกเถียงเนื่องด้วยมีการพบผลิตภัณฑ์ด้วยโลหะบนเกาะ[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Andaman and Nicobar Administration". And.nic.in. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2015. สืบค้นเมื่อ 8 July 2013.
- ↑ Census of India เก็บถาวร 14 มิถุนายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2011. Census Data Online, Population.
- ↑ 3.0 3.1 "50th Report of the Commissioner for Linguistic Minorities in India" (PDF). 16 July 2014. p. 109. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 March 2015. สืบค้นเมื่อ 6 November 2016.
- ↑ "www.andaman.gov.in". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 November 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
- ↑ Sawhney, Pravin (30 January 2019). "A watchtower on the high seas". The Tribune. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2019. สืบค้นเมื่อ 16 April 2019.
- ↑ "Andaman & Nicobar Administration". and.nic.in. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2015.
- ↑ Pandit, T. N. (1990). The Sentinelese. Kolkata: Seagull Books. pp. 17–20. ISBN 978-81-7046-081-7.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Census of India, Provisional Population Totals
- Andaman and Nicobar Administration Website
- หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ ที่เว็บไซต์ Curlie
- คู่มือการท่องเที่ยว หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)