โรงพยาบาลสุรินทร์
โรงพยาบาลสุรินทร์ เป็นโรงพยาบาลรัฐที่ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
โรงพยาบาลสุรินทร์ | |
---|---|
Surin Hospital | |
ประเภท | รัฐ (โรงพยาบาลศูนย์) |
ที่ตั้ง | เลขที่ 68 ถนนหลักเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000 |
ข้อมูลทั่วไป | |
ก่อตั้ง | 1 มีนาคม 2494 |
ความร่วมมือ | สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี |
ผู้อำนวยการ | นายแพทย์ ชวมัย สืบนุการณ์ |
จำนวนเตียง | 914 เตียง |
แพทย์ | 134 คน |
บุคลากร | 2,328 คน |
ประวัติ
แก้ความเป็นมาของโรงพยาบาลสุรินทร์(กุศลสาธารณะ)ได้เริ่มก่อสร้างเริ่มแรกด้วยเงินทุนกุศลสาธารณะ(เงินกัณฑ์เทศน์เพื่อประโยชน์สาธารณสุข) โดยมี"ท่านเจ้าคุณ พระคุณรสศีลขันธ์ คณานันทธรรมมา (เปาว์ กฤชทอง)" เจ้าอาวาสวัดจุมพลสุทธาวาส และเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ ฝ่ายมหานิกาย เป็นประธานดำเนินงาน ในครั้งนั้นได้ออกเทศน์สามัคคีทุกตำบลในจังหวัดสุรินทร์ เพื่อรวบรวมกัณฑ์เทศน์เป็นทุนในการเริ่มการก่อสร้าง พร้อมกันนี้ชาวจังหวัดสุรินทร์ ได้ร่วมกันบริจากทรัพย์จนพอที่จะดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลได้ นับเป็นสถานพยาบาลรักษาผู้เจ็บป่วยของทางราชการแห่งแรกในจังหวัดสุรินทร์ ต่อมาได้มีการพัฒนาทั้งด้านอาคาร สถานที่ บุคลากร และระบบงานในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยอย่างต่อเนื้อง
การกำเนิดโรงพยาบาลจากอดีตสู่ปัจจุบัน ทีระบบสนับสนุนการรักษาอย่างครบวงจร นับเป็นความก้าวหน้าสำคัญของโรงพยาบาลสุรินทร์ ในการก้าวสู่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ที่ให้การรักษาพยาบาลอย่างมีคุณภาพแก่ประชาชน ทุกก้าวอย่างของการพัฒนาเป็นการสร้งพื้นฐานที่แข็งแรงให้แก่โรงพยาบาลสุรินท์ ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน[1]
โรงพยาบาลสุรินทร์ เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัดสุรินทร์สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีเนื้อที่ 59 ไร่ 3 งาน 49 ตารางวา ได้ดำเนินการมาจากการจัดทุน “กุศลสาธารณสุข” ซึ่งพระเดชพระคุณ พระคุณรสศีลขันธ์ (เปาว์ กฤชทอง)" อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์(มหานิกาย) และประชาชนจังหวัดสุรินทร์ร่วมกันบริจาคเพื่อก่อตั้ง และเปิดโรงพยาบาลดำเนินการเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2494 โดยมีนายแพทย์สราญ นุกูลการ เป็นผู้อำนวยการคนแรก มีแพทย์ประจำ 2 คน เป็นสถานที่ปฏิบัติงานให้บริการผู้ป่วยแห่งแรกของทางราชการ มีอาคารเรือนไม้ 2 หลัง จำนวน 50 เตียง ซึ่งนับได้ว่าเป็นสถานพยาบาลที่ทันสมัยแห่งแรกของจังหวัด และได้ดำเนินการมาเป็นเวลา 56 ปี ได้รับการพัฒนาเรื่อยมา จนได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลศูนย์ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก
แก้ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสุรินทร์ เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สังกัดโรงพยาบาลสุรินทร์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์กับสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยก่อตั้งเมื่อปี พุทธศักราช 2549 ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
ประวัติ
แก้ตามความตกลงความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้ลงนามความร่วมมือในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ของสำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2549 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา โดยให้โรงพยาบาลบุรีรัมย์และโรงพยาบาลสุรินทร์เป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์กับสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
เพื่อดำเนินการผลิตแพทย์ตามแผนการลงทุนเสริมสร้างสาธารณสุขแห่งชาติ (พ.ศ. 2549-2552) เป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐด้านสาธารณสุข ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบอนุมัติในหลักการเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 โดยสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมีแผนการรับนักศึกษาแพทย์ปีละ 48 คน จนถึงปี พ.ศ. 2553 และในปี พ.ศ. 2554 มีแผนจะเพิ่มการรับเป็นปีละ 60 คน
เพื่อให้การดำเนินงานโครงการร่วมผลิตแพทย์ของโรงพยาบาลสุรินทร์เป็นไปด้วยความคล่องตัว จึงเห็นสมควรจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิก โรงพยาบาลสุรินทร์ เพื่อเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์กับสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี รองรับการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิกของนักศึกษาแพทย์ ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
หลักสูตรการศึกษา
แก้ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสุรินทร์ จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ใน 1 หลักสูตร คือ
|
ระยะเวลาในการศึกษา
แก้ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้
|
- |
การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
แก้ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสุรินทร์ รับสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โดยวิธีรับตรงผ่านทางสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตามประกาศรับตรงประจำปีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี