ไรชส์ค็อมมิสซารีอาท
ไรชส์ค็อมมิสซารีอาท (เยอรมัน: Reichskommissariat) เป็นชื่อเยอรมันสำหรับประเภทของเขตการปกครองโดยเจ้าหน้าที่รัฐบาลซึ่งเป็นที่รู้จักกันคือ ไรชส์ค็อมมิสซาร์ (Reichskommissar) แม้ว่าสำนักงานดังกล่าวจะมีอยู่หลายแห่งในช่วงตลอดระยะเวลาของจักรวรรดิเยอรมันและสมัยนาซีในจำนวนของอาณาเขตที่แตกต่างกัน (อย่างเช่น โครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ, การวางแผนเชิงพื้นที่, การล้างชาติพันธุ์ เป็นต้น) มันเป็นสิ่งที่ปกติที่ถูกใช้เพื่ออ้างถึงการจัดตั้งเขตการปกครองแบบกึ่งอาณานิคมซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยนาซีเยอรมนีในหลายประเทศที่ถูกยึดครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในขณะที่ตั้งอยู่ในภายนอกไรช์เยอรมันอย่างเป็นทางการในแง่ของกฎหมาย หน่วยงานเหล่านี้ถูกควบคุมโดยตรงจากเจ้าหน้าที่พลเรือนที่มีอำนาจสูงสุด (ไรชส์ค็อมมิสซาร์) ผู้มีหน้าที่ในการปกครองดินแดนที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ว่าการรัฐเยอรมันทั้งในนามของและฐานะตัวแทนโดยตรงของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์[1]
การริเริ่มการบริหารปกครองดินแดนเหล่านี้มีวัตถุประสงค์หลายประการ การก่อตั้งขึ้นมานั้นหรือวางแผนที่จะก่อตั้งขึ้นในทางตะวันตกและตอนเหนือของยุโรปโดยทั่วไปในฐานะที่เป็นขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านสำหรับการรวมตัวกันในอนาคตของชนชาติเยอรมันจากด้านนอกหลายประเทศต่างๆในช่วงก่อนสงครามเยอรมนีเข้าสู่การขยายตัวรัฐนาซี[2] ในสิ่งที่คล้ายคลึงของทางด้านตะวันออกของพวกเขาได้มีหน้าที่เป็นอาณานิคมหลักและวัตถุประสงค์ของจักรวรรดินิยมเป็นแหล่งที่มาของอนาคต เลเบนสเราม์สำหรับการตั้งถิ่นฐานของชาวเยอรมันและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ[3][4]
ด้วยความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งก็คือระดับของการบริหารปกครองที่ปรับปรุงใหม่ที่ได้ดำเนินการในสองประเภท เช่นเดียวกับในดินแดนอื่น ๆ จำนวนมากที่ถูกยึดครองโดยเยอรมนี ผู้บริหารท้องถิ่นและข้าราชการได้ถูกกดดันเพื่อดำเนินการตามปกติแบบวันต่อวัน (โดยเฉพาะในระดับกลางและล่าง) แม้ว่าจะอยู่ภายใต่การกำกับดูแลของเยอรมนีก็ตาม ในช่วงสงคราม ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทในยุโรปตะวันตกและตอนเหนือยังคงรักษาโครงสร้างการบริหารที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ด้านตะวันออกก็ได้มีโครงสร้างขึ้นมาใหม่อย่างเสร็จสมบูรณ์ที่ได้รับการนำเสนอ[5]
ทั้งหมดของหน่วยงานเหล่านี้ต่างก็มีวัตถุประสงค์เดียวกันสำหรับกรณีการรวมตัวเข้าสู่ไรช์เยอรมันใหญ่ (Großdeutsches Reich) ครอบคลุมพื้นที่ทั่วไปของยุโรปซึ่งทอดยาวจากทะเลเหนือไปยังเทือกเขายูรัล, ซึ่งเยอรมันจะสร้างเป็นพื้นฐาน[6]
ทวีปยุโรปเหนือและตะวันตก
แก้- ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทในนอร์เวเกน (นอร์เวย์ภายใต้การยึดครองของเยอรมนี ในระหว่างปี ค.ศ. 1940 และ 1945).
- ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทในนีเดอร์ลันด์ (เนเธอร์แลนด์ภายใต้การยึดครองของเยอรมนี ในระหว่างปี 1940 และ 1945).
- ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทในเบลเยียมและฝรั่งเศสเหนือ (เบลเยียมและฝรั่งเศสเหนือภายใต้การยึดครองของเยอรมนี นอร์-ปาดกาแล ในปี ค.ศ. 1944.ได้ถูกผนวกย้อนหลังรวมเข้ากับไรสช์เยอรมันใหญ่ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1944 ให้เป็นไรสช์ใหม่ ได้แก่ แฟลนเดอส์, วอลโลเนีย และ บรัสเซลส์, แม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของเยอรมนีอีกต่อไป
อดีตดินแดนที่สหภาพโซเวียตเคยปกครอง
แก้ในฤดูร้อนปี ค.ศ. 1941 อัลเฟรด โรเซนเบิร์ก นักอุดมการณ์นาซีชาวเยอรมันเสนอแนะว่าเพื่ออำนวยความสะดวกในการแบ่งแยกการปกครองของสหภาพโซเวียตและรัสเซียในฐานะหน่วยงานทางภูมิศาสตร์ ดินแดนโซเวียตที่ยึดครองควรได้รับการบริหารในสี่ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทต่อไปนี้:
- ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทในอ็อสท์ลันท์ (RKO) (อดีตโซเวียตเอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย ยกเว้นเกล็ยเปดา และโซเวียตเบลารุส ยกเว้นโฆเมียล ในระหว่างปี 1941-1945)
- ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทยูเครน (RKU) (อดีตโซเวียตยูเครนและแคว้นรอสตอฟ ลบแคว้นกาลิเซีย โอเดสซา วินนีตเซีย และไครเมีย ในระหว่างปี 1941-1944)
- ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทมอสโกเวียน (RKM) (ยุโรปรัสเซีย ลบคาเรเลีย และคาบสมุทรโกลา); ไม่เคยจัดตั้งขึ้นอย่างสมบูรณ์ การรุกคืบของกองทัพเยอรมันหยุดชะงักในปี 1941/42
- ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทเคาคาเซียน (RKK) (รัสเซียตอนใต้และบริเวณคอเคซัส); ไม่เคยจัดตั้งขึ้นอย่างสมบูรณ์ การรุกคืบของกองทัพเยอรมันหยุดชะงักในปี 1942/43
- ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทเตอร์เกสถาน (RKT) (สาธารณรัฐและดินแดนในเอเชียกลาง); ไม่เคยถูกก่อตั้ง
อ้างอิง
แก้- ↑ Rich, Norman: Hitler's War Aims: The Nazi State and the Course of Expansion, p. 217. W. W. Norton & Company, New York 1974.
- ↑ Bohn, Robert: Die deutsche Herrschaft in den "germanischen" Ländern 1940-1945, p. 39. Steiner, 1997. [1]
- ↑ Gumkowski, Janusz; Leszczynski, Kazimierz: Poland Under Nazi Occupation. Polonia Pub. House, 1961. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-27. สืบค้นเมื่อ 2012-05-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Kay, Alex J: Exploitation, resettlement, Mass Murder: Political and Economic Planning for German Occupation Policy in the Soviet Union, 1940–1941. Berghahn Books, 2006. [2]
- ↑ Oversight of the planned territorial organization of the Reichskommissariate เก็บถาวร 2010-04-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อBohn2