โรงเรียนราชวินิตบางเขน
โรงเรียนราชวินิตบางเขน เป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 22/18 ซอยชินเขต 1/22 ถนนงามวงศ์วาน แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โดยโรงเรียนราชวินิตบางเขนเป็นหนึ่งใน 8 ของโรงเรียนเครือราชวินิต
โรงเรียนราชวินิตบางเขน Rajanivitbangkhen School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
22/18 ซอยชินเขต1/22 ถนนงามวงศ์วาน แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 ประเทศไทย โทร 0 80 419 6512 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ร.น.บ. (RVB) |
ประเภท | รัฐบาล สังกัด สพฐ. |
คำขวัญ | ปรัชญา ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ผู้ฝึกตนดีแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด คติพจน์ มีวินัย ใฝ่ศึกษา พัฒนาชุมชน |
สถาปนา | 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 |
ผู้ก่อตั้ง | คุณย่าผัน คำจงจิตร พระครูสุวรรณสุทธารมย์ |
รหัส | 1010720143 |
ผู้อำนวยการโรงเรียน | นายสามารถ จันหา |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย |
จำนวนนักเรียน | 1,698 คน (2564)[1] |
สี | กรมท่า - ขาว |
เพลง | มาร์ชราชวินิตบางเขน, พราวชมพู |
ต้นไม้ | ชมพูพันธุ์ทิพย์ |
เว็บไซต์ | โรงเรียนราชวินิตบางเขน |
ประวัติโรงเรียน
แก้โรงเรียนราชวินิตบางเขน มีเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 13 ตารางวา เดิมเป็นที่ดินของคุณย่าผัน คำจงจิตร สภาพพื้นที่เดิมเป็นที่ลุ่ม มีแอ่งน้ำ ต้นกก และ หญ้าปล้องขึ้นเต็มบริเวณพื้นที่ คุณย่าผัน คำจงจิตร ได้มอบที่ดินแปลงนี้ให้แก่วัดทองสุทธาราม แขวงบางซื่อ ปีพุทธศักราช 2528 พระครูสุวรรณสุทธารมย์ เจ้าอาวาสวัดทองสุทธาราม คณะกรรมการวัดทองสุทธาราม และนายสุรินทร์ ต่อเนื่อง ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยา (ในขณะนั้น) เห็นว่าโรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยา ซึ่งก่อสร้างอยู่ในที่ดินของวัดทองสุทธารามได้รับนักเรียนเข้าเรียนตามเป้าหมาย และนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นจำนวนมากในแขวงบางซื่อ ท่าทราย ทุ่งสองห้อง และอำเภอเมืองนนทบุรียังไม่มีโรงเรียนใกล้บ้าน ต้องเดินทางไปเรียนต่อ ยังโรงเรียนที่อยู่ไกล ๆ ด้วยเจตนารมย์ และศรัทธาของท่านพระครูสุวรรณสุทธารมย์ในการที่จะให้การสนับสนุนการศึกษาของชาติ และให้เยาวชนไทยทุกฐานะ ได้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมศึกษาให้มากขึ้น
วัดทองสุทธาราม โดยพระครูสุวรรณสุทธารมย์ คณะกรรมการวัดทองสุทธาราม ได้ทำหนังสืออนุญาต ให้กรมสามัญศึกษาใช้ที่ดินแปลงนี้สร้างโรงเรียนมัธยมศึกษา เดือนมิถุนายน 2529 อธิบดีกรมสามัญศึกษา โดย ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง และเจ้าหน้าที่กรมสามัญศึกษา นายสุรินทร์ ต่อเนื่อง ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยา ได้เข้ามาสำรวจพื้นที่ ที่จะก่อสร้างโรงเรียน วันที่ 14 สิงหาคม 2529 กรมสามัญศึกษาได้ตอบรับการใช้ที่ดินแปลงนี้ก่อสร้าง โรงเรียนมัธยมศึกษาปีการศึกษา 2530 กรมสามัญศึกษาได้เปิดโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 โรง ชื่อ "โรงเรียนบางเขนวิทยา" โดยเช่าพื้นที่นี้กับกรมการศาสนาเป็นเวลา 30 ปี และสิ้นสุดตามสัญญาเช่าในวันที่ 22 กรกฎาคม 2561
- วันที่ 16 เมษายน 2530 กรมสามัญศึกษาได้มอบหมายให้โรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนพี่ เป็นผู้รับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เข้าเรียนในโรงเรียนบางเขนวิทยา จำนวน 4 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 200 คน โดยมีนายสุรินทร์ ต่อเนื่อง ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยา เป็นผู้ดูแลการจัดตั้งโรงเรียนบางเขนวิทยา และปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารเป็นการชั่วคราว
- ปีการศึกษา 2531 กรมสามัญศึกษาอนุมัติให้โรงเรียนบางเขนวิทยา รับนักเรียนเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 300 คน โดยใช้อาคารเรียนที่โรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยา
- วันที่ 1 มิถุนายน 2531 นายวินัย นุ่นพันธ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยา ได้รับคำสั่งให้รักษาการในตำแหน่ง "ครูใหญ่โรงเรียนบางเขนวิทยา"
- วันที่ 20 กรกฎาคม 2531 นายวินัย นุ่นพันธ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยารักษาการในตำแหน่ง ครูใหญ่โรงเรียนบางเขนวิทยา ได้รับมอบอำนาจเป็นผู้แทนกรมสามัญศึกษาลงนามในหนังสือกรรมสิทธิ์การใช้ที่ดินแปลงนี้สร้างโรงเรียน เมื่อดำเนินการในเรื่องที่ดินเรียบร้อยแล้วโรงเรียนบางเขนวิทยาได้ดำเนินการจัดทำ โครงการ "รวมน้ำใจสู่ บ.ว." เพื่อระดมทุนทำห้องเรียนชั่วคราวของโรงเรียนบางเขนวิทยา โดยปรับปรุงพื้นที่ ซ่อมแซมโรงเรือนที่บริษัทชินเขตมอบให้กับโรงเรียนโดยได้รับการสนับสนุนจากสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยา ชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนบางเขนวิทยา คณะกรรมการวัดทองสุทธารามและผู้มีอุปการคุณ ในหมู่บ้านชินเขต
- วันที่ 16 สิงหาคม 2531 คณะครู อาจารย์และนักเรียนโรงเรียนบางเขนวิทยา ได้เข้ามาพัฒนาพื้นที่บริเวณที่จะทำอาคารชั่วคราว ซึ่งมีต้นกกสูงท่วมศีรษะ
- วันที่ 12 กันยายน 2531 เทพื้นที่ห้องอาคารเรียนชั่วคราวเสร็จเรียบร้อย
- วันที่ 28 กันยายน 2531 สำนักงบประมาณได้อนุมัติเงินงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน ให้แก่โรงเรียนบางเขนวิทยา
- วันที่ 11 ตุลาคม 2531 ได้ขนย้ายวัสดุอุปกรณ์จากโรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยามาสู่โรงเรียนบางเขนวิทยา และเปิดทำการเรียนการสอน ณ โรงเรียนบางเขนวิทยา
- ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2531 ซึ่งเป็นภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2531 โรงเรียนบางเขนวิทยาได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้ใช้ชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนราชวินิตบางเขน" เพื่อเป็นไปตามพระราชดำริในการจัดตั้งโรงเรียน ดังนั้น ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2534 กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนบางเขนวิทยา เป็น "โรงเรียนราชวินิตบางเขน" สืบต่อไป และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต จากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้อัญเชิญ "พระมหาพิชัยมงกุฎ" เป็นตราสัญลักษณ์ของโรงเรียน [2]
แผนการเรียน
แก้ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
แก้- หลักสูตรภาคปกติ
- ห้องเรียนพิเศษ (Talented class program )
- Intensive Science - Math Program : ISMP
- Intensive English Program : IEP
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
แก้แผนการเรียน (ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย) มีดังนี้
- ห้องเรียนพิเศษ (Talented class program )
- Intensive Science - Math Program : ISMP
- Intensive Math - English Program : IMEP
- ห้องเรียนปกติ
- โครงสร้าง วิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์
- โครงสร้าง คณิตศาสตร์ - ภาษาอังกฤษ
- โครงสร้าง ศิลป์ (อังกฤษ) - ญี่ปุ่น
- โครงสร้าง ศิลป์ (อังกฤษ) - จีน
- โครงสร้าง ไทย - สังคม
- โครงสร้าง ทักษะอาชีพ[3]
สิ่งก่อสร้างภายในโรงเรียน
แก้- อาคาร 1 ภัทรราชา
- อาคาร 2 วชิราบดินทร์
- อาคาร เฉลิมพระเกียรติฯ 48 พรรษา
- อาคารอเนกประสงค์
- เรือนพยาบาล
- ห้องประชาสัมพันธ์
- ห้องประชุมเกษรแก้ว
- ห้องประชุมสุวรรณสุธารมย์
- หอประชุมจักรินทร์สิรินธร
- สวนป่าพงศาปาน
- โดมสามัคคีภิรมย์
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน
แก้ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิตบางเขน | ||
รายชื่อ | ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง | อ้างอิง |
---|---|---|
1. นายสุรินทร์ ต่อเนื่อง | พ.ศ. 2530-พ.ศ. 2530 | |
2. นายวินัย นุ่นพันธ์ | พ.ศ. 2531-พ.ศ. 2540 | |
3. นางยุพา จิตเกษม | พ.ศ. 2540-พ.ศ. 2542 | |
4. นางวิมวดี ธรรมาธิคม | พ.ศ. 2542-พ.ศ. 2544 | |
5. นางสาลินี มีเจริญ | พ.ศ. 2545-พ.ศ. 2550 | |
6. นายเฉลียว พงศาปาน | พ.ศ. 2550-พ.ศ. 2556 | |
7. นายเรืองยศ อุตรศาสตร์ | พ.ศ. 2556-พ.ศ. 2559 | |
8. นายสันต์ธวัช ศรีคำแท้ | พ.ศ. 2559-พ.ศ. 2561 | [4] |
9. นายชวิศ จิตปุณยพงศ์ | พ.ศ. 2561-พ.ศ. 2562 | [5] |
10.นายชาย จันทร์งาม | พ.ศ. 2562-พ.ศ. 2563 | |
11. นายธัญวิชญ์ ไตรรัตน์ | พ.ศ. 2563-พ.ศ. 2567 | |
12.นายสามารถ จันหา | พ.ศ. 2567-ปัจจุบัน |
อ้างอิง
แก้- ↑ http://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_student.php?School_ID=1010720143&Area_CODE=101702 จำนวนนักเรียนโรงเรียนราชวินิตบางเขน
- ↑ http://www.rvb.ac.th/info1.html ประวัติโรงเรียนราชวินิตบางเขน
- ↑ http://www.rvb.ac.th/Update/pdf/Regulation_2019.pdf เอกสารรับสมัครนักเรียนโรงเรียนราชวินิตบางเขน
- ↑ http://www.e-newsbkk2.org/bkk2/forum/data/15/pic/1558.pdf[ลิงก์เสีย] คำสั่งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่ 504/2561 ย้ายนายสันต์ธวัช ศรีคำแท้ ผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิตบางเขน ไปเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา (รายชื่อโยกย้ายลำดับ 28)
- ↑ http://www.e-newsbkk2.org/bkk2/forum/data/15/pic/1558.pdf[ลิงก์เสีย] คำสั่งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่ 504/2561 ย้ายนายชวิศ จิตปุณยพงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสุธีวิทยา ไปเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิตบางเขน(รายชื่อโยกย้ายลำดับ 29)