โลจิสติกส์ หรือ ลอจิสติกส์ (อังกฤษ: logistics) เป็นระบบการจัดการการส่งสินค้า ข้อมูล และทรัพยากรอย่างอื่นจากจุดต้นทางไปยังจุดบริโภคตามความต้องการของลูกค้า โลจิสติกส์เกี่ยวข้องกับการผสมผสานของ ข้อมูล การขนส่ง การบริหารวัสดุคงคลัง การจัดการวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ โลจิสติกส์เป็นช่องทางหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานที่เพิ่มมูลค่าของการใช้ประโยชน์ของเวลาและสถานที่

ที่มาของคำ

แก้

คำว่า โลจิสติกส์ (logistics) มาจากภาษาฝรั่งเศสคำว่า logistique ที่มีรากศัพท์คำว่า โลเชร์ (loger) ที่หมายถึงการเก็บ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการขนส่งสินค้าทางการทหาร ในการส่งกำลังบำรุง ทั้งเสบียง อาวุธ กำลังพล เพื่อสนับสนุนการรบ หรือ กิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ จากอีกที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง อาจมีการจัดเก็บระยะเวลานานหรือระยะเวลาชั่วคราว เช่น เอกสาร สินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบ และอื่น ๆ

แนวคิด

แก้

โลจิสติกส์ มีศาสตร์แขนงต่างๆที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ศาสตร์ โดยจะมีมุมมองที่ต่างๆกัน ดังนี้

  1. วิศวกรรมศาสตร์ ซึ่ง ในส่วนวิศวกรรมศาสตร์นี้จะมีสาขาที่เกี่ยวข้อง คือ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) และ สาขาวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering) โดยสาขานี้จะคำนึงถึงกิจกรรมในการเคลื่อนย้ายสินค้าเป็นหลัก เพื่อให้การขนส่งสินค้านั้น มีประสิทธิภาพสูงสุด ใช้ทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิง หรือ เวลาในการขนส่งให้น้อยที่สุด
  2. บริหารธุรกิจ ซึ่ง สาขานี้จะมองในเรื่อง ของการขนส่งระหว่างประเทศโดยจะพิจารณา ภาษี กฎหมาย ค่าระวาง นโยบายหรือยุทธศาสตร์ทางด้านโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศ และ การค้าระหว่างประเทศเพื่อนำมาประกอบ การวางแผนการขนส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆ
  3. การจัดการสารสนเทศ ซึ่ง จะศึกษาในส่วนของ software และ hardware นำมาควบรวมกันเป็น solution หรือ บริการ ที่จะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมทาง โลจิสติกส์มีความคล่องตัวมากขึ้น

คำนิยาม

แก้
  • พจนานุกรมของเว็บสเตอร์ (Webster)ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ :
    • “สาขาวิทยาการและการปฏิบัติการทางการทหารที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดหา การจัดส่ง การบำรุงรักษาอุปกรณ์ และการรักษาพยาบาลบุคลากร พร้อมทั้งการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการต่างๆ ให้ รวมถึงเรื่องอื่นๆ ที่สัมพันธ์กันด้วย”
  • ในธุรกิจ นิยมใช้คำนี้กันตั้งแต่ช่วงสงครามอ่าว (Gulf War) เมื่อปี ค.ศ. 1991 โดยเฉพาะตั้งแต่ที่มีการตีพิมพ์คำให้สัมภาษณ์ของ William Pagonis นายพลผู้รับผิดชอบด้านลอจิสติกส์ในสงครามครั้งนั้นในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1992 สภาการจัดการลอจิสติกส์ (Council of Logistics Management : CLM) ได้ให้คำจำกัดความของคำว่าลอจิสติกส์สำหรับในธุรกิจซึ่งใช้กันโดยทั่วไป ไว้ดังนี้ :
    • “ลอจิสติกส์ คือ ส่วนหนึ่งของกระบวนการโซ่อุปทานซึ่งจะวางแผน ดำเนินการ และควบคุมการไหลไปข้างหน้าและการไหลย้อนกลับและการจัดเก็บสินค้า การบริการ และสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกันระหว่างจุดกำเนิดและจุดบริโภคอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า”
  • William Pagonis ให้คำจำกัดความไว้ว่าเป็น
    • “การบูรณาการการขนส่ง การจัดหา การจัดเก็บในคลังสินค้า การบำรุงรักษา การจัดซื้อจัดหา การทำสัญญาและการทำงานแบบอัตโนมัติ (Automation) ไว้ในหน้าที่เดียว ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีการให้ความสำคัญกับประเด็นปลีกย่อยมากกว่าเป้าหมายรวม (Suboptimization) ไม่ว่าในส่วนใด เพื่อช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายโดยรวมหรือกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ หรือพันธกิจที่เฉพาะเจาะจงได้”
  • Martin Van Creveld ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “ลอจิสติกส์” ซึ่งเป็นคำศัพท์ของทางทหารนั้นว่าเป็น
    • “ศิลปะแห่งการเคลื่อนย้ายกองทัพและการจัดส่งยุทโธปกรณ์และเสบียงอาหารให้แก่กองทัพ”
  • คำนิยามจาก Council of Supply Chain Management Professional (CSCMP)
    • “การจัดการลอจิสติกส์ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการโซ่อุปทานซึ่งวางแผน นำไปปฏิบัติ และควบคุมการไหลทั้งไปและกลับอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพของสินค้า บริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดที่มีการบริโภค เพื่อที่จะให้ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า”

กิจกรรมที่สำคัญของโลจิสติกส์

แก้
  1. Order management/Customer service คือ การจัดการการรับหรือส่งสินค้า และ การบริการลูกค้า
  2. Packaging คือ การคัดเลือกบรรจุภัณฑ์เพื่อมาใช้บรรจุสินค้า
  3. Material handling คือ การขนถ่ายวัสดุภายในโรงงาน หรือ ในคลังสินค้า
  4. Transportations/Mode of transportations (Domestic & International) คือ การขนส่งสินค้าระหว่างสถานที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
  5. Warehouse management (Layout, locations, control technology/equipment, facility) คือ การจัดการคลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการวางผังสินค้า หรือ สถานที่ ที่จะตั้งคลังสินค้า
  6. Inventory control systems (Qty)/ material management คือ ระบบในการบริหารสินค้าคงคลัง เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนหรือกระจายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  7. Supplier management/material management คือ การบริหารจัดการผู้ผลิตวัตถุดิบให้เรา (Supplier) เพื่อให้ได้ วัตถุดิบที่มีคุณภาพ และ เพียงพอต่อความต้องการในเวลาที่เหมาะสม
  8. Distribution center/distribution hub คือ การกำหนดแหล่งที่ตั้งในการกระจายสินค้า เพื่อให้เกิดการกระจายสินค้าได้อย่างทั่วถึง
  9. Manufacturing/production control คือ ระบบควบคุมการผลิต

โลจิสติกส์ทางธุรกิจ

แก้

จุดเชื่อมต่อของเครือข่ายกระจายสินค้า

แก้

จุดเชื่อมต่อของเครือข่ายกระจายสินค้า ประกอบไปด้วย

  • โรงงานที่ทำการผลิตหรือประกอบผลิตภัณฑ์
  • คลังพัสดุหรือที่เก็บสินค้า เป็นความคิดเกี่ยวกับคลังสินค้าแบบมาตรฐานเพื่อที่จะเก็บสินค้า (สินค้าคงคลังระดับสูง)
  • ศูนย์กระจายสินค้า ใช้สำหรับกระบวนการสั่งสินค้าและการเติมเต็มคำสั่งซื้อ (สินค้าคงคลังระดับรองลงมา) และยังใช้สำหรับรับสินค้าที่ถูกตีกลับจากลูกค้าด้วย
  • จุดโอนย้ายสินค้า เป็นจุดที่มีกิจกรรมการเปลี่ยนถ่ายสินค้า ซึ่งอาจจะมีการประกอบสินค้าใหม่ตามตารางการส่งสินค้า (เคลื่อนย้ายสินค้าเท่านั้น)
  • ร้านขายของชำ ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ หรือ ร้านค้าปลีกลูกโซ่ สหกรณ์ผู้บริโภค เป็นจุดที่รวมกำลังซื้อของผู้บริโภค และบริษัทย่อยส่วนใหญ่มีบริษัทอื่นเป็นเจ้าของและแฟรนไชส์ เป็นเจ้าของจุดขายแม้ว่าจะใช้แบรนด์ของบริษัทอื่น

ทั้งนี้อาจมีตัวกลางในการดำเนินงานสำหรับตัวแทนระหว่างจุดเชื่อมต่อ เช่นตัวแทนขายหรือนายหน้า

การจัดกลุ่มเชิงโลจิสติกส์และตัวชี้วัด

แก้

การจัดกลุ่มเชิงโลจิสติกส์ คือ กลุ่มของผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะพื้นฐานร่วมกัน มีน้ำหนักและปริมาตร ต้องการการจัดเก็บทางกายภาพเฉพาะ (อุณหภูมิ, การแผ่รังสี ฯ) ต้องได้รับการจัดการจัดเก็บ ความถี่ของการสั่งซื้อ ขนาดของบรรจุภัณฑ์ และอื่น ๆ ซึ่งตัววัดเหล่านี้จะถูกนำมาใช้ในแต่ละบริษัทเพื่อจัดระเบียบตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน

  • ตัวชี้วัดทางกายภาพ ถูกนำมาใช้เพื่อประเมินระบบสินค้าคงคลัง รวมถึงความจุของการสต๊อคสินค้า สมรรถนะการเลือก ใช้การวัดปริมาตร ใช้แบบผิวเผิน ความจุในการขนส่ง และการใช้ความจุในการขนส่ง
  • ตัดชี้วัดทางการเงิน หมายรวมถึง ค่าใช้จ่ายจากการใช้พื้นที่ในการถือครองสินค้า (อาคารสถานที่ ชั้นวางและบริการ) และค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้า (ค่าแรง เครื่องจักรในการจัดเก็บ พลังงานและค่าบำรุงรักษา)

สำหรับตัวชี้วัดอื่น ๆ อาจจะแสดงในรูปแบบของทั้งภายภาพและการเงิน เช่น มาตรฐานการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง


กระบวนการจัดเก็บและสั่งซื้อ

แก้

การขนถ่ายหน่วยวัสดุ เป็นการรวมกันของผลิตภัณฑ์แต่ละรายการที่ถูกเคลื่อนย้ายด้วยระบบการขนถ่ายวัสดุ ซึ่งโดยปกติจะมีหน่วยเป็นพาเลท

ระบบการขนถ่าย ประกอบด้วยเครื่องมือหลายอย่าง ได้แก่ trans-pallet handlers, counterweight handler, retractable mast handler, bilateral handlers, trilateral handlers, AGV and stacker handlers. ระบบการจัดเก็บ ได้แก่ การเก็บสินค้าแบบกองบนพื้น เก็บบนชั้นวาง (ทั้งแบบเคลื่อนย้ายได้และแบบเคลื่อนย้ายไม่ได้) เก็บบนชั้นวางที่มีขนาดยาวและชั้นวางแบบลาดเอียง ธนายุทร

การวัดประสิทธิภาพที่เกิดจากการดำเนินการในกิจกรรมโลจิสติกส์

แก้
  • ต้นทุนที่ใช้ในกิจกรรมโลจิสติกส์
  • การตอบสนองอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็น อัตราการหมุนเวียนสินค้า รอบเวลาในการจัดส่งสินค้า เป็นต้น
  • ความพึงพอใจของลูกค้า
  • ความพึงพอใจของทีมงาน

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  • Baziotopoulos (2008). An Investigation of Logistics Outsourcing Practices In the Greek Manufacturing Sector. PhD thesis- "".