ไตรรงค์ อินทรทัต
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
พลเอก ไตรรงค์ อินทรทัต (1 กันยายน พ.ศ. 2492 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559) อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็นบุตรชายคนสุดท้องในบรรดาบุตรทั้งหมด 4 คน (เป็นชายทั้งหมด) ของ พันตรี โผน อินทรทัต อดีตเสรีไทยและผู้อำนวยการโรงงานยาสูบ และ หม่อมหลวงกันยกา สุทัศน์ เป็นน้องชาย พลเอก จักรกฤษณ์ อินทรทัต เลขานุการกองทัพบก ท่านที่ 14
พลเอก ไตรรงค์ อินทรทัต | |
---|---|
เกิด | ไตรรงค์ อินทรทัต 1 กันยายน พ.ศ. 2492 |
เสียชีวิต | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (67 ปี) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า |
สาเหตุเสียชีวิต | ติดเชื้อในกระแสเลือด |
สัญชาติ | ไทย |
ชื่ออื่น | เสธ.ไอซ์ |
พลเมือง | ไทย |
การศึกษา | โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า |
อาชีพ | ทหารบก |
มีชื่อเสียงจาก | ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก |
คู่สมรส | ผศ.ดร.มานวิภา อินทรทัต |
บุตร | ปิยะวิภา อินทรทัต |
บิดามารดา | พ.ต.โผน อินทรทัต ม.ล.กันยกา สุทัศน์ |
ญาติ | ดร.ทักษิณ ชินวัตร พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา |
จบการศึกษาจากโรงเหมินทร์วิทยา, โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย, โรงเรียนอำนวยศิลป์พระนคร, โรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 10 (ตท.10), โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 21 (จปร.21) เหล่าทหารม้า
รับราชการในตำแหน่งสำคัญ ๆ อาทิ นายทหารคนสนิท (ทส.) ของ พล.ท.วีระพันธ์ รังคะรัตน์, ฝ่ายเสนาธิการประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด, นายทหารคนสนิท (ทส.) ของ พล.อ.ทศพร ทรงสุวรรณ, ผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่2, ราชองครักษ์พิเศษ, สมาชิกวุฒิสภา, นายทหารคนสนิท (ทส.) ของ พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์, ผู้ชำนาญการกองบัญชาการทหารสูงสุด, ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการทหารสูงสุด, หัวหน้าสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม, ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก, ราชองครักษ์เวร, ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม, หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา) และผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก
พล.อ.ไตรรงค์ ถือเป็นนายทหารคนหนึ่งที่มีบทบาทในการเมืองโดยเฉพาะช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีตำแหน่งปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ด้านความมั่นคง และงานมวลชนสัมพันธ์ และในการถูกลอบสังหารของ นายกรเทพ วิริยะ หรือ "ชิปปิ้งหมู" ซึ่งเป็นพยานปากสำคัญในคดีทุจริตของรัฐบาล ก็มีเสียงร่ำลือกันว่าเป็นฝีมือของ พล.อ.ไตรรงค์อีกด้วย[1] และในการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงแผ่นดิน พ.ศ. 2553 ที่มีการวางระเบิดและเหตุความรุนแรงหลายครั้งในหลายจุด ก็ถูกต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย[2]
ชีวิตส่วนตัว พล.อ.ไตรรงค์ มีชื่อเล่นว่า "ไอซ์" จึงมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการที่เป็นที่รู้จักและนิยมเรียกกันดีว่า เสธ.ไอซ์ สมรสกับ ผศ.ดร.มานวิภา อินทรทัต (นามสกุลเดิม-ปานิสวัสดิ์, ชื่อเล่น-ใหม่) มีบุตรสาวด้วยกันทั้งหมด 1 คน คือ น.ส.ปิยะวิภา อินทรทัต (ชื่อเล่น-อุ๊บอิ๊บ) เคยได้รับรางวัลพ่อดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2552[3]
พล.อ. ไตรรงค์ อินทรทัต ถึงแก่อนิจกรรมด้วยภาวะการติดเชื้อในกระแสโลหิตอย่างรุนแรง เมื่อวันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559 เวลา 07.00 น. หลังจากที่เข้ารับการรักษาอาการป่วย ณ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559 สิริอายุได้ 67 ปี[4] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ณ วัดโสมนัสราชวรวิหาร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2524 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)
- พ.ศ. 2522 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
อ้างอิง
แก้- ↑ สุเทพ เผยกองปราบบุกฉกตัวประกันถึงบ้าน!
- ↑ น้องเดียร์จ่อฟ้อง คนใส่ร้ายบึมโยงเสธ.แดง [ลิงก์เสีย]
- ↑ ประวัติจากไทยรัฐ
- ↑ "'เสธ.ไอซ์' ถึงแก่กรรม รพ.พระมงกุฎฯ ติดเชื้อในกระแสเลือดรวมอายุ 67 ปี". ไทยรัฐ. 8 June 2016. สืบค้นเมื่อ 8 June 2016.