โรงภาพยนตร์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่ได้แสดงถึงมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง |
โรงภาพยนตร์ หรือ โรงหนัง เป็นสถานที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะสำหรับชมภาพยนตร์ และผู้ประกอบการจะต้องมี ใบอนุญาตประกอบกิจการ โรงภาพยนตร์ มิเช่นนั้นห้ามเรียก โรงภาพยนตร์ เนื่องจาก โรงภาพยนตร์ จะมีกฎหมายหลายๆอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง การที่ ไม่มี ใบอนุญาตประกอบกิจการ โรงภาพยนตร์ จะไม่ได้รับสิทธิ์คุ้มครองตามกฎหมายของโรงภาพยนตร์ และห้ามเรียกโรงภาพยนตร์ ดังนั้นโรงภาพยนตร์ส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อทำธุรกิจ ให้สาธารณชนจ่ายค่าผ่านประตูเข้ามารับชม ฟิล์มภาพยนตร์จะถูกฉายจากเครื่องฉาย ให้ปรากฏภาพบนจอ ที่ด้านหน้าของบริเวณที่นั่งชมภายในโรงภาพยนตร์ โดยนิยมสร้างที่นั่งบนพื้นแบบขั้นบันไดไล่ระดับ จากด้านหลังลงไปยังด้านหน้า
โรงภาพยนตร์ในประเทศไทย
แก้ปัจจุบันนิยมสร้างขึ้นภายในศูนย์การค้าขนาดใหญ่ และโรงภาพยนตร์มีขนาดเล็กรวมกันหลายโรง ตั้งแต่ 2-16 โรงในบริเวณเดียวกัน จำนวนที่นั่งในโรงตั้งแต่ 48 ที่นั่ง/โรง ไปจนถึง 2,000 ที่นั่ง/โรง
ราคาค่าชมภาพยนตร์ ในเขตกรุงเทพมหานคร เริ่มที่ 80,90,100,120 /1 ที่นั่ง สำหรับที่นั่งปกติ 110,120,140,160,170,180 /1ที่นั่ง สำหรับที่นั่งพิเศษหรือที่นั่งแถวบนสุดในบางโรงภาพยนตร์ 220,250,300,500,600,1500/1ที่นั่ง สำหรับที่นั่งแบบพิเศษหรือแบบโซฟาปรับนอนได้ในโรงภาพยนตร์เฉพาะ
ส่วนราคาบัตรชมภาพยนตร์ในต่างจังหวัด จะเริ่มต้นที่ราคา 40 บาทไปจนถึง 120 บาท /1ที่นั่ง และ 250-300 บาท/1 ที่นั่ง ในโรงภาพยนตร์ที่มีที่นั่งพิเศษในบางจังหวัด
ยุคของโรงภาพยนตร์
แก้ยุคแรก พ.ศ. 2440 – 2490
ส่วนใหญ่เป็นโรงภาพยนตร์ที่เดิมเป็นโรงละคร เมื่อถึงยุคเสื่อมของละครเวทีตามสมัย ภาพยนตร์ต่างประเทศก็เข้ามาแทนที่ โรงละครเวทีต้องปรับเปลี่ยนเป็นโรงภาพยนตร์เพื่อความอยู่รอด
เฉลิมละคร คลองถม สี่แยก เอส เอ บี
นิยมไทย เวิ้งนครเกษม
เฉลิมธานี นางเลิ้ง
เฉลิมกรุง ถนนเจริญกรุง ใกล้บ้านหม้อ
ยุคที่สอง พ.ศ. 2491 – 2528
ยุคนี้โรงภาพยนตร์สร้างขนาดใหญ่โต ขนาดจุที่นั่งได้ 800 -1500 คน เป็นโรงเดี่ยว stand alone หลายพื้นที่มีโรงภาพยนตร์หลายโรงตั้งอยู่ใกล้กันเช่น แกรนด์ คิงส์ ควีน ตั้งอยู่ในบริเวณวังบูรพา ศรีเยาวราช และศรีราชวงศ์ อยู่เยาวราชห่างกันไม่กี่ช่วงตึก เป็นต้น ราคาค่าชมภาพยนตร์เริ่มต้น 5 บาท 7 บาท 10 บาท 12 บาทและ 16 บาท
เฉลิมบุรี สามแยก ถนนเจริญกรุง
บร์อดเวย์ สามแยก ถนนเจริญกรุง
แค็ปปิตอล คลองถม ถนนเจริญกรุง
สิริรามา ถนนเจริญกรุง สามแยก
แกรนด์ วังบูรพา
คิงส์ วังบูรพา
ควีน วังบูรพา
ศรีเยาวราช ถนนเยาวราช
ศรีราชวงศ์ ถนนเยาวราช
คาเธ่ย์ ถนนเยาวราช ฉายภาพยนตร์ไทย
เท็กซัส ถนนเยาวราช ฉายภาพยนตร์อินเดีย
รามา ถนนพระราม 4 สามย่าน
สยาม สยามสแควร์
ลิโด สยามสแควร์
สกาลา สยามสแควร์
เอเธน ราชเทวี
แม็คแคนน่า เชิงสะพานหัวช้าง
ฮอลลิวูด ถนนเพชรบุรี ฉายภาพยนตร์วอสดิสนีย์
โคลีเซียม ยมราช
ศาลาเฉลิมไทย ผ่านฟ้า ถนนราชดำเนินกลาง
เฉลิมเขต สะพานยศเส สะพานข้ามทางรถไฟ
กรุงเกษม ริมคลองผดุงกรุงเกษมใกล้หัวลำโพง
เอ็มไพร เชิงสะพานพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฝั่งพระนคร ใกล้ปากคลองตลาด ฉายภาพยนตร์ไทย
นครหลวงราม่า สามแยกไฟฉาย
ผึ้งหลวงราม่า ดาวคะนอง
ยุคที่สาม พ.ศ . 2528 – 2554
เริ่มเข้ามาของระบบโรงภาพยนตร์สมัยใหม่ รวมตัวในศูนย์การค้า แต่ก็ยังมีโรงภาพยนตร์ที่เปิดในสถานที่ของตัวเองให้เห็นอยู่ ฉายภาพยนตร์ครั้งละหลายเรื่องแต่ว่ามีหลายโรงช่วยฉายโดยอยู่ในสถานที่เดียวกันคือห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า มีโรงภาพยนตร์ให้เลือกชมหลายโรงตั้งแต่ 2-16 โรง
ยุคที่สี่ พ.ศ. 2554–ปัจจุบัน เริ่มมีโรงภาพยนตร์แบบ 3 มิติและ 4 มิติเข้ามาฉายครั้งแรกในประเทศไทย เป็นยุคที่การฉายระบบดิจิทัลมาแทนการฉายด้วยฟิล์ม มีการนำโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้เป็นส่วนลด มีเครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ ยุคนี้โรงภาพยนตร์ที่เปิดในสถานที่ของตัวเองหายไปอย่างสิ้นเชิง
โรงภาพยนตร์ในประเทศอินเดีย
แก้โรงภาพยนตร์ในประเทศอินเดีย มักจะฉายภาพยนตร์ในประเทศหรือภาพยนตร์อินเดียเป็นหลัก ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีผลผลิตภาพยนตร์สูงที่สุดในโลก จนได้รับฉายาว่า "บอลลีวูด" เป็นคำเลียนแบบฮอลลีวูด อุตสาหกรรมภาพยนตร์ยักษ์ใหญ่ระดับโลกของสหรัฐอเมริกา บางเรื่องฉายมานานกว่า 17 ปีแล้ว แต่ก็ยังได้รับความนิยมอยู่ (ผู้ชมบางคนดูมากกว่า 20–25 รอบ) บางโรงมีรอบฉายเพียงวันละหนึ่งครั้งในเวลาใกล้เที่ยง และถึงแม้จะเป็นวันธรรมดา ก็ยังมีผู้ซื้อตั๋วเข้าชมถึงร้อยละ 70 และธรรมเนียมการชมภาพยนตร์ในโรงของอินเดียจะแตกต่างไปจากประเทศอื่น ผู้ชมสามารถนั่งหรือเหยียดขาอย่างไรก็ได้ตามสบาย สามารถใช้โทรศัพท์ได้ หรือแม้แต่สั่งอาหารจากภายนอกมารับประทานได้ โดยมีบริกรเสิร์ฟให้ถึงที่ โดยเมนูที่เป็นที่นิยม คือ ไอศกรีม และเมื่อถึงฉากที่สนุกหรือเร้าอารมณ์ ผู้ชมจะแสดงออกซึ่งอารมณ์ร่วมด้วยอย่างเต็มที่ เช่น ร้องเพลงตาม หรือเฮฮาไปกับฉากในเรื่อง บางครั้งที่มีการหยุดพักครึ่ง ผู้ชมจะรีบออกมาซื้ออาหารว่างหรือเครื่องดื่มที่มีจำหน่ายหน้าโรง เพื่อบริโภคอย่างเร่งด่วนก่อนกลับเข้าไปชมต่อ และยังไม่ทันที่จะภาพยนตร์จะฉายจบ ผู้ชมจะรีบลุกออกทันทีเพือที่จะไปซื้อตั๋วสำหรับเรื่องถัดไป [1]
ธุรกิจโรงภาพยนตร์
แก้ปัจจุบัน ธุรกิจของโรงภาพยนตร์รายได้มากถึงร้อยละ 70 หรือ 80 มาจากการขายขนมและของหวานหรือเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอลหน้าโรง สำหรับผู้ชมนำไปรับประทานระหว่างชมภาพยนตร์ โดยเฉพาะข้าวโพดคั่วหรือป๊อปคอร์น ซึ่งถือว่าเป็นของรับประทานเล่นระหว่างชมภาพยนตร์เลยทีเดียว จัดเป็นของรับประทานเล่นที่อยู่คู่กับโรงภาพยนตร์มานานมากกว่า 80 ปีแล้ว โดยราคาของข้าวโพดคั่วหน้าโรงภาพยนตร์มักมีราคาที่สูงกว่าที่ขายทั่วไป หลายครั้งมีการขายเป็นแพ็คเก็จในรูปแบบของสะสมหรือของที่ระลึก ซึ่งเมื่อคิดราคาแล้วสูงกว่าค่าชมภาพยนตร์เสียอีก แต่ทว่าก็มีรสชาติและรูปแบบที่อร่อยกว่าด้วย ทำให้หลายธุรกิจโรงภาพยนตร์ห้ามผู้ชมนำขนมหรือของรับประทานเล่นที่ซื้อจากที่อื่นเข้าไปในโรง[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ สารคดี ทึ่งทั่วโลก ชุด The Asia Hunter ทางช่องอมรินทร์ทีวี: วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560
- ↑ ""โรงหนัง" ธุรกิจขายของหวาน! รู้ยัง? รายได้ 80% มาจากป๊อปคอร์น กับน้ำอัดลม". ผู้จัดการออนไลน์. 2017-08-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-06. สืบค้นเมื่อ 2017-08-08.
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |