โรงเรียนสตรีศึกษา
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป (พฤศจิกายน 2565) |
โรงเรียนสตรีศึกษา เดิมเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ปัจจุบันเปิดสอนในรูปแบบสหศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดอยู่ในประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ทำการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีเนื้อที่ 25 ไร่ 1 งาน 93.4 ตารางวา
โรงเรียนสตรีศึกษา Strisuksa School | |
---|---|
ตราประจำโรงเรียนสตรีศึกษา | |
ที่ตั้ง | |
พิกัด | 16°02′53″N 103°39′17″E / 16.047938°N 103.654835°E |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ส.ศ. / STR |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล - โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
คำขวัญ | มีคุณธรรม งามจรรยา ใฝ่หาความรู้ |
สถาปนา | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2460[1] |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1045450805 |
ผู้อำนวยการ | จักรวาล เจริญทอง |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษา |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น จีน สเปน เขมร |
สี | น้ำเงิน - เหลือง |
เพลง | มาร์ชสตรีศึกษา มาร์ชน้ำเงิน-เหลือง |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
แก้การจัดการศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ดระยะแรกเกิดขึ้นในวัด เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2453 พระครูอดุลย์ ศีลพรต เจ้าอาวาสวัดศรีมงคล (วัดสระทอง ในปัจจุบัน) อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ปรับปรุงศาลาวัดให้เป็นที่เรียนของเด็กชายประมาณ 20 คน มีพระภิกษุในวัดเป็นครูช่วยสอนซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มขยายการศึกษาออกสู่หัวเมือง พ.ศ. 2454 รัฐบาลได้มอบหมายให้ราชบุรุษจันทร์ มาเป็นโรงเรียนอย่างเป็นทางการที่วัดศรีมงคล ตั้งชื่อว่า โรงเรียนวัดศรีมงคล เปิดสอนชั้นมูล ชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 ตามลำดับ ได้แต่งตั้งครูมาเพิ่มอีก 2 คน คือ ครูแม้น โปรณานนท์ และครูทุย สุทธิชัย
ระยะนี้มีนักเรียนหญิงมาเรียนรวมอยู่บ้าง ปลายปี พ.ศ. 2456 ศาลาที่เรียนทรุดโทรมจึงย้ายมาทำการสอนที่ที่ว่าการอำเภอเก่าริมคูเมืองเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนประจำมณฑลร้อยเอ็ด (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดและโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย) ส่วนนักเรียนหญิงไปเรียนที่โรงเรียนที่สร้างบริเวณ ถนนรัฐกิจไคลคลา (บริเวณสำนักงานสรรพากรจังหวัดในปัจจุบัน) ชื่อโรงเรียนสตรีศึกษาประจำจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีราชบุรุษจันทร์ อุตรพรหม ทำหน้าที่รักษาการครูใหญ่เป็นคนแรก
ต่อมาปี พ.ศ. 2465 เกิดเพลิงไหม้อาคารเรียน จึงไปสร้างอาคารเรียนชั่วคราวบริเวณข้างโรงเรียนประจำจังหวัดชาย จนปี พ.ศ. 2469 จึงย้ายมาเรียนที่อาคารไม้ชั้นเดียว ที่สร้างใหม่บริเวณถนนรัฐกิจไคลคลา อีกครั้งหนึ่ง พ.ศ. 2487 กระทรวงศึกษาธิการได้แลกเปลี่ยนที่ดินกับกระทรวงมหาดไทยบริเวณถนนสุริยเดชบำรุง เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น 8 ห้องเรียน งบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการจำนวน 24,000 บาท และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนสตรีร้อยเอ็ด สตรีศึกษา โดยจัดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาตามาแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2478 ได้รับความนิยมจากประชาชนชาวร้อยเอ็ดส่งลูกหลานเข้าเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาเป็นจำนวนมากในสมัยนั้น
พ.ศ. 2494 จังหวัดได้ก่อตั้งโรงเรียนอนุบาลร้อยเอ็ด ได้ขอใช้ที่ดินโรงเรียนบริเวณด้านทิศเหนือเพื่อสร้างอาคารเรียนสำหรับสอนโรงเรียนอนุบาลร้อยเอ็ด พ.ศ. 2499 โรงเรียนได้งบประมาณสร้างอาคารเรียนคอนกรีตแบบ 220 จำนวน 20 ห้องเรียน (อาคาร 2 ปัจจุบัน) งบประมาณ 253,290 บาท ทำให้มีอาคารถาวรเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2503 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากสตรีร้อยเอ็ด สตรีศึกษา เป็นโรงเรียนสตรีศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด เปิดสอนถึงชั้นเตรียมอุดมศึกษาแผนกอักษรศาสตร์ รับทั้งนักเรียนชายและนักเรียนหญิง
พ.ศ. 2516 โรงเรียนอนุบาลร้อยเอ็ดย้ายไปตั้งในที่ปัจจุบัน ทางโรงเรียนจึงใช้อาคารอนุบาลเก่าเป็นห้องเรียนเพิ่มเติม เปิดแผนกวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ คหกรรมศาสตร์ และแผนกภาษาต่างประเทศ (ภาษาบาลีและภาษาฝรั่งเศส) พ.ศ. 2519 ได้งบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 318 ป 3 ชั้น 18 ห้องเรียน (อาคาร 1 ปัจจุบัน) ใช้งบประมาณ 3,500,000 บาท และโรงเรียนได้ซื้อที่ดินเพิ่มเติมด้านทิศตะวันออกและได้ขอใช้ที่ดินของศาลจังหวัดร้อยเอ็ดด้านทิศตะวันออก เพื่อสร้างบ้านพักครู โดยการดำเนินการของ ผอ.ประจวบ ชำนิประศาสตร์
พ.ศ. 2520 ได้ใช้หลักสูตรใหม่ เปิดการสอน 6 สายการเรียน ได้แก่ สายวิทย์-คณิตศาสตร์, อังกฤษ-คณิตศาสตร์, อังกฤษ-สังคม, ภาษาฝรั่งเศส, ธุรกิจ และ คหกรรมทั่วไป พ.ศ. 2521 ได้งบประมาณสร้างอาคารแบบ 318 ค 3 ชั้น 18 ห้องเรียน (อาคาร 3 ปัจจุบัน) งบประมาณ 3,200,000 บาท
พ.ศ. 2522 กรมศิลปากรได้ก่อตั้งวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด ขอใช้อาคารเรียนชั่วคราว (อาคารอนุบาลเก่า) ทำการสอนจนปี พ.ศ. 2525 จึงย้ายไปตั้งวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ดในที่ตั้งปัจจุบัน ต่อมาจึงรื้ออาคารอนุบาลเก่าออก ปรับพื้นที่เป็นสนามหน้าโรงเรียน
และในปีพ.ศ. 2525 ได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกผลศึกษาแบบเอนกประสงค์ ในปี พ.ศ. 2527 โรงเรียนได้งบประมาณก่อสร้างอาคารแบบ 415 ล 4 ชั้น 15 ห้องเรียน (อาคาร 4 ปัจจุบัน) งบประมาณ 4,298,900 บาท ข้างล่างจากเกิดเป็นใต้ถุนได้ปรับเป็นห้องสมุด พ.ศ. 2537 ได้งบประมาณสร้างอาคารโรงอาหาร หอประชุม แบบ 101 ล/27 และในปี พ.ศ. 2543 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารแบบ 324 ล/41 หลังคาทรงไทย (อาคาร 84 ปี) งบประมาณ 19,836,883 บาท จากการสนับสนุนผลักดันจากผู้เชี่ยวชาญกรมสามัญศึกษา คุณวิชัย เวียงสงค์ และท่าน ผอ.สุพรรณี สมานญาติ ผู้อำนวยการโรงเรียนขณะนั้นคือ ท่านอธิบดีกว้าง รอบคอบ ท่านอธิบดีบรรจบ พงศ์ศาสตร์
ปัจจุบันโรงเรียนสตรีศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ ถนนสุริยเดชบำรุง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด มีเนื้อที่ 25 ไร่ 1 งาน 93 4/10 ตารางวา เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษา ทั้งชายและหญิง[2]
พื้นที่และอาคารเรียน
แก้โรงเรียนสตรีศึกษา มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 25 ไร่ 1 งาน 93 4/10 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียนถาวร 7 หลัง และอาคารประกอบอื่นๆ อีก เช่น หอประชุม โรงอาหาร อาคารพลศึกษา อาคารชั่วคราว โรงจอดจักรยายนตร์ รวมถึงสนามฟุตบอลและสนามบาสเกตบอล[3]
รายนามผู้บริหาร
แก้ลำดับ | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | ตำแหน่ง |
1 | ราชบุรุษจันทร์ อุตมพรหม | พ.ศ. 2460 | พ.ศ. 2460 | รักษาการครูใหญ่ |
2 | นายปิ่น ธนสีลังกูร | พ.ศ. 2461 | พ.ศ. 2464 | รักษาการแทนครูใหญ่ |
3 | นายประสงค์ ชำนาญฤทธิ์ | พ.ศ. 2465 | พ.ศ. 2473 | ครูใหญ่ |
4 | นายหนูจันทร์ จันทชุม | พ.ศ. 2473 | พ.ศ. 2481 | รักษาการแทนครูใหญ่ |
5 | นางสาวอรุณวตี สุวรรณกนิษฐ์ | พ.ศ. 2481 | พ.ศ. 2486 | ครูใหญ่ |
6 | นางสาวเลขา สหัสสานนท์ | พ.ศ. 2486 | พ.ศ. 2488 | ครูใหญ่ |
7 | นางสาวลาวัลย์ ถนองจันทร์ | พ.ศ. 2488 | พ.ศ. 2495 | ครูใหญ่ |
8 | นางพงศ์ทอง ดีแท้ | พ.ศ. 2495 | พ.ศ. 2507 | อาจารย์ใหญ่ |
9 | นางประจวบ ชำนิประศาสน์ | พ.ศ. 2507 | พ.ศ. 2520 | ผู้อำนวยการ |
10 | นางอำนวยพร กาญจนวงษ์ | พ.ศ. 2520 | พ.ศ. 2521 | ผู้อำนวยการ |
11 | นางอนงค์ โพธินาม | พ.ศ. 2521 | พ.ศ. 2528 | ผู้อำนวยการ |
12 | นางนิด นาคอุดม | พ.ศ. 2528 | พ.ศ. 2533 | ผู้อำนวยการ |
13 | นางสาวสุมาลี แจบเกาะ | พ.ศ. 2533 | พ.ศ. 2534 | ผู้อำนวยการ |
14 | นางกฤษณา สหวัฒน์ | พ.ศ. 2534 | พ.ศ. 2539 | ผู้อำนวยการ |
15 | นางกุหลาบ โพธินาม | พ.ศ. 2539 | พ.ศ. 2541 | ผู้อำนวยการ |
16 | นางสาวสุพรรณี สมานญาติ | พ.ศ. 2541 | พ.ศ. 2543 | ผู้อำนวยการ |
17 | นายชาตรี ชาปะวัง | 9 ธ.ค. 2543 | 30 ก.ย. 2547 | ผู้อำนวยการ |
18 | นายปรีชา คำภักดี | 1 ต.ค. 2547 | ธ.ค. 2552 | ผู้อำนวยการ |
19 | นายปรีดา ลำมะนา | 1 ม.ค. 2552 | 9 ธ.ค. 2554 | ผู้อำนวยการ |
20 | นายกัมพล พื้นแสน | 10 ธ.ค. 2554 | 30 ตุลาคม 2557 | ผู้อำนวยการ |
21 | นายสมภักดิ์ สมภักดี | พ.ย. 2554 | ม.ค. 2558 | ผู้อำนวยการ |
22 | นายบัณฑิต ประสิทธิ์นอก | ม.ค. 2559 | 30 ตุลาคม 2559 | ผู้อำนวยการ |
23 | นายชูศักดิ์ ประราศรี | 18 พ.ย. 2559 | 30 ตุลาคม 2560 | ผู้อำนวยการ |
24 | นายศิริ ธนะมูล | 1 มิ.ย. 2561 | ปัจจุบัน | ผู้อำนวยการ |
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
- ต้าเหนิง กัญญาวีร์ สองเมือง นักแสดงและนางแบบ
- ฟิฟิม สิริอมร อ่อนคูณ (หมอปลาวาฬ) นักแสดง
- ธัญญ่า อาร์สยาม นักร้อง
อ้างอิง
แก้- ↑ [1][ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประวัติโรงเรียนสตรีศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-23. สืบค้นเมื่อ 2017-10-05.
- ↑ "แผนผังโรงเรียนสตรีศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-23. สืบค้นเมื่อ 2017-10-05.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์โรงเรียนสตรีศึกษา เก็บถาวร 2018-01-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน