โสรีช์ โพธิแก้ว
รองศาสตราจารย์ โสรีช์ โพธิแก้ว อดีตรองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว จาก คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นได้รับทุนฟุลไบรท์ ไปศึกษาทางด้านสาขา Ed.D. in Counselor Education ณ มหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นอิลลินอยส์ ในรัฐอิลลินอย ประเทศสหรัฐอเมริกา
การศึกษา
แก้รองศาสตราจารย์ โสรีช์ โพธิแก้ว หรือ รองศาสตราจารย์ ดร.โสรีช์ โพธิแก้ว มีประวัติการศึกษาดังนี้
- ปริญญาตรี วิทยาศาสตรปริญญาบัณฑิต สาขาจิตวิทยา (เกียรตินิยมอันดับสอง) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปริญญาเอก Counselor Education จาก Northern Illinois University โดยทุน Fulbright
- ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ประสบการณ์
แก้- คณะกรรมการบริหาร คณะจิตวิทยา ปี พ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2551
- รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะจิตวิทยา ปี พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2551
- นายกสมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2549 – พ.ศ. 2551
- พัฒนาบุคลากรหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนโดยประยุกต์หลักพุทธศาสนามาใช้ในงานจิตวิทยา
ตำแหน่งปัจจุบัน
แก้- President ของ Asean Regional Union of Psychological Societies ซึ่งประกอบด้วยสมาคมนักจิตวิทยาของ 10 ประเทศอาเซียน(ปี 2010-2013)
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาราชภัฏกำแพงเพช
- ปัจจุบันทำหน้าที่สอน วิจัย เผยแพร่ และบริการงานด้านจิตวิทยาการศึกษา และจิตวิทยาแนวพุทธ
- ผู้ก่อตั้งสถาบันรากแก้ว – สถาบันจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2540 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๕, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๗๒๐, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑