โรงเรียนวัดราชาธิวาส

โรงเรียนวัดราชาธิวาส (อังกฤษ: Rajadhivas School) เป็นโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงมายาวนาน ตั้งอยู่ในพื้นที่ วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร ซึ่งเป็น พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เมื่อก่อนเป็นโรงเรียนชายล้วน จนถึง พ.ศ. 2538 เป็นโรงเรียน สหศึกษา ตั้งอยู่ที่ ซอยสามเสน 9 แขวง วชิรพยาบาล เขต ดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

โรงเรียนวัดราชาธิวาส
Rajadhivas School
พิกัด13°46′30″N 100°30′17″E / 13.774966°N 100.504745°E / 13.774966; 100.504745
ข้อมูล
ชื่ออื่นร.ว./R.J.
คำขวัญสทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ
(พวกเราพึงเคารพพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)
สถาปนา11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 (121 ปี)
ผู้ก่อตั้งพระครูปลัดพิพัฒน์พรหมจริยคุณ
เขตการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส10105554
ผู้อำนวยการนาย อภิภูมิ เปี้ยปลูก
สี   ชมพูและน้ำเงิน
เพลงมาร์ช ชมพู-น้ำเงิน
ต้นไม้ประจำโรงเรียนต้นมะฮอกกานีใบใหญ่
เอกลักษณ์ลูกราชามีสัมมาคารวะ
คติพจน์เรียนเด่น เล่นดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
เว็บไซต์www.rajadhivas.ac.th
วัดราชาธิวาสตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
วัดราชาธิวาส
วัดราชาธิวาส
วัดราชาธิวาส (กรุงเทพมหานคร)

ประวัติโรงเรียน

แก้
 
ตึกไชยันต์หลังเก่า ประมาณ พ.ศ. 2508-2509

โรงเรียนวัดราชาธิวาสสถาปนาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 พระครูปลัดพิพัฒน์พรหมจริยคุณ รองเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสขณะนั้น ในลักษณะอาคารเรียนชั่วคราวและได้มีการก่อสร้างเป็นอาคารเรียนถาวร ในลำดับต่อมา คือ ตึกไชยันต์ 2462 และตึกสามพี่น้อง โดยทุนทรัพย์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (พระโอรสของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) และหม่อมเจ้าหญิงสุภางค์พักตร์ ไชยันต์ ภายหลังได้งบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการให้สร้างตึกวาสุกรี ตึกสมอรายขึ้นเพิ่มเติมและสร้างตึกสามพี่น้อง ตึกไชยันต์ของใหม่ แทนของเก่าที่ทรุดโทรม ปัจจุบันโรงเรียนวัดราชาธิวาสมี 4 อาคารเรียน โรงเรียนได้เปิดสอนเฉพาะนักเรียนชายทั้งมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายมาจนถึงปี พ.ศ. 2538 จึงได้เริ่มเปิดรับนักเรียนหญิงตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ[1]

อาคารเรียน

แก้
 
ป้ายตึกไชยันต์ปัจจุบัน
 
เข้าแถวหน้าเสาธง งานศิลปากรสัญจรสู่ราชาธิวาส โดมหน้าเสาธง รร.วัดราชา
 
ลานมะฮอกกานี สัมภาษณ์ สมจิตร จงจอหอ
 
ภาพพาโนรามาถ่ายจากชั้น 5 ตึกไชยันต์ หันหน้าไปทางทิศเหนือ

ตึกไชยันต์

แก้

อาคารรูปตัว L มีจำนวน 6 ชั้น

  • ชั้น 1 ห้องพักทานข้าวครู, โรงอาหาร
  • ชั้น 2 ห้องผู้อำนวยการ, ห้องธุรการ, ห้องโสต (ห้องประชุม), ห้องเกียรติประวัติ (ห้องประชุม), ห้องเคมี
  • ชั้น 3 ห้องพักครูสังคมและวัฒนธรรม, ห้องจริยธรรม
  • ชั้น 4 ห้องพักครูภาษาต่างประเทศ, ห้องเรียนญี่ปุ่น, ห้องปฏิบัติการทางภาษา
  • ชั้น 5 ห้องพักครูภาษาไทย
  • ชั้น 6 ที่ประดิษฐาน พระพุทธไสยาสน์ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบและหล่อ ณ ห้องกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (ห้องประชุม), ห้องพักครูคณิตศาสตร์

ตึกสามพี่น้อง

แก้

มีจำนวน 3 ชั้น เป็นตึกศิลปะและพละศึกษา (ชั้น 3 เป็นโรงยิม)

  • ชั้น 1 ห้องประดิษฐ์, ห้องโภชนาการ
  • ชั้น 2 ห้องดนตรีไทย, ห้องดนตรีสากล, ห้องนาฏศิลป์, ห้องศิลปะ, ห้องโยธวาทิต, ห้องช่างไฟฟ้า
  • ชั้น 3 โรงยิม เป็นสนามบาสในร่ม พื้นสนามยาง
  • ยิมมวย อยู่ชั้น 1 เป็นเวทีมวย ใช้ในวิชามวยไทย ก่อตั้งในสมัย ผอ.อนันต์ ทรัพวารี โดยพิธีเปิดมี สมจิตร จงจอหอ และผู้ฝึกสอนกีฬาที่มีชื่อเสียงมาร่วมพิธี และจัดการแข่งขันมวยสากลเป็นประจำทุกปี โดยมีครูประจำวิชาคือ อ.สุเทพ แก้วรัตน์ ซึ่งเป็นญาติของ สมจิตร จงจอหอ ภายหลังกลายมาเป็นสถานที่ฝึกซ้อมสำหรับนักมวยไทยอาชีพสังกัดค่ายศิษย์เทพประทาน

ตึกสมอราย

แก้

มีจำนวน 4 ชั้น ห้องปรับอากาศทั้งหมด

  • ชั้น 1 ห้องยืดหยุ่น (ปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) ห้องยืดหยุ่นเดิมได้รับการปรับปรุงเป็นสำนักงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา รวมถึงเปิดเป็นยิมมวยไทยในชื่อ "ราชายิม" เปิดสอนมวยไทยให้กับเยาวชนและผู้ที่สนใจ), ห้องบริการ, ห้องพยาบาล, ห้องแนะแนว, ห้องกัลปพฤกษ์ (ปัจจุบันเป็นสำนักงานศูนย์ครอบครัวพอเพียงโรงเรียนวัดราชาธิวาส)
  • ชั้น 2 ห้องวิชาการ, ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์, ห้องการศึกษาพิเศษ
  • ชั้น 3 ห้องคอมพิวเตอร์, ห้องเรียนการศึกษาพิเศษ
  • ชั้น 4 ห้องเรียนปรับอากาศ, ห้องภาษาจีน

ตึกวาสุกรี

แก้

มีจำนวน 3 ชั้น เป็นตึกวิทย์

  • ชั้น 1 ห้องคอม, ห้องสมุด, ห้องถ่ายเอกสาร
  • ชั้น 2 ห้องชีววิทยา, ห้องฟิสิกส์
  • ชั้น 3 ห้องพักครูวิทยาศาสตร์, ห้องชีววิทยา, ห้องฟิสิกส์

โดมลานสนามหน้าเสาธง

แก้

เป็นโดมหลังคาขนาดใหญ่ คุมพื้นที่ทั้งสนาม (สร้างขึ้นสมัย ผอ.อนันต์ ทรัพย์วารี) ใช้สำหรับที่เข้าแถวเคารพธงชาติตอนเช้า และยังเป็นลานอเนกประสงค์ใช้ในพิธีสำคัญต่าง ๆ

โดมลานมะฮอกกานี

แก้

เป็นลานอเนกประสงค์มีเวทีใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ, โรงอาหาร

  • เรือนเกษตร เป็นที่เรียนวิชาเกษตรกรรม เพาะปลูก ของ อ.ปัทมา ภูมิน้ำเงิน
  • ตึกไชยันต์ 2462 (จำลองโดยใช้โครงสร้างไม้) พิธีเปิด 9/9/2013 ตั้งอยู่บนเวทีเพื่อใช้เป็นฉากในพิธีสำคัญต่าง ๆ
  • โรงอาหาร

กิจกรรม-ประเพณี

แก้
 
งานราตรีคืนสู่เหย้า 11 ทศวรรษราชาธิวาส 11/02/56
  • งานราตรีคืนสู่เหย้า หรืองานสถาปนาโรงเรียน จัดทุกวันที่ 11 ภุมภาพันธ์ ในทุก ๆ ปี โดยจะจัดทำบุญประจำปี ณ ห้องกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ส่วนตอนกลางคืนเป็นงานราตรีคืนสู่เหย้า ณ สนามหน้าเสาธง
  • งาน Open House แสดงผลผลิตนักเรียน จัดเป็นประจำทุกปีของเดือนกุมภาพันธ์ ใกล้ ๆ วันสถาปนา
  • งานมุทิตาจิต ประมาณเดือนมิถุนายน
  • งานมุทิตาจิตครูเกษียณอายุราชการ ประมาณเดือนกันยายน
  • กิจกรรมเลือกตั้งประธานนักเรียน โดยจะให้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แต่ละห้องลงประธานนักเรียน โดยจะเลือกประมานกลางเทอม 1
  • งานกีฬาสี จะจัดเป็นประจำทุก ๆ ปี เป็นการให้รุ่นพี่ทำกิจกรรมกับรุ่นน้อง โดยวิถีปฏิบัติกันมาคือ จะให้ ม.1 ของทุกปีขึ้นสแตนเชียร์ โดยแบ่งเป็นคณะ ดังนี้
    • คณะไชยันต์ ██ สีเหลือง
    • คณะนริศรา ██ สีชมพู
    • คณะสมอราย ██ สีเขียว
    • คณะสามพี่น้อง ██ สีแดง
    • คณะวาสุกรี ██ สีฟ้า
  • งานอาเซียน โดยแบ่งเป็นกลุ่มสาระละประเทศ ให้ครบ 10 ประเทศอาเซียน ให้ความรู้และจัดกิจกรรมให้นักเรียนมีส่วนร่วมและต้อนรับสู่อาเซียน

ทำเนียบผู้บริหาร

แก้
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 ครูใหญ่ปรุง พ.ศ. 2447-2449
2 ครูใหญ่รัตน์ พ.ศ. 2449-2450
3 ครูใหญ่พุก พ.ศ. 2451-2452
4 ครูใหญ่ทวี พ.ศ. 2452-2453
5 ครูใหญ่วารี พ.ศ. 2453-2454
6 ครูใหญ่เผื่อน พ.ศ. 2453-2454
7 ครูใหญ่เกิด พ.ศ. 2454-2458
8 ครูใหญ่พร พ.ศ. 2458-2459
9 ครูใหญ่ราชบุรุษตรี พ.ศ. 2459
10 ครูใหญ่เกิด (ขุนกุมาโรวาท) พ.ศ. 2459
11 ครูใหญ่แช่ม พ.ศ. 2460-2462
12 ครูใหญ่ขุนพิพัฒน์คุรุกิจ (แช่ม) พ.ศ. 2462
13 ครูใหญ่ทองคำ ภูจามร พ.ศ. 2462-2463
14 ครูใหญ่หลวงชาญพิทยกิจ พ.ศ. 2463-2476
15 ขุนวิรุฬจรรยา (จันทร์เงินมาก) (สมัย 1) พ.ศ. 2476-2487
16 ครูใหญ่สุวรรณ เผือกใจแผ้ว พ.ศ. 2487-2490
17 ขุนวิรุฬจรรยา (จันทร์เงินมาก) (สมัย 2) พ.ศ. 2591-2503
18 อาจารย์ถิ่น รัติกนก พ.ศ. 2503-2507
19 อาจารย์ใหญ่เรวัติ ชื่นสำราญ พ.ศ. 2507-2508
20 อาจารย์ใหญ่แสวง ตันบุญตั้ง พ.ศ. 2508-2511
21 อาจารย์ใหญ่ทองสุก เกตุโรจน์ พ.ศ. 2511-2514
22 ผอ.ว่าที่ ร.ต.จรัญ โสตถิพันธุ์ พ.ศ. 2515-2519
23 ผอ.สวัสดิ์ ปิ่นสุวรรณ พ.ศ. 2519-2520
24 ผอ.จรัญ ดาบโกไสย พ.ศ. 2520-2521
25 ผอ.ทิม ผลภาค พ.ศ. 2521-2526
26 ผอ.เจริญ วงศ์พันธ์ พ.ศ. 2526-2531
27 ผอ.ดุสิต พูนพอน พ.ศ. 2531-2534
28 ผอ.สุรินทร์ ต่อเนื่อง พ.ศ. 2534-2537
29 ผอ.ประวิทย์ พฤทธิกุล พ.ศ. 2537-2538
30 ผอ.อำนาจ ผิวขำ พ.ศ. 2538-2542
31 ผอ.นิรมล ธรรมอุปกรณ์ พ.ศ. 2542-2545
32 ผอ.สุธน คุ้มสลุด พ.ศ. 2545-2549
33 ผอ.เทพฤทธิ์ ศรีปัญญา พ.ศ. 2549
34 ผอ.อนันต์ ทรัพย์วารี พ.ศ. 2549-2554
35 ผอ.ไชยา กัญญาพันธุ์ พ.ศ. 2554-2556
36 ผอ.สมทบ โตสุรัตน์ พ.ศ. 2556-2559
37 ผอ.ชาญณรงค์ แก้วเล็ก พ.ศ. 2559-2563
38 ผอ.ราเมศ มุสิกานนท์ พ.ศ. 2563-2564
39 ผอ.นฤเทพ ใจสุทธิ พ.ศ. 2564-2566
40 ผอ.อภิภูมิ เปี้ยปลูก พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน


นักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียง

แก้

ข้าราชการ

แก้

ศิลปินแห่งชาติ

แก้

สื่อสารมวลชน

แก้
  • เสาว์ บุญเสนอ (ร.ว.๑๐๑) เจ้าของนามปากกา ส.บุญเสนอ,นักประพันธ์ บรรณาธิการหนังสือ เพลินจิตต์ ประมวลวัญ และ ประมวลสาร (3 พ.ค. 2452 - 26 ธ.ค. 2544)
  • ประยูร จรรยาวงศ์ (ร.ว.๑๒๘๕) นักเขียนภาพล้อ,นักเขียน, นักหนังสือพิมพ์
  • เรือเอก ตะวัน ทักษณา (ราชา ๕๖) เจ้าของนามปากกา ภาณุมาศ ทักษณา นักเขียน, นักหนังสือพิมพ์, คอลัมนิสต์, บรรณาธิการบริหารสื่อหลายฉบับ
  • วีรศักดิ์ นิลกลัด ผู้ประกาศข่าวกีฬา

วงการบันเทิง

แก้

กีฬา

แก้
  • นายนิยม ประเสริฐสม (ร.ว.๔๔๑๖) อดีตนักมวยสมัครเล่นทีมชาติ เคยเข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิก โตเกียว
  • นายอารัณย์ ชัยพิพัฒน์กุล (ร.ว. ๒๘๕๗๒) สุดยอดแฟนพันธุ์แท้มวยปล้ำ 3 สมัย และนักพากย์กีฬามวยปล้ำ (เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. สมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนวัดราชาธิวาส. "ประวัติโรงเรียนวัดราชาธิวาส". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-05. สืบค้นเมื่อ 6 August 2015.