โรคไซโคลไทเมีย[6] (cyclothymia, cyclothymic disorder) หรือแปลตรง ๆ ว่า โรคอารมณ์หมุนเวียน เป็นความผิดปกติทางจิตใจอย่างหนึ่งที่มีระยะอาการซึมเศร้าและระยะอาการฟุ้งพล่านน้อย ๆ (hypomania) เป็นจำนวนมาก[7] แต่อาการไม่ผ่านเกณฑ์เป็นคราวซึมเศร้า (major depressive episode) หรือคราวเกือบฟุ้งพล่าน (hypomanic episode) แบบเต็มตัว[8] อาการต้องมีนานกว่า 2 ปีในผู้ใหญ่และ 1 ปีในเด็กและวัยรุ่น[7]

โรคไซโคลไทเมีย
(Cyclothymia)
ชื่ออื่นCyclothymic disorder
กราฟทำให้ง่ายที่แสดงอารมณ์ของคนไข้โรคไซโคลไทเมียเทียบกับโรคอารมณ์สองขั้วและโรคซึมเศร้า เส้นเขียวแสดงอารมณ์ของคนทั่วไป เส้นน้ำเงินของคนไข้โรคซึมเศร้าขั้วเดียว เส้นม่วงอ่อนของโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 เส้นม่วงกลางของโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 2 และเส้นม่วงเข้มของโรคไซโคลไทเมีย แกนนอนแสดงระยะเวลาที่เกิดอารมณ์ แกนตั้งแสดงอารมณ์ บนสุดสีแดงเข้มเป็นอาการฟุ้งพล่านบริบูรณ์ ต่อจากบนสุดสีแดงอ่อนเป็นอาการเกือบฟุ้งพล่าน ล่างสุดสีเขียวเป็นอาการซึมเศร้า คราวเกิดอาการของโรคนี้ไม่สามารถจัดเป็นคราวซึมเศร้า คราวฟุ้งพล่าน และคราวเกือบฟุ้งพล่านที่เกิดในโรค 3 อย่างอื่น ๆ ได้ เช่น เกิดอารมณ์ซึมเศร้าไม่ถึง 2 อาทิตย์ เกิดอาการเกือบฟุ้งพล่านไม่ถึง 4 วันเป็นต้น
สาขาวิชาจิตเวช จิตวิทยาคลินิก
อาการระยะที่มีอารมณ์ซึมเศร้าและอารมณ์ครึ้ม[1]
ภาวะแทรกซ้อนฆ่าตัวตาย ทำร้ายตัวเอง[1]
สาเหตุไม่ชัดเจน[2]
ปัจจัยเสี่ยงประวัติในครอบครัว[3]
โรคอื่นที่คล้ายกันโรคอารมณ์สองขั้ว ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง โรคใช้สารเสพติด (SUD)[3]
การรักษาจิตบำบัด ยา[4]
ความชุก0.4-1% ตลอดชีวิต[5]

เหตุของโรคไม่ชัดเจน[2] ปัจจัยเสี่ยงรวมการมีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคอารมณ์สองขั้ว[3] โรคนี้ต่างกับโรคอารมณ์สองขั้วตรงที่ว่าคราวซึมเศร้า คราวฟุ้งพล่าน หรือคราวเกือบฟุ้งพล่านเต็ม ๆ ยังไม่เคยเกิด[3]

โรคปกติรักษาด้วยการให้คำปรึกษาแนะนำกับคนไข้ (counselling) และยาปรับอารมณ์ให้เสถียร (mood stabilizer) เช่น ลิเทียม[4] ประเมินว่า คน 0.4-1% มีโรคนี้ช่วงหนึ่งในชีวิต[5] โรคปกติจะเริ่มในปลายวัยเด็กจนถึงต้นวัยผู้ใหญ่[9] หญิงและชายมีโรคเท่า ๆ กัน[5]

อาการ

แก้

คนไข้ประสบกับทั้งระยะซึมเศร้าและระยะเกือบฟุ้งพล่าน (ซึ่งรุนแรงน้อยกว่าคราวเกือบฟุ้งพล่านแบบเต็ม ๆ)[3] อาการซึมเศร้าและฟุ้งพล่านในคนไข้จะคงยืนเป็นเวลาต่าง ๆ กันเพราะโรคจะไม่เสถียรและไวปฏิกิริยา[1] ระยะซึมเศร้าจะคล้ายกับที่พบในโรคซึมเศร้า มีอาการเป็นความคิดและความรู้สึกที่ไร้ชีวิตชีวา และไม่ต้องการเข้าสังคมหรือทำอะไร ๆ ที่ต้องคิด[1] คนไข้มักล้า นอนบ่อย และนอนนาน[1] แต่คนไข้คนอื่น ๆ ก็อาจนอนไม่หลับ[1]

อาการอื่น ๆ ในด้านซึมเศร้าอาจรวมความไม่สนใจผู้อื่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยสำคัญมาก[1] ความซึมเศร้ายังทำให้ตัดสินใจได้ยาก[1] อนึ่ง คนไข้มักบ่นและตำหนิ[1] ความคิดฆ่าตัวตายเป็นเรื่องสามัญแม้ในโรครูปแบบอ่อน ๆ[1] เมื่อซึมเศร้า คนไข้อาจบ่นเรื่องปัญหาทางกายอื่น ๆ รวมทั้งปวดหัว แน่นศีรษะและหน้าอก หัวรู้สึกโล่ง ๆ อ่อนล้า น้ำหนักลด และผมร่วง[1] ข้อแตกต่างระหว่างความซึมเศร้าธรรมดากับโรคนี้ก็คือ คนไข้โรคนี้มักมีอาการเกือบฟุ้งพล่านด้วย[1]

คนไข้อาจเปลี่ยนจากภาวะซึมเศร้าเป็นภาวะฟุ้งพล่านไปเฉย ๆ ทั้งช่วงเวลาและความบ่อยของระยะทั้งสองเอาแน่เอานอนไม่ได้[1] ในภาวะเกือบฟุ้งพล่าน คนไข้จะคิดได้เร็วกว่า มักเข้าสังคมกว่า และคุยมากกว่า อาจใช้จ่ายอย่างไม่ระมัดระวัง ทำอะไรไม่คิด ภูมิใจในตนเองมากขึ้น หยิ่งยโสมากขึ้น[1] แต่เมื่อเทียบกับภาวะฟุ้งพล่านปกติในโรคอารมณ์สองขั้วประเภทที่ 1 อาการในระยะฟุ้งพล่านของโรคนี้จะรุนแรงน้อยกว่า[1]

โรคที่เกิดร่วม (comorbidities)

แก้

โรคนี้เกิดร่วมกับโรคอื่น ๆ อย่างสามัญ[10] คนไข้โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และโรคที่เกี่ยวข้องกันอื่น ๆ ประมาณ 30-50% ก็มีโรคนี้ด้วย[4] เมื่อคนไข้โรคนี้ไปหาแพทย์ มักจะเป็นเพราะอาการของโรคที่เป็นร่วม ไม่ใช่เพราะโรคนี้

ในเด็กและวัยรุ่น โรคเกิดร่วมซึ่งสามัญที่สุดคือโรควิตกกังวล ปัญหาการยับยั้งชั่งใจ โรคการกิน (eating disorder) และโรคซนสมาธิสั้น (ADHD)[4] ในผู้ใหญ่ โรคมักเกิดร่วมกับปัญหาการยับยั้งชั่งใจ พฤติกรรมเที่ยวหาความสุขความตื่นเต้นมักจะเกิดในระยะฟุ้งพล่าน[10] บ่อยครั้งรวมการพนันและการมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ยับยั้งชั่งใจในชาย และการซื้อของและการกินไม่ยั้งในหญิง[10]

โรคมักจะสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้านอกแบบ (atypical depression)[10] งานศึกษาหนึ่งพบความสัมพันธ์ระหว่างความไวเรื่องในระหว่างบุคคล (interpersonal sensitivity) กับอารมณ์ที่ดีขึ้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ดีหรือที่อาจดี (mood reactivity) และกับอารมณ์สลับกันอันเป็นอาการของโรค[10] ซึ่งล้วนก็เป็นอาการของโรคซึมเศร้านอกแบบ (ปัจจุบัน DSM-5 จัดเป็นโรคซึมเศร้าที่ระบุว่ามีลักษณะนอกแบบ คือ atypical features\) โรคยังมักเกิดพร้อมกับความวิตกกังวลเหตุจากกัน (separation anxiety) เมื่อคนไข้วิตกกังวลเพราะจากกับผู้ดูแล กับเพื่อน หรือกับบุคคลที่รัก ปัญหาอื่น ๆ ที่มักเกิดร่วมรวมทั้งความวิตกกังวลในการเข้าสังคม กลัวคนอื่นไม่ยอมรับ และมักไม่เป็นมิตรกับบุคคลที่ในอดีตทำให้เจ็บหรือไม่ยอมรับ คนไข้โรคนี้มักหาเพื่อนในระยะฟุ้งพล่านและมักปลีกตัวในระยะซึมเศร้า[10] ซึ่งทั่วไปจะทำให้มีความสัมพันธ์แบบสั้น ๆ และอลวน[10]

Causes & Genetic Relationships

แก้

เหตุและพันธุกรรม

แก้

เหตุของโรคอารมณ์สองขั้วแบบต่าง ๆ รวมทั้งโรคนี้น่าจะต่าง ๆ กันระหว่างบุคคล และกลไกของโรคที่แน่นอนก็ยังไม่ชัดเจน[11] ยีนเชื่อว่ามีอิทธิพล 60-80% ต่อความเสี่ยงการเกิดโรคอารมณ์สองขั้วซึ่งแสดงว่ากรรมพันธุ์เป็นองค์ที่สำคัญ[12] ความสืบทอดได้ทางกรรมพันธุ์ของโรคสเปกตรัมอารมณ์สองขั้ว (bipolar spectrum disorder) ประเมินว่าอยู่ที่ 0.71[13]

ญาติสายโลหิตที่ใกล้ชิด (พ่อแม่ลูก) ของคนไข้โรคนี้มีโรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้วประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 บ่อยครั้งกว่าคนทั่วไป สมาชิกในครอบครัวยังเสี่ยงมีโรคเกี่ยวกับยาเสพติด (substance-related disorders) สูงกว่า พ่อแม่ลูกของคนไข้โรคอารมณ์สองขั้วประเภทที่ 1 มีโอกาสมีโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป[14]

การวินิจฉัย

แก้

คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตรุ่น 5 (DSM-5) จัดโรคนี้เป็นแบบย่อยของโรคอารมณ์สองขั้ว เกณฑ์วินิจฉัยคือ[15]

  1. มีระยะที่มีอารมณ์ครึ้มและระยะที่มีอาการซึมเศร้าอย่างน้อยครึ่งหนึ่งในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมาสำหรับผู้ใหญ่และ 1 ปีสำหรับเด็กและวัยรุ่น
  2. ระยะที่อารมณ์เสถียรคงยืนแค่สองเดือนเป็นอย่างมาก
  3. อาการเป็นปัญหาในชีวิตในด้านหนึ่งหรือยิ่งกว่า
  4. อาการไม่ผ่านเกณฑ์โรคอารมณ์สองขั้ว โรคซึมเศร้า และความผิดปกติทางจิตใจอื่น ๆ
  5. อาการไม่มีเหตุจากการใช้ยาเสพติดหรือจากโรคหรืออาการอื่น ๆ

นักวิชาการบางพวกคิดว่า เกณฑ์วินิจฉัยโรคของ DSM-5 จำกัดเกินไป[10] จึงวินิจฉัยว่าเป็นโรคน้อยเกินไป[10] คนที่มีอาการบางอย่างของโรคอาจไม่ได้การรักษาเพราะไม่ผ่านเกณฑ์ของ DSM-5[10] อนึ่ง มันทำให้สนใจโรคซึมเศร้าและโรคสเปกตรัมอารมณ์สองขั้วอื่น ๆ มากขึ้นเพราะเมื่อไม่ผ่านเกณฑ์ของโรคนี้ ก็มักวินิจฉัยเป็นโรคซึมเศร้าหรือโรคอารมณ์สองขั้วแบบอื่น ๆ[10] การวินิจฉัยไม่ถูกต้องอาจทำให้คนไข้ได้การรักษาของโรคที่เกิดร่วมอื่นแทนที่จะรักษาโรคนี้ด้วย[10] คนไข้และแพทย์พยาบาลบ่อยครั้งไม่สำนึกว่าคนไข้มีโรคนี้เพราะมีอาการอ่อนมาก

อนึ่ง โรคยังระบุและจัดหมวดได้ยาก โรคนี้บ่อยครั้งวินิจฉัยเป็นโรคอารมณ์สองขั้วแบบ "bipolar not otherwise specified" เพราะความไม่เห็นพ้องต้องกันหรือความเข้าใจผิดของแพทย์พยาบาล โรคมักสับสนกับความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (BPD) เพราะมีอาการคล้าย ๆ กัน[16] โดยเฉพาะคนไข้ปลายวัยรุ่นและต้นวัยผู้ใหญ่ คนไข้โดยมากมักไปหาหมอเพราะอาการซึมเศร้า โดยไม่สำนึกว่าอาการเกือบฟุ้งพล่านก็ผิดปกติด้วย[1] อาการฟุ้งพล่านเบา ๆ มักตีความว่าเป็นบุคลิกภาพ หรือเป็นแค่อารมณ์ดี อนึ่ง โรคนี้บ่อยครั้งปรากฏตั้งแต่วัยเด็กหรือวัยรุ่น ทำให้แยกแยะเป็นอาการของโรคหรือเป็นบุคลิกภาพได้ยาก ยกตัวอย่างเช่น บุคคลอาจคิดว่าเป็นทุกข์เพราะอารมณ์แปรปรวนโดยไม่รู้ว่า นี่เป็นภาวะทางจิตเวชอย่างหนึ่ง[10]

การรักษา

แก้

การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT) จัดว่า อาจมีผลดีสำหรับคนไข้โรคนี้[4] ยังสามารถใช้ยาเพิ่มนอกเหนือจากการบำบัดพฤติกรรม แต่ก็ควรใช้ยาปรับอารมณ์ให้เสถียร (mood stabilizer) ก่อนยาแก้ซึมเศร้า และถ้าใช้ยาแก้ซึมเศร้า ก็ควรทำด้วยความระมัดระวัง[4] เพราะอาจชักนำให้เกิดภาวะเกือบฟุ้งพล่านหรืออารมณ์สลับอย่างรวดเร็ว[4]

ประวัติ

แก้

ในปี 1883 จิตแพทย์ชาวเยอรมัน Karl Ludwig Kahlbaum ระบุโรคที่มีอาการเป็นอารมณ์หมุนเวียนซึ่งเกิดซ้ำ ๆ โรคมีทั้งระยะซึมเศร้าและระยะฟุ้งพล่านโดยมีอาการอ่อนกว่าที่พบในโรคอารมณ์สองขั้ว[17] หมอและลูกศิษย์ซึ่งเป็นจิตแพทย์ชาวเยอรมันอีกท่านคือ Ewald Hecker ได้บัญญัติชื่อโรคว่า cyclothymia[1] หมอพัฒนาทฤษฎีโรคจากงานที่ทำกับคนไข้ผู้มีอาการดังกล่าว[1] หมอมีชื่อว่าเป็นนักสะกดจิตบำบัดและนักจิตบำบัดชั้นนำในสมัยนั้น[1] มีความคิดก้าวหน้าในเรื่องสุขภาพจิต โดยเชื่อว่า ความเจ็บป่วยทางจิตใจไม่ควรเป็นมลทินทางสังคมและควรปฏิบัติกับคนไข้ผู้มีปัญหาทางจิตใจอย่างเมตตากรุณา[1] หมอเป็นคนแรกที่เขาใจว่า คนไข้โรคนี้ปกติไม่ไปหาแพทย์เพราะโรคมีอาการอ่อน[1]

โรคมองได้หลายรูปแบบรวมทั้งเป็นรูปแบบย่อยของโรคอารมณ์สองขั้ว เป็นพื้นอารมณ์แต่กำเนิด (temperament) เป็นลักษณะทางบุคลิกภาพ (personality trait) และเป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพ[18] มีการเสนอด้วยว่าควรจัดเป็นความผิดปกติของพัฒนาการทางประสาท (neurodevelopmental disorder)[4] ตาม DSM-5 ลักษณะสองอย่างของโรคนี้ก็คือการมีระยะซึมเศร้าและระยะเกือบฟุ้งพล่าน และยังจัดเป็นรูปแบบย่อยของโรคอารมณ์สองขั้ว แต่นักวิชาการบางส่วนก็ไม่เห็นด้วยและอ้างว่า มันควรจัดโดยหลักเป็นอารมณ์เกินส่วน (exaggeration of mood) และเป็นอารมณ์ไม่เสถียร (emotional instability)[10] ในอดีต โรคเคยระบุว่ามีอาการอื่น ๆ เช่น อารมณ์ที่ดีขึ้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ดีหรืออาจดี (mood reactivity) ความไม่ยับยั้งชั่งใจ (impulsivity) และความวิตกกังวล[10]

วิทยาการระบาด

แก้

โรคนี้ซึ่งเรียกใน DSM-5 ว่าเป็น cyclothymic disorder มักจะวินิจฉัยน้อยเกินเพราะอาการไม่รุนแรง[10] อัตราการเกิดโรคยังไม่ได้ศึกษาอย่างละเอียด[10] งานศึกษาบางงานประเมินว่า คนประมาณ 5-8% จะเกิดโรคในช่วงชีวิตเทียบกับงานศึกษาอื่น ๆ ที่ระบุอัตราระหว่าง 0.4-2.5%[10] ชายเป็นเท่ากับหญิง[3] แต่หญิงมีโอกาสได้การรักษามากกว่า[10] คนไข้ที่มีอาการซึมเศร้าในแผนกผู้ป่วยนอกของสถานพยาบาลทางจิตเวช 50% ได้วินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้[10]

รากศัพท์

แก้

คำว่า cyclothymia มาจากคำภาษากรีกว่า κυκλοθυμία (จากคำว่า κῦκλος คือ kyklos แปลว่า หมุนรอบ/วน[19] และจากคำว่า θυμός คือ thymos แปลว่า อารมณ์[20]) ดังนั้น จึงหมายความว่า "หมุนเวียนหรือหมุนรอบอารมณ์ต่าง ๆ"

งานวิจัย

แก้

ประเด็นว่าแบบย่อย ๆ ของโรคอารมณ์สองขั้วเช่นโรคนี้ เป็นโรคต่างหาก ๆ หรือเป็นสเปกตรัมของโรคอารมณ์สองขั้ว ยังเป็นเรื่องที่ยังถกเถียงกันอยู่ในหมู่นักวิชาการ โรคนี้มักไม่กล่าวถึงในงานวิจัยและไม่ค่อยวินิจฉัย จึงทำให้แพทย์พยาบาลไม่ค่อยเข้าใจโรคนี้ การไม่กล่าวถึงในสถานการณ์ทั้งสองเช่นนี้แสดงว่า คงจะวินิจฉัยโรคเป็นความผิดปกติทางอารมณ์อีกอย่างหนึ่ง หรือเป็นโรคทางจิตเวชที่ไม่เกี่ยวกับอารมณ์ (non-affective psychiatric disorder) หรือไม่ก็ไม่ได้รับความสนใจทั้งทางวิทยาศาสตร์และการตรวจรักษา[21] ซึ่งอาจเป็นเพราะเกณฑ์วินิจฉัยไม่ชัดเจน หรือเพราะลักษณะของโรคยังเป็นเรื่องไม่ลงตัว อนึ่ง เกณฑ์วินิจฉัยปัจจุบันเน้นความคงยืนของอาการ จึงแสดงว่ามันเป็นลักษณะที่คงยืน ไม่ใช่ภาวะทางจิตใจ และดังนั้น จึงอ้างว่า ควรวินิจฉัยเป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพแทน เนื่องจากอาการมักจะคาบเกี่ยวกับความผิดปกติทางอารมณ์ ความสมเหตุสมผลและความแตกต่างระหว่างหมวดวินิจฉัยสองอย่างนี้จึงยังเป็นเรื่องถกเถียง[22]

ท้ายสุด เพราะโรคมักเกิดร่วมกับความผิดปกติทางจิตใจอื่น ๆ จึงทำให้วินิจฉัยได้ยาก[21] ปัญหาเหล่านี้จึงทำให้นักวิชาการและแพทย์ผู้รักษาไม่เห็นพ้องกันในเรื่องนิยามของโรคและความสัมพันธ์ของมันกับความผิดปกติทางจิตใจอื่น ๆ ความไม่เห็นพ้องในเรื่องนิยามเชิงปฏิบัติการ (operational definition) และอาการแสดง จะปรากฏเด่นเป็นพิเศษในเด็กและวัยรุ่น เพราะเกณฑ์วินิจฉัยยังไม่ได้ปรับใช้กับระดับพัฒนาการของเด็ก ๆ อย่างเพียงพอ[23]

ดูเพิ่ม

แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง

แก้
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 1.20 Koukopoulos, A (January 2003). "Ewald Hecker's description of cyclothymia as a cyclical mood disorder: its relevance to the modern concept of bipolar II". Journal of Affective Disorders. 73 (1–2): 199–205. doi:10.1016/S0165-0327(02)00326-9. PMID 12507752.
  2. 2.0 2.1 "Cyclothymia". nhs.uk. 2017-10-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-29. สืบค้นเมื่อ 2018-05-20.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 DSM-5 (2013)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 Perugi, G; Hantouche, E; Vannucchi, G (April 2017). "Diagnosis and Treatment of Cyclothymia: The "Primacy" of Temperament". Current Neuropharmacology. 15 (3): 372–379. doi:10.2174/1570159X14666160616120157. PMC 5405616. PMID 28503108.
  5. 5.0 5.1 5.2 DSM-5 (2013), Prevalence, p. 140 "The lifetime prevalence of cyclothymic disorder is approximately 0.4%-1%. Prevalence in mood disorders clinics may range from 3% to 5%."
  6. "cy·clo·thy·mic", Merriam-Webster Collegiate Dictionary (11th ed.), Springfield, Massachusetts, USA: Merriam-Webster, Inc., 2003, Pronunciation: ˌsī-klə-'thī-mik ... -cy·clo·thy·mia \-'thī-mē-ə\ noun
  7. 7.0 7.1 DSM-5 (2013), Diagnostic Criteria, p. 139 "A. For at least 2 years (at least 1 year in children and adolescents) there have been numerous periods with hypomanic symptoms that do not meet criteria for a hypomanic episode and numerous periods with depressive symptoms that do not meet criteria for a major depressive episode"
  8. DSM-5 (2013), Diagnostic Criteria, p. 139 "C. Criteria for a major depressive, manic, or hypomanic episode have never been met."
  9. DSM-5 (2013), Development and Course, pp. 140-141
  10. 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09 10.10 10.11 10.12 10.13 10.14 10.15 10.16 10.17 10.18 10.19 Perugi, G; Hantouche, E; Vannucchi, G; Pinto, O (2015-09-01). "Cyclothymia reloaded: A reappraisal of the most misconceived affective disorder". Journal of Affective Disorders. 183: 119–33. doi:10.1016/j.jad.2015.05.004. PMID 26005206.
  11. Nierenberg, AA; Kansky, C; Brennan, BP; Shelton, RC; Perlis, R; Iosifescu, DV (January 2013). "Mitochondrial modulators for bipolar disorder: a pathophysiologically informed paradigm for new drug development". Aust N Z J Psychiatry. 47 (1): 26–42. doi:10.1177/0004867412449303. PMID 22711881.
  12. Kerner, B (February 2014). "Genetics of bipolar disorder". Appl Clin Genet. 7: 33–42. doi:10.2147/tacg.s39297. PMC 3966627. PMID 24683306.
  13. Edvardsen, J; Torgersen, S; Røysamb, E; Lygren, S; Skre, I; Onstad, S; Oien, PA (2008). "Heritability of bipolar spectrum disorders. Unity or heterogeneity?". Journal of Affective Disorders. 106 (3): 229–240. doi:10.1016/j.jad.2007.07.001. PMID 17692389.
  14. DSM-5 (2013), Risk and Prognostic Factors, p. 141
  15. DSM-5 (2013), Diagnostic Criteria, pp. 139-140
  16. Kaplan & Sadock’s Comprehensive Textbook of Psychiatry (2017), 13.1 Mood Disorders: Historical Introduction and Conceptual Overview => Dysthymia and Cyclothymia. "It is not always easy to demarcate full-blown syndromal episodes of depression and mania from their subthreshold counterparts commonly observed during the interepisodic periods. The subthreshold conditions appear to be fertile terrain for interpersonal conflicts and postaffective pathological character developments that may ravage the lives of patients and their families. In North America and some Western European countries many such patients end up being labeled with borderline personality disorder, which, unfortunately, often tends to obscure the affective origin of the presenting psychopathology."
    • Commentary on Hecker and his work: Baethge, C; Salvatore, P; Baldessarini, RJ (September 2003). "Cyclothymia, a circular mood disorder". History of Psychiatry. 14 (55 Pt 3): 377–390. doi:10.1177/0957154X030143008. PMID 14621693.
    • New translation of Hecker's 1898 paper: Hecker, Ewald; Salvatore, P; Baldessarini, R. J. (September 2003). "Classic Text No 55: Cyclothymia, a Circular Mood Disorder by Hecker, 1898". History of Psychiatry. 14 (55 Pt 3): 391–399. doi:10.1177/0957154X030143008. PMID 14621693.
  17. Parker, G; McCraw, S; Fletcher, K (June 2012). "Cyclothymia". Depression and Anxiety. 29 (6): 487–94. doi:10.1002/da.21950. PMID 22553122.
  18. Liddell, Henry George; Scott, Robert. "κύκλος". A Greek-English Lexicon, on Perseus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-29.
  19. Liddell, Henry George; Scott, Robert. "θυμός". A Greek-English Lexicon, on Perseus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-29.
  20. 21.0 21.1 Danner, Stephanie; Fristad, Mary A; Arnold, L Eugene; Youngstrom, Eric A; Birmaher, Boris; Horwitz, Sarah M; Demeter, Christine; Findling, Robert L; Kowatch, Robert A (2009). "Early-Onset Bipolar Spectrum Disorders: Diagnostic Issues". Clinical Child and Family Psychology Review. 12 (3): 271–93. doi:10.1007/s10567-009-0055-2. PMC 3575107. PMID 19466543.
  21. Sass, H.; Juneman, K. (2003). "Affective disorders, personality and personality disorders". Acta Psychiatr Scand. 108 (418): 34–40. doi:10.1034/j.1600-0447.108.s418.8.x. PMID 12956812.
  22. Avenevoli, Shelli (2009). "Bipolar Disorder in Children and Adolescents: New Data to Inform Classification". NIMH (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-27. สืบค้นเมื่อ 2018-04-26.

อ้างอิงอื่น ๆ

แก้
  • American Psychiatric Association (2013), "Cyclothymic Disorder", Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (5th ed.), Arlington: American Psychiatric Publishing, pp. 139–141, ISBN 978-0890425558
  • Sadock, Benjamin; Sadock, Virginia; Ruiz, Pedro, บ.ก. (2017). "13. Mood Disorders". Kaplan and Sadock's Comprehensive Textbook of Psychiatry (10th ed.). New York: Wolters Kluwer.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
การจำแนกโรค