โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์ในจังหวัดบุรีรัมย์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ (อังกฤษ: Princess Chulabhorn Science High School Buriram) เดิมชื่อ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ (โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค) (Princess Chulabhorn's College Buriram) เป็นโรงเรียนสหศึกษา รับนักเรียนประเภทประจำ สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ในขณะนั้น) ปัจจุบันสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุครบ 3 รอบ วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ปัจจุบันมี ดร.ศักดิ์อนันต์ อนันตสุข เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์
Princess Chulabhorn Science High School Buriram
ที่ตั้ง
แผนที่
299 หมู่ 2 บ้านขนวน ตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ 31150
ไทย
ข้อมูล
ชื่ออื่นจภ.บร.,PCCBR,PCSHSBR
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
โรงเรียนวัตถุประสงค์พิเศษ
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ
คำขวัญรักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ
สถาปนา4 กรกฎาคม พ.ศ. 2536(31 ปี 138 วัน)
ผู้ก่อตั้งสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้อำนวยการดร.ศักดิ์อนันต์ อนันตสุข
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1-6
สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
วิทยาเขตบุรีรัมย์
สี   สีน้ำเงิน-สีแสด
เพลงมาร์ชจุฬาภรณราชวิทยาลัย
ต้นไม้แคแสด
เว็บไซต์www.pcshsbr.ac.th

ประวัติ

แก้

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ เป็น 1 ใน 4 โรงเรียนที่กรมสามัญศึกษา (ในขณะนั้น) จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นโรงเรียนวัตถุประสงค์พิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุครบ 3 รอบ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ลำดับต่อมาทางกรมสามัญศึกษาจึงได้จัดตั้งโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยเพิ่มเติมอีก 8 โรงเรียน เพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

โรงเรียนดำเนินการรับนักเรียนครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2537 เปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ชั้นละ 1 ห้องเรียน เปิดเรียนวันแรกเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2537 ซึ่งในขณะนั้นอาคารเรียน และอาคารประกอบต่างๆ อยู่ระหว่าง ดำเนินการก่อสร้างจึงใช้สถานที่เรียนชั่วคราวที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และย้ายมาเรียนที่สถานที่ปัจจุบันเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2538

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ ได้รับบริจาคที่ดิน จำนวน 42 ไร่ 19 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 24212, 31105, 31106, 31107 จากอดีต ฯพณฯ พรเทพ เตชะไพบูลย์ เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดตั้งโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ ประจำเขต การศึกษา 11 โดยมี นายอุทัย นิวัตินุวงศ์ รักษาการผู้ดูแลเป็นคนแรก โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ รับนักเรียนประเภทประจำทั้งหมด โดยรับนักเรียนในพื้นที่บริการ 6 จังหวัด ได้แก่ บุรีรัมย์ มหาสารคาม สุรินทร์ ชัยภูมิ นครราชสีมา ศรีสะเกษ[1]

สัญลักษณ์โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์

แก้

นามโรงเรียน

แก้

นามโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ในแรกจัดตั้งนั้นมีนามว่า โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามโรงเรียนเป็นภาษาไทยใหม่จากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ว่า โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ และเป็นภาษาอังกฤษว่า Princess Chulabhorn's College Buriram ซึ่งนับเป็นพระกรุณาธิคุณอันล้นพ้นหาประมาณมิได้ต่อโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์และบรรดาเหล่าโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย

ต่อมาเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2552 ได้รับยกฐานะเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค จึงได้ใช้นามว่า โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ (โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค) และในวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 ได้รับพระอนุญาตเปลี่ยนนามโรงเรียนเป็น โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ และเป็นภาษาอังกฤษว่า Princess Chulabhorn Science High School Buriram

ตราประจำโรงเรียน

แก้
[ กดที่นี่สำหรับตราของโรงเรียนที่เก่ากว่านี้ ]

  ตราประจำโรงเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โดย ประกอบด้วย อักษร และ อยู่ภายใต้ชฎา โดย จภ. มาจากพระนามของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีด้านล่างเป็นแพรแถบมีข้อความว่า โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์
  ในตราโรงเรียนเดิมนั้น ระบุว่าจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ ภายหลัง เมื่อมีการเปลึ่ยนชื่อโรงเรียน จึงได้มีการเปลี่ยนตราโรงเรียนตามประกาศข้างต้น

ต้นไม้และดอกไม้ประจำโรงเรียน

แก้
 
ต้นไม้และดอกไม้ประจำโรงเรียน

แคแสด Spathodea campanulata P.Beauv. เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 15-20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมค่อนข้างทึบ เปลือกลำต้นสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องตามยาว ใบเป็น ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ยาวประมาณ 30-45 ซม. ใบย่อยมี 4-9 คู่ รูปรีถึงรูปไข่ ขอบใบเป็นริ้วเล็กน้อย ปลายใบแหลมและมักจะงุ้มลง มีขนเล็กน้อย มีขนาดยาว 5-12 ซม. กว้าง 2-5 ซม. ดอกเป็น ช่อตั้ง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมาก โคนกลีบดอกติดกัน ปลายแผ่เป็นรูปแตร ปลายแยกเป็น 4-5 กลีบ กลีบดอกยับย่น สีส้มแสดถึงสีแดงแสด ดอกทยอยบาน ร่วงง่าย ออกดอกราวเดือน ตุลาคม - กุมภาพันธ์ ผลแบน คล้ายฝัก ปลายแหลม ผลแก่สีน้ำตาลดำ ผลแก่จะแตกเป็นด้านเดียวเมล็ดเล็กแบนมีปีก ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด จะเริ่มให้ดอกเมื่อมีอายุประมาณ 4 - 8 ปี

สีประจำโรงเรียน

แก้

   สีน้ำเงิน-แสด

  •   สีน้ำเงิน หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ ความแข็งแรง มั่นคง และความเคร่งครัดในระเบียบวินัย
  •   สีแสด หมายถึง เป็นสีประจำวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี วันพฤหัสบดีที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐

คติพจน์ประจำโรงเรียน

แก้

ปญฺญา ยตฺถํ วิปสฺสติ คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา

คำขวัญประจำโรงเรียน

แก้

รักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ

พระพุทธรูปประจำโรงเรียน

แก้

พระพุทธพิทยจุฬาภรณประทาน เป็นพระพุทธรูปปางลีลา ยกฉัตรเพิ่มโดยชมรมพุทธศาสน์

เพลงประจำโรงเรียน

แก้

เพลงประจำโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ คือ เพลงมาร์ชจุฬาภรณราชวิทยาลัย ซึ่งประพันธ์คำร้องโดยนายวิชาญ เชาวลิต และประพันธ์ทำนองโดยนายกิตติ ศรีเปารยะ โดยเพลงนี้นั้นได้รับการนำมาใช้ในพิธีสำคัญของโรงเรียนเช่น พิธีวันสถาปนาโรงเรียน พิธีรับหมวกของนักเรียนใหม่ประจำปี พิธีปัจฉิมนิเทศ "แคแสดผลัดช่อ" เป็นต้น

หอพักนักเรียน

แก้

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ นั้นเป็นโรงเรียนประจำ นักเรียนต้องอาศัยอยู่ในหอพัก โดยมีรายชื่อที่คล้องจองไพเราะ ความหมายเข้ากับสถานที่ จะเห็นได้ว่า นอกจากโรงเรียนจะมีความโดดเด่นทางด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์แล้ว ยังมีความรู้ความเข้าใจในภาษาไทยอย่างดีอีกด้วย โดยเรียงตามลำดับการสร้างดังนี้

  • หอพักแก้วกัญญา : เดิมนั้นเป็นที่พักของนักเรียนชายและหญิง แต่จะแบ่งกันอยู่คนละฝั่งของอาคาร เป็นหอพักหลังแรกที่สร้างในโรงเรียนนี้ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น ปัจจุบันเป็นหอพักหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2
  • หอพักอุษาวดี : เป็นหอพักหญิง สร้างพร้อมกันกับทั้ง 4 หอพัก คือ อุษาวดี ศรีกานดา ศิลป์นาคร และพรเทวัญ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น แต่เดิมอยู่บริเวณฝั่งทางทิศใต้ของโรงเรียน แต่เนื่องจากมีคนร้ายลักลอบขึ้นหอพัก ทางโรงเรียนจึงให้ย้ายมาทางทิศเหนือ ซึ่งปัจจุบันย้ายกลับที่เดิมแล้ว เพราะมีการสร้างกำแพงอย่างมิดชิดและปลอดภัย
  • หอพักศรีกานดา : เป็นหอพักหญิง อยู่บริเวณทิศตะวันออกของหอพักอุษาวดี ลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น
  • หอพักศิลป์นาคร : เป็นหอพักชาย อยู่บริเวณทิศตะวันตกของหอพักพรเทวัญ ลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น
  • หอพักพรเทวัญ : เป็นหอพักชาย อยู่บริเวณทิศตะวันออกของหอพักศิลป์นาคร ลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น
  • หอพักขวัญนารา : หอพักนักเรียนหญิงและหอพักใหม่ล่าสุด สไตล์โมเดิร์น คอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น

ทำเนียบผู้บริหาร

แก้
ลำดับที่ รายนามผู้บริหาร ตำแหน่ง ช่วงเวลา
1 นายอุทัย นิวัฒนุวงศ์ ผู้บริหารโรงเรียน พ.ศ. 2537
2 นายชำนาญ บุญวงศ์ ครูใหญ่ พ.ศ. 2537-2539
3 นายกิตติศักดิ์ วิทยเดช ครูใหญ่-อาจารย์ใหญ่-ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2539-2545
4 นางสาวสุพัตรา เชื่อมชัยตระกูล ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2545-2546
5 นายฉัตรชัย ทีรฆวณิช ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2546 - 30 กันยายน 2552
6 นายอดุลย์ ก้อนคำใหญ่ ผู้อำนวยการ 1 ตุลาคม 2552 - 30 กันยายน 2556
7 นายประชุม พันธุ์พงศ์ ผู้อำนวยการ 1 ตุลาคม 2556 - 30 กันยายน 2558
8 นายศักดิ์ รุ่งแสง ผู้อำนวยการ 1 ตุลาคม 2558 - 4 มกราคม 2565
9 นางสาวสมพิศ ผาดไธสง รองผู้อำนวยการฯ รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน 5 มกราคม 2565 – 13 มิถุนายน 2565
10 ดร.ศักดิ์อนันต์ อนันตสุข ผู้อำนวยการ 14 มิถุนายน 2565 - ปัจจุบัน

ปัจจุบัน ดร.ศักดิ์อนันต์ อนันตสุข ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ และนางสาวสมพิศ ผาดไธสง ,นายฉัตรชัย วิชัยผิน ,นายอภิมุข อภัยศรี และ ว่าที่ร้อยโทปริญญา กางรัมย์ ดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการ

ระบบการเรียนการสอน

แก้

ปัจจุบันโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ จัดการเรียนการสอนแบบโรงเรียนสหศึกษา รับนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 โดยรับนักเรียนประเภทอยู่ประจำ ซึ่งในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จะแบ่งเป็นระดับชั้นละ 4 ห้องเรียน มีนักเรียน 24 คนต่อห้อง ส่วนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จะแบ่งเป็นระดับชั้นละ 6 ห้องเรียน มีนักเรียน 24 คนต่อห้องเช่นกัน ซึ่งนักเรียนทุกคนเป็นผู้ได้รับทุนการศึกษาห้องเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นจำนวน 84,000 บาทต่อปี เป็นทุนผูกมัด 3 ปี

พิธีและประเพณีสำคัญของโรงเรียน

แก้
  • ประเพณีสักการะพระพุทธรูปปฏิมาสันตยาภิรมย์สตึกอุดมราษฎร์นิมิตมุนินทร์ (พระพุทธรูปใหญ่) และศาลเจ้าพ่อวังกรูด โดยจะจัดในช่วงการปฐมนิเทศนักเรียนใหม่ทุกปี ซึ่งพระพุทธรูปใหญ่และศาลเจ้าพ่อวังกรูดนั้นนับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของอำเภอสตึก ดังนั้นจึงเป็นประเพณีในการสักการะเพื่อฝากตัวเป็นชาวสตึกนั่นเอง
  • พิธีทำบุญวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียน เป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อบำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ผู้เป็นองค์ปฐมแห่งการก่อตั้งโรงเรียน และเป็นการแสดงกตเวทิตารำลึกต่อบุรพาจารย์และผู้ประสิทธิ์ประศาสน์ร่วมจัดตั้งและพัฒนาโรงเรียนให้เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงทุกวันนี้ โดยจะเป็นพิธีทำบุญในภาคเช้าของวันที่ ๔ กรกฎาคมของทุกปี
  • พิธีถวายพระพรสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อถวายพระพรสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันประสูติ และนักเรียนใหม่และนักเรียนปัจจุบันทุกคนจะได้เข้าร่วมกระทำการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อเบื้องพระฉายาลักษณ์ ในวันที่ ๔ กรกฎาคมของทุกปี
  • พิธีมอบหมวก เป็นพิธีที่ทางโรงเรียนจะมอบหมวกพิธีการแก่นักเรียนใหม่ เป็นการแสดงว่านักเรียนใหม่ได้เป็นนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์เต็มตัวแล้ว ซึ่งจะจัดพิธีนี้หลังจากพิธีถวายพระพรสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในวันที่ ๔ กรกฎาคมของทุกปี
  • แคแสดคืนช่อ จภ.บร.คืนถิ่น นับว่าเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมประเพณีที่สำคัญเพราะเป็นกิจกรรมที่มีจุดประสงค์ให้นักเรียนเก่าและนักเรียนปัจจุบันได้พบปะกันตามสายรหัส ซึ่งในกิจกรรมนี้จะจัดขึ้นหลังจากพิธีถวายพระพรสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในวันที่ ๔ กรกฎาคมของทุกปี

กิจกรรมของโรงเรียน

แก้
  • กิจกรรมการปฐมนิเทศนักเรียนใหม่ มัธยมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 4
  • กิจกรรมค่ายส่งเสริมและพัฒนาอัจริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
  • พิธีวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียน และพิธีถวายพระพรสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในวันที่ 4 กรฎาคมของทุกปี
  • พิธีพระราชเข็มตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
  • กิจกรรมแคแสดคืนช่อ จภ.บร.คืนถิ่น เป็นกิจกรรมจับสายรหัสและให้นักเรียนเก่าได้พบปะสังสรรค์กัน
  • การแข่งขันกีฬาภายในแคแสดเกมส์ (Kaesad Games) โดยมีการแบ่งคณะสีออกเป็น 4 คณะสี ได้แก่
    •   พระพิรุณศาสตรา สีฟ้า
    •   มิ่งมัคคาพระอาทิตย์ สีแดง
    •   รณฤทธิ์พระนารายณ์ สีม่วง
    •   สุริยะฉายเอราวัณ สีเหลือง
  • กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา
  • กิจกรรมวันสำคัญเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
  • กิจกรรมอื่น ๆ ที่ชุมชนจัด หรือขอการสนับสนุนจากโรงเรียน

อ้างอิง

แก้
  1. ประวัติโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ http://pccbr.ac.th/pccbr/profile.php เก็บถาวร 2016-12-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

15°18′29″N 103°18′15″E / 15.308072°N 103.304051°E / 15.308072; 103.304051