รัฐโอคลาโฮมา

(เปลี่ยนทางจาก โอคลาโฮมา)

35°30′N 98°00′W / 35.5°N 98°W / 35.5; -98

รัฐโอคลาโฮมา
สมญา: 
Sooner State
คำขวัญ: 
แผนที่สหรัฐเน้นรัฐโอคลาโฮมา
แผนที่สหรัฐเน้นรัฐโอคลาโฮมา
ประเทศสหรัฐ
เข้าร่วมสหรัฐ16 พฤศจิกายน, ค.ศ. 1907 (46)
เมืองหลวงโอคลาโฮมาซิตี
เมืองใหญ่สุดโอคลาโฮมาซิตี
มหานครใหญ่สุดโอคลาโฮมาซิตี
การปกครอง
 • ผู้ว่าการแบรด เฮนรี (D)
 • รองผู้ว่าการจารี อาซคินส์ (D)
สมาชิกวุฒิสภามาร์กเวย์น มัลลิน (R)
เจมส์ แลงก์ฟอร์ด (R)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรริพับลิกัน 5 คน
พื้นที่
 • ทั้งหมด69,898 ตร.ไมล์ (181,195 ตร.กม.)
 • พื้นดิน68,735 ตร.ไมล์ (178,023 ตร.กม.)
 • พื้นน้ำ1,259.3 ตร.ไมล์ (3,261.5 ตร.กม.)  1.8%
อันดับพื้นที่20
ขนาด
 • ความยาว298 ไมล์ (480 กิโลเมตร)
 • ความกว้าง230 ไมล์ (370 กิโลเมตร)
ความสูง1,296 ฟุต (395 เมตร)
ความสูงจุดสูงสุด (ภูเขาแบล็คเมซา)4,973 ฟุต (1,515 เมตร)
ความสูงจุดต่ำสุด (แม่น้ำลิตเทิล)289 ฟุต (88 เมตร)
ประชากร
 • ทั้งหมด(2,551) 3,642,361[1] คน
 • อันดับ28
 • อันดับความหนาแน่น36
 • ค่ามัธยฐานรายได้ครัวเรือน34,243 ดอลลาร์สหรัฐ
 • อันดับรายได้42
เดมะนิมโอคลาโฮมัน (Oklahoman)
ภาษา
 • ภาษาทางการไม่มี
เขตเวลาเขตเวลากลาง: UTC-6/-5
เขตเวลาภูเขา: UTC-7/-6 (เมืองเคนตัน)
อักษรย่อไปรษณีย์OK
รหัส ISO 3166US-OK
ละติจูด33°35' เหนือ ถึง 37° เหนือ
ลองจิจูด94°29' ตะวันตก ถึง 103° ตะวันตก
เว็บไซต์www.ok.gov

รัฐโอคลาโฮมา (อังกฤษ: Oklahoma, เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˌoʊkləˈhoʊmə/[2]โอวเคฺลอะโฮ้วเม่อะ) เป็นรัฐหนึ่งใน 50 รัฐของสหรัฐ มีประชากรประมาณ 3.64 ล้านคนในปี พ.ศ. 2551 มีพื้นที่ครอบคลุมประมาณ 177,847 ตารางกิโลเมตร (68,667 ตารางไมล์) [3] ซึ่งเป็นรัฐที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 28 ของประเทศ และมีพื้นที่เป็นอันดับ 20 ของประเทศ ชื่อของรัฐนี้มาจากภาษาชอคทอว์ คือ okla และ humma มีความหมายว่า Red People หรือ ชาวอเมริกันอินเดียน (อินเดียนแดง) [4] และมีชื่อเล่นที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ The Sooner State การก่อตั้งมาจากภูมิภาคอินเดียน ในวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) เป็นเป็นรัฐก่อตั้งลำดับที่ 46 ของประเทศสหรัฐ ประชาชนที่อาศัยในรัฐเรียกว่า ชาวโอคลาโฮมัน (Oklahomans) มีเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐคือ เมืองโอคลาโฮมาซิตี

รัฐโอคลาโฮมาเป็นรัฐผู้ผลิตแก๊สธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียมและอาหารรายใหญ่ มีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในเรื่องการบิน พลังงาน โทรคมนาคมและเทคโนโลยีชีวภาพ[5] โอคลาโฮมาเป็นรัฐหนึ่งในประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูง โดยระหว่างปี ค.ศ. 2005 ถึง 2006 เป็นรัฐที่มีการเจริญเติบโตของรายได้สูงที่สุดเป็นอันดับที่ 3 และมีอัตราเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศสูงที่สุด [6][7] มีเมืองโอคลาโฮมาซิตีและทัลซาเป็นแหล่งเศรษฐกิจสำคัญของรัฐ เกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งรัฐอาศัยอยู่ในเขตสองเมืองนี้[8] รัฐโอคลาโฮมามีแนวภูเขาขนาดเล็ก ทุ่งหญ้าแพร์รี่ และป่าไม้ทางตะวันออก พื้นที่ส่วนใหญ่ของรัฐอยู่ในเกรตเพลนส์ (ที่ราบอันกว้างใหญ่) ซึ่งมักจะเกิดสภาพอากาศแปรปรวนอยู่เสมอ[9]

มรดกทางวัฒนธรรมของรัฐโอคลาโฮมา มีผลมาจากบรรพบุรุษที่เป็นชาวเยอรมัน ไอริช อังกฤษ และชาวพื้นเมืองอเมริกา ซึ่งรัฐนี้มีประชากรที่พูดภาษาพื้นเมืองอเมริกามากถึง 25 ภาษา ซึ่งมีมากกว่ารัฐอื่น ๆ ในประเทศ[10] ในอดีตพื้นที่ของรัฐเคยเป็นทางผ่านของขบวนปศุสัตว์ รัฐนี้เป็นที่สำหรับผู้อพยพย้ายถิ่นจากทางใต้ และมีการตั้งการปกครองส่วนภูมิภาคสำหรับชาวอเมริกันพื้นเมือง รัฐโอคลาโฮมาเป็นส่วนหนึ่งของไบเบิลเบลท์ ผู้คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ (นิกายย่อยอีแวนเกลิคัล) รัฐนี้ยังเป็นรัฐอนุรักษนิยมในทางการเมือง และยังเป็นรัฐหัวคะแนนหลักของพรรคเดโมแครตอีกด้วย[11]

ชื่อ

แก้

คำว่า โอคลาโฮมา (Oklahoma) มาจากภาษาช็อคทอว์ แบ่งออกเป็นคำว่า okla ซึ่งแปลว่าประชาชน และ humma แปลว่าสีแดง[4] ซึ่งอัลเลน ไวร์ท ผู้นำเผ่าช็อคทอว์ได้ตั้งชื่อนี้ในปี ค.ศ. 1866 ระหว่างการเจรจาสนธิสัญญากับสหพันธรัฐอเมริกา เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของภูมิภาคอินเดียน ซึ่งคำว่า Okla humma มีความหมายเดียวกับคำในภาษาอังกฤษคือ ชาวอินเดียนแดง ซึ่งใช้บ่งบอกถึงชาวอเมริกันพื้นเมืองทั้งหมด ซึ่งต่อมาได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1890 สองปีก่อนที่จะมีการเปิดพื้นที่สำหรับเข้ามาอยู่อาศัย[4][12][13]

ประวัติศาสตร์

แก้
 
บ่อน้ำมันแห่งหนึ่งในเมืองโอเคมาห์ ดึงดูดผู้คนมากมายมาที่รัฐโอคลาโฮมา

รัฐโอคลาโฮมาเป็นรัฐที่มีอายุก่อตั้งยาวนานน้อยกว่าหนึ่งศตวรรษ แต่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่านั้น มีการค้นพบหัวลูกศรของชาวโคลวิส ซึ่งเดินทางมาก่อตั้งถิ่นฐานบริเวณใกล้กับเมืองอนาดาร์โกในปัจจุบัน ซึ่งหัวลูกศรนี้มีอายุประมาณ 11,000 ปี โดยบริเวณเนินสไปโร และเนินบิวท์เดอร์เป็นที่ที่มีการตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรแห่งแรกของรัฐโดยชาวอินเดียนแดง[14] ในปี ค.ศ. 1541 (พ.ศ. 2084) ฟรานซิสโก โครานาโด นักสำรวจชาวสเปนเดินทางผ่านโอคลาโฮมาในระหว่างค้นหาเมืองแห่งทองคำที่หายสาบสูญ[15] โดยระหว่างทศวรรษที่ 1830 ชนเผ่าผู้มีวัฒนธรรมทั้งห้า (ประกอบด้วยเผ่าเชโรกี ชิคาซอว์ ชอคทอว์ ครีค และเซมินโอเล) ได้ย้ายถิ่นฐานจากตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐสู่ภูมิภาคอินเดียน (อินเดียนเทริทอร์รี) (ในปัจจุบันคือโอคลาโฮมา) ไปตามเส้นทางธารน้ำตา (Trail of Tears) [16]

ระหว่างสงครามกลางเมืองอเมริกา (ค.ศ. 1861 - 1865) เผ่าอินเดียนส่วนใหญ่เข้าข้างกับสหพันธรัฐอเมริกา และยอมรับการเป็นทาส พวกเขาเห็นด้วยกับความคิดของรัฐที่จะแยกตัวออกจากสหรัฐ แต่บางชนเผ่าก็ไม่ยินดีกับรัฐบาลสหพันธรัฐอเมริกาที่ไม่ทำในสิ่งที่พวกเขาเคยบอกว่าจะทำ ไม่ทุกชนเผ่าที่เข้าข้างกับสหพันธรัฐ บางเผ่าสร้างและควบคุมป้อมขนาดเล็กเพื่อป้องกันตัวเอง สาเหตุนี้มาจากที่ภูมิภาคอินเดียนอยู่ภายใต้การควบคุมของสหพันธรัฐ แต่รัฐโอคลาโฮมาไม่ได้เข้าร่วมในรัฐของสหพันธรัฐ และการโจมตีที่ฮันนีสปริงส์ใกล้กับเมืองฟอร์ทกิบสันในวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1863 ที่กำลังพลของสหรัฐประสบชัยชนะ และกลายเป็นจุดจบของการปกครองภูมิภาคอินเดียนของสหพันธรัฐอเมริกา[17]

 
ภูมิภาคอินเดียนและภูมิภาคโอคลาโฮมาในช่วงทศวรรษที่ 1890

วันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1890 ทางตะวันตกของรัฐเปิดให้ผู้คนกว่า 50,000 คนจากยุคตื่นแผ่นดินในโอคลาโฮมา (Oklahoma Land Run) และกลายเป็นต้นกำเนิดของชื่อเล่นของโอคลาโฮมาที่ว่า "The Sooner State" หรือ "รัฐแห่งความเร็ว" ซึ่งชื่อเล่นนี้มาจากผู้ที่อพยพซึ่งข้ามเขตภูมิภาคมาก่อนที่พื้นที่จะเปิดให้ประชาชนจับจองโดยรัฐ ปีต่อมา บริเวณตะวันตกของภูมิภาคได้เข้ารวมกับภูมิภาคโอคลาโฮมา ส่วนทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่อยู่อาศัยของ 5 ชนเผ่าศิวิไลซ์ และมีการควบคุมภายในเผ่าเอง[18][19] ต่อมาในวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1907 ภูมิภาคตะวันตกและตะวันออกได้รวมเข้ากัน และกลายเป็นรัฐลำดับที่ 46 แห่งสหรัฐ[18]

ในระยะแรกหลังจากก่อตั้ง โอคลาโฮมากลายเป็นสถานที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมน้ำมัน แอ่งน้ำมันถูกพบในพื้นที่ทำให้มีประชากรในเมืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมืองทัลซารู้จักกันในชื่อ "Oil Capital of the World" (เมืองหลวงแห่งน้ำมันของโลก) ในช่วงศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจของรัฐช่วงแรกจึงมาจากน้ำมันเป็นส่วนใหญ่[20]

ในปี ค.ศ. 1927 ไซรัส เอวีรี นักธุรกิจจากทัลซาที่รู้จักกันในชื่อ "Father of Route 66" เริ่มต้นการสร้างทางหลวงหมายเลข 66 (รูต 66) เขาได้ใช้ส่วนของทางหลวงที่สร้างระหว่างเมืองทัลซาและเมืองอมาริลโล รัฐเท็กซัส สร้างจุดเริ่มต้นของรูท 66 เขาเป็นบุคคลหลักที่รับผิดชอบในการก่อตั้งองค์กรทางหลวงหมายเลข 66 แห่งสหรัฐ (U.S. Highway 66 Association) สำหรับดูแลสิ่งก่อสร้างบนรูท 66[21]

 
ชาวไร่และลูกชายของเขาในระหว่างพายุฝุ่น ในซิมาร์รอนเคาน์ตี้ เมื่อ ค.ศ. 1936

ในระหว่างทศวรรษที่ 1930 ทางตะวันตกเฉียงเหนือของโอคลาโฮมาเข้าสู่ช่วงที่เรียกว่า "Dust Bowl" พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนน้อยมากและมีอุณหภูมิสูง ทำให้ชาวนาชาวไร่มากกว่าพันคนเกิดความยากจนและย้ายถิ่นไปยังแห่งอื่นในสหรัฐ[22] ทำให้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 ถึง 1950 รัฐโอคลาโฮมามีจำนวนประชากรที่อาศัยลดลงถึง 6.9 เปอร์เซ็นต์ ทางรัฐจึงสร้างอ่างเก็บน้ำกว่าร้อยแห่งและทะเลสาบ โดยในทศวรรษที่ 1960 มีทะเลสาบที่ขุดขึ้นมากกว่า 200 แห่ง ซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุดในประเทศ[9][23]

ในปี ค.ศ. 1943 ละครบรอดเวย์ เปิดการแสดงละครเพลง โอคลาโฮมา (Oklahoma!) ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงและได้สร้างเป็นภาพยนตร์ในปี ค.ศ. 1955 เนื้อเรื่องเริ่มต้นในภูมิภาคโอคลาโฮมาในปี ค.ศ. 1906 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐเพิ่งจะก่อตั้ง มีเพลงโอคลาโฮมา (Oklahoma!) ซึ่งเป็นเพลงที่ร้องเมื่อใกล้จบเรื่อง ได้กลายเป็นเพลงประจำรัฐโอคลาโฮมาในปี ค.ศ. 1953[24]

 
การระเบิดอาคารอัลเฟรด พี เมอร์ราห์ เฟเดอรัล ในโอคลาโฮมาซิตี เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ก่อการร้ายที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐ

วันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1995 อาคารอัลเฟรด พี เมอร์ราห์ เฟเดอรัล ในเมืองโอคลาโอมาซิตี ถูกระเบิดโดยทิโมธี แมคเวจ์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 168 คน ซึ่งเป็นเหตุการณ์การก่อการร้ายที่รุนแรงที่สุดของสหรัฐก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุการณ์วินาศกรรมอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 แมคเวจ์และผู้ร่วมมือของเขาที่ชื่อ เทอร์รี่ นิโคลส์ ทั้งสองถูกตัดสินว่ากระทำผิด แต่ผู้คนส่วนมากคิดว่ามีบุคคลอื่นเป็นขบวนการที่เกี่ยวข้องด้วย[25] แมคเวจ์ถูกพิพากษาให้ประหารชีวิตโดยการฉีดสารพิษ และนิโคลถูกจำคุกโดยไม่มีการรอลงอาญา[26]

ภูมิศาสตร์

แก้

ภูมิประเทศ

แก้
 
แผนที่ทางธรณีวิทยารัฐโอคลาโฮมา

รัฐโอคลาโฮมาเป็นรัฐที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดันที่ 20 ของสหรัฐ ครอบคลุมพื้นที่แผ่นดิน 177,847 ตารางกิโลเมตร (68,667 ตารางไมล์) และผืนน้ำ 3,349 ตารางกิโลเมตร (1,293 ตารางไมล์) [27] รัฐโอคลาโฮมาเป็นรัฐหนึ่งใน 6 ของฟรอนเทียร์สตริป และเป็นส่วนหนึ่งของเกรตเพลนส์ มีอาณาเขตติดต่อกับมลรัฐอาร์คันซอทางทิศตะวันออก รัฐมิสซูรีทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ รัฐแคนซัสทางทิศเหนือ รัฐโคโลราโดทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ รัฐนิวเม็กซิโกทางทิศตะวันตก และรัฐเท็กซัสทางทิศใต้

จุดที่สูงที่สุดของรัฐคือแบล็คเมซา ในโอคลาโฮมาแพนแฮนเดิล ซึ่งมีความสูง 3,349 เมตร (4,973 ฟุต) จุดที่ต่ำที่สุดคือแม่น้ำลิตเทิล ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเมืองไอดาเบลทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐ ซึ่งมีความสูง 88 เมตร (289 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล และยังมีแนวเขา 4 แห่งในรัฐ ประกอบด้วยแนวเขาอัวชิตา อาร์บัคเคิล วิชิตา และเคียมิชิ แนวเขาทั้งหมดนี้ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของรัฐ มีพื้นที่ป่าไม้ครอบคลุมพื้นที่ 24 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด[28] และยังมีทะเลสาบจากฝีมือมนุษย์จำนวนมากกว่ารัฐอื่น ๆ ในประเทศ โดยพื้นที่รวมทั้งหมดของทะเลสาบมีมากกว่า 1,000,000 เอเคอร์ (404,686 เฮกตาร์) [29]

ภูมิอากาศ

แก้
 
พายุทอร์นาโดทางตอนกลางของโอคลาโฮมา

รัฐโอคลาโฮมาตั้งอยู่ในส่วนที่มีสภาพอากาศพอเหมาะของประเทศ แต่บางครั้งก็มีอุณหภูมิที่สูงมาก และมีฝนตกเป็นปกติในพื้นที่ที่ลักษณะเป็นภูมิอากาศภาคพื้นทวีป (continental climate) [30] พื้นที่ทั้งรัฐมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 38 องศาเซลเซียส (100 องศาฟาเรนไฮต์) ถึง -18 องศาเซลเซียส (0 องศาฟาเรนไฮต์) [30]

รัฐโอคลาโฮมามีหิมะตก โดยในเขตติดต่อรัฐโคโลราโดทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจะมีปริมาณหิมะประมาณ 30 นิ้ว (76 เซนติเมตร) ในฤดูหนาว และทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐจะมีปริมาณหิมะน้อยกว่า 5 เซนติเมตร (2 นิ้ว) [31]

พื้นที่ส่วนใหญ่ของรัฐตั้งอยู่ในร่องทอร์นาโด (Tornado Alley) เพราะที่นั่นเป็นที่ปะทะกันระหว่างอากาศเย็นและอากาศอุ่นทำให้เกิดสภาพอากาศที่รุนแรง[31] โอคลาโฮมาจะมีพายุทอร์นาโดเฉลี่ยปีละ 54 ลูก ซึ่งเป็นที่หนึ่งที่มีอัตราการเกิดพายุสูงที่สุดในโลก[32] และเป็นที่ตั้งของศูนย์พยากรณ์ทอร์นาโดแห่งชาติของการบริการดินฟ้าอากาศแห่งชาติ ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองนอร์มัน[33]

อุณหภูมิในเมืองใหญ่ต่าง ๆ ของรัฐโอคลาโฮมา
เมือง ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
โอคลาโฮมาซิตี 47/26 54/31 62/39 71/48 79/58 87/66 93/71 92/70 84/62 73/51 60/38 50/29
ทัลซา 46/26 53/31 62/40 72/50 80/59 88/68 94/73 93/71 84/63 74/51 60/39 50/30
ลอว์ตัน 50/26 56/31 65/40 73/49 82/59 90/68 96/73 95/41 86/63 76/51 62/39 52/30
อุณหภูมิเฉลี่ย สูง/ต่ำ (องศาฟาเรนไฮต์) [34][35]

เมือง

แก้
 
เมืองโอคลาโฮมาซิตี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดตามจำนวนประชากรและพื้นที่

รัฐโอคลาโฮมามีแหล่งที่อยู่อาศัยทั้งหมด 549 แห่งใน ค.ศ. 2006 และมีเมือง 3 เมืองที่มีประชากรเกินกว่า 100,000 คนและ 40 เมืองที่มีประชากรมากกว่า 10,000 คน มีเมืองสองเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของสหรัฐ คือเมืองโอคลาโฮมาซิตี และ ทัลซา ประชากรมากกว่าครึ่ง (58 เปอร์เซ็นต์) อยู่ในสองเมืองนี้ [8][36]

โอคลาโฮมาซิตีเป็นเมืองหลวงของรัฐและเมืองที่ใหญ่ที่สุด มีประชากร 1,269,907 คนอาศัยอยู่ภายในเขตปริมณฑล (ค.ศ. 2008) เมืองทัลซา เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสอง มีประชากร 905,755 คนในเขตปริมณฑล[37]

 
เมืองทัลซา เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของรัฐตามจำนวนประชากรและพื้นที่

ระหว่างปี ค.ศ. 2005 และ 2006 เมืองปริมณฑลของทัลซา ประกอบด้วย เมืองเจ๊คส์ บิกซ์บาย และโอวาสโซ เป็นเมืองที่มีการเติบโตของประชากรสูงที่สุดของรัฐ ประชากรในเมืองเจ๊คส์เพิ่มขึ้น 47.9% เมืองบิกซ์บายเพิ่มขึ้น 44.56% และเมืองโอวาสโซเพิ่มขึ้น 34.31%[38]

เมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐโอคลาโฮมาในปี ค.ศ. 2007 ประกอบด้วย โอคลาโฮมาซิตี (547,274 คน) ทัลซา (384,037 คน) นอร์แมน (106,707 คน) ลอว์ตัน (91,568 คน) โบรกเคนแอร์โรว์ (90,714 คน) เอ็ดมันด์ (78,226 คน) มิดเวสต์ซิตี (55,935 คน) และมัวร์ (51,106 คน) โดยมี 7 เมืองที่อยู่ในเขตปริมณฑลของโอคลาโฮมาซิตีและทัลซา มีเพียงลอว์ตันเท่านั้นที่มีปริมณฑลตั้งอยู่ด้วยตนเอง[38]

กฎหมายของโอคลาโฮมากำหนดให้พื้นที่ตั้งถิ่นฐานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เมืองใหญ่ (Cities) ซึ่งมีประชากรมากกว่า 1,000 คน และเมืองเล็ก (Towns) มีประชากรน้อยกว่า 1,000 คน เมืองทั้งสองประเภทนี้มีอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการ และพลังมวลชนภายในพื้นที่ของตัวเอง โดยเมืองใหญ่ (Cities) สามารถเลือก mayor-council, council-manager หรือ strong mayor จากการปกครอง ส่วนเมืองเล็ก (Towns) สามารถจัดการเลือกตั้งระบบเจ้าพนักงาน[39]

วัฒนธรรม

แก้

มีกีฬาไก่ชนโบราณของประจำรัฐ แต่ยกเลิกไปไปในปี พ.ศ. 2545 เนื่องจากความโหดร้ายทารุณ เพราะกีฬาดังกล่าวจะติดใบมีดโกนไว้ที่เดือยไก่ขณะทำการแข่งขัน [40]

มหาวิทยาลัย

แก้
 
มหาวิทยาลัยโอคลาโฮมา

บุคคลสำคัญจากรัฐ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. จำนวนประชากรรัฐโอคลาโฮมา คาดการณ์ปี 2008 เก็บถาวร 2007-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, จาก United States Department of Agriculture, สืบค้นวันที่ 15 ก.ค. 2552 (อังกฤษ)
  2. Oklahoma - Definitions from Dictionary.com จาก Dictionary.com, สืบค้นวันที่ 15 ส.ค. 2552
  3. Oklahoma QuickFacts from the US Census Bureau เก็บถาวร 2008-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, จาก U.S. Census Bureau, (1 ธ.ค. 2549), สืบค้นวันที่ 15 ส.ค. 2552
  4. 4.0 4.1 4.2 Chronicles of Oklahoma เก็บถาวร 2007-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, จาก Oklahoma State University, (มิ.ย. 1936), สืบค้นวันที่ 15 ส.ค. 2552
  5. "Oklahoma at a Glance" (PDF). Oklahoma Department of Commerce. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2007-08-08. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
  6. "State Personal Income 2006". United States Department of Commerce. 2007-03-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-22. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
  7. "Gross Domestic Product by State (2005-2006)" (PDF). Oklahoma Department of Commerce. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2007-08-08. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
  8. 8.0 8.1 "Annual Estimates of the Population of Metropolitan and Micropolitan Statistical Areas: April 1, 2000 to July 1, 2006" (csv). United States Census Bureau. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-15. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
  9. 9.0 9.1 "Oklahoma, All Terrain Vacation". TravelOK. TravelOK.com. 2006-01-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-09. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
  10. Greymorning, Stephen. "Profiles of Native American Education Programs". Southwest Educational Development Laboratory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-16. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
  11. "Registration by Party as of January 15, 2007" (PDF). Oklahoma State Election Board. Oklahoma State Election Board. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2007-06-14. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
  12. "Oklahoma State History and Information". A Look at Oklahoma. Oklahoma Department of Tourism and Recreation. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-16. สืบค้นเมื่อ 14 September 2008.
  13. Merserve, John (1941). "Chief Allen Wright". Chronicles of Oklahoma. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-07. สืบค้นเมื่อ 2008-08-10.
  14. "Oklahoma History". Ponca City Info. Ponca City Information.com. 2008-08-08.
  15. "THE WEST - Events from 1500 - 1650". PBS. สืบค้นเมื่อ 2008-09-13.
  16. "Trail of Tears". ngeorgia.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-24. สืบค้นเมื่อ 2008-08-27.
  17. "Oklahoma (Indian Territory)". Civil War Traveler. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-02. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
  18. 18.0 18.1 "History of Oklahoma". The History Channel. สืบค้นเมื่อ 2008-08-28.
  19. "Contributions of the Indian people". Oklahoma State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-13. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
  20. "Tulsa Area History". Tulsa County Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-08. สืบค้นเมื่อ 2008-08-28.
  21. "Tulsa, Oklahoma City History". Bycitylights.com. สืบค้นเมื่อ 2008-09-13.
  22. "1930s Dust Bowl". Cimarron County Chamber of Commerce. 2005-08-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-07. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
  23. "History of the States: Oklahoma, The Sooner State". The History Channel. 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-08-29.
  24. "Oklahoma Symbols, State Song: Oklahoma!". State History Guide resources. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-10. สืบค้นเมื่อ 2008-09-10.
  25. "The OKC Bombing". The Sight. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-21. สืบค้นเมื่อ 2008-09-10.
  26. "Oklahoma City bombing". Answers.com. 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-08-29.
  27. "Land and Water Area of States, 2000". Information Please. 2000.
  28. "About Oklahoma". Travel OK.com. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-17. สืบค้นเมื่อ 2008-08-06.
  29. "About Oklahoma". Travel OK.com. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-07. สืบค้นเมื่อ 2008-08-06.
  30. 30.0 30.1 "Oklahoma's Climate: an Overview" (pdf). University of Oklahoma. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
  31. 31.0 31.1 Arndt, Derek (2003-01-01). "The Climate of Oklahoma". Oklahoma Climatological Survey. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
  32. "Tornado Climatology". NOAA National Climatic Data Center. สืบค้นเมื่อ 2008-08-06.
  33. Novy, Chris. "SPC and its Products". NOAA. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
  34. "Oklahoma Weather And Climate". UStravelweather.com. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-22. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
  35. "Weather Averages: Lawton, Oklahoma". MSN Weather. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-18. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
  36. "State and County Quickfacts - Metropolitan Statistical Area". United States Census Bureau. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-11. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
  37. Morgan, Rhett (2008-03-27). "Stillwater's growth tops in Oklahoma". Tulsa World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-19. สืบค้นเมื่อ 2008-03-29.
  38. 38.0 38.1 "Oklahoma Census Data Center News" (PDF). Oklahoma Department of Commerce. July 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2007-08-08. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
  39. "Oklahoma Municipal Government" (PDF). Oklahoma Department of Libraries. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2007-08-08. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
  40. "วุฒิฯมะกันวอนสภา สวม "นวม" ให้ไก่ชน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2007-06-23.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้