โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล
โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล (อังกฤษ: Siam InterContinental Hotel) เป็นอดีตสิ่งก่อสร้างประเภทโรงแรมในบริเวณย่านสยาม ริมถนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โดยเดิมเป็นสวนผลไม้ของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ซึ่งอยู่ในบริเวณวังสระปทุม ต่อมาบริษัท บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอล โฮเต็ลส จำกัด ได้ขอเช่าที่ดินเพื่อก่อสร้างโรงแรม โดยเป็นการร่วมทุนกับกลุ่มโรงแรมและรีสอร์ทอินเตอร์คอนติเนนตัล ซึ่งในขณะนั้นเป็นธุรกิจในเครือแพนอเมริกันเวิลด์แอร์เวส์[3] โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2507[4] โรงแรมเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2509 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2511[5]
โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | ถูกรื้อถอน |
ที่ตั้ง | 967[1] ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พิกัด | 13°44′46.824″N 100°32′4.9884″E / 13.74634000°N 100.534719000°E |
พิธีเปิด | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2511 |
ปิดใช้งาน | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2545[2] |
เจ้าของ | บริษัท บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอล โฮเต็ลส จำกัด เป็นการร่วมทุนกับกลุ่มโรงแรมและรีสอร์ทอินเตอร์คอนติเนนตัล (IHG Hotels & Resorts) บริษัทด้านการบริการข้ามชาติของประเทศอังกฤษ |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
สถาปนิก | โจเซฟ พี. ซาเลอร์โน |
ข้อมูลอื่น | |
จำนวนห้อง | 389[1] |
จำนวนห้องชุด | 35[1] |
จำนวนร้านอาหาร | 4[1] |
โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล ถือเป็นโรงแรมแห่งแรกของไทยที่บริหารโดยกลุ่มธุรกิจโรงแรมจากต่างประเทศ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 65 ไร่ ประกอบด้วยห้องพักจำนวน 411 ห้อง ต่อมาลดลงเป็น 389 ห้อง[1] โดยห้องพักตั้งอยู่ในอาคารรูปตัววายสูงสองชั้นจำนวนสองอาคาร กับอาคารรูปตัววีสูงหกชั้นอีกหนึ่งอาคาร[2][5] และมีร้านอาหาร ห้องจัดเลี้ยง ซึ่งมีห้องแกรนด์สยามบอลรูม ความจุสูงสุด 2,500 ที่นั่ง เป็นห้องจัดเลี้ยงใหญ่ที่สุด[1] นอกจากนี้ยังมีสระว่ายน้ำ ศูนย์กีฬา ย่านร้านค้า และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ[5][6]โดยอาคารหลักของโรงแรม ออกแบบโดยสถาปนิกชาวสหรัฐ โจเซฟ พี. ซาเลอร์โน[7][8]
เมื่อโรงแรมดำเนินกิจการมาครบ 30 ปี ครบกำหนดสัญญาเช่าในปี พ.ศ. 2538 และได้รับการขยายอายุสัญญาต่อไปอีก 30 ปี[9] อีกทั้งมีโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่บนพื้นที่เดิมของโรงแรม เพื่อให้เหมาะสมกับมูลค่าของที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้น จึงได้ยุติการดำเนินกิจการโรงแรม เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2545[10] และต่อมาได้รื้อสิ่งปลูกสร้างในบริเวณดังกล่าวทั้งหมด เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์การค้าสยามพารากอน[2][9]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Siam Inter-Continental Bangkok". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-30. สืบค้นเมื่อ 2021-12-30.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล จากเฟซบุ๊กเพจ "นิทรรศการพลังแผ่นดิน อัศจรรย์งานศิลป์แผ่นดินสยาม"". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-16. สืบค้นเมื่อ 2021-12-30.
- ↑ "42 ปี บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอลโฮเต็ลส". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-15. สืบค้นเมื่อ 2022-01-15.
- ↑ "End of the Siam Intercontinental Hotel". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-30. สืบค้นเมื่อ 2021-12-30.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "Remembering the grounds of the Siam Intercontinental Hotel". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-30. สืบค้นเมื่อ 2021-12-30.
- ↑ "InterContinental Hotel Corporation Digital Archives: Siam InterContinental Hotel Bangkok, Thailand (1966-1986)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-30. สืบค้นเมื่อ 2021-12-30.
- ↑ ""ย่านสยาม" จิตวิญญาณที่ไม่หยุดนิ่ง". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-29. สืบค้นเมื่อ 2021-12-29.
- ↑ Ünaldi, Serhat (2016). Working Towards the Monarchy: The Politics of Space in Downtown Bangkok. Honolulu: University of Hawaii Press. p. 149–151. ISBN 9780824855758.
- ↑ 9.0 9.1 "Siam Paragon The Pride of Bangkok". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-15. สืบค้นเมื่อ 2022-01-15.
- ↑ "Last Day at the Intercontinental Hotel". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-07. สืบค้นเมื่อ 2022-01-07.