โรคเหตุอาชีพ
โรคเหตุอาชีพ, โรคที่เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับการทำงาน, โรคภัยเนื่องจากอาชีพ, หรือ โรคจากการทำงาน (อังกฤษ: occupational disease) ได้แก่โรคใดๆ (อาจเป็นได้ทั้งโรคเฉียบพลันหรือโรคเรื้อรัง) อันมีสาเหตุเนื่องจากการประกอบอาชีพ หรือการดำเนินกิจกรรมอื่นใดซึ่งเกี่ยวเนื่องกับอาชีพ ทั้งนี้ สิ่งคุกคามสุขภาพในการทำงาน (อังกฤษ: occupational hazard) ที่มีลักษณะทำให้เกิดการบาดเจ็บ (อังกฤษ: trauma) เช่น การตกจากที่สูงของคนงาน จัดเป็นการบาดเจ็บจากการทำงาน (occupational injury)ไม่จัดเป็นโรคเหตุอาชีพ
โรคเหตุอาชีพ (occupational disease) | |
---|---|
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
MeSH | D009784 |
โรคเหตุอาชีพอันเป็นที่รู้จักมาก เป็นต้นว่า
- โรคปอดใยหิน (อังกฤษ: pulmonary asbestosis) ซึ่งมักเกิดกับผู้ใช้แรงงานในฉนวนแร่ใยหินเปราะบาง (อังกฤษ: friable asbestos insulation)
- ภาวะฝุ่นจับปอด (อังกฤษ: pneumoconiosis) ซึ่งเกิดจากแร่ชนิดต่างๆ เช่น โรคปอดฝุ่นหิน โรคปอดฝุ่นเหล็ก
- กลุ่มอาการอุโมงค์ข้อมือ (อังกฤษ: median neuropathy at the wrist หรือ carpal tunnel syndrome) ซึ่งมักเกิดกับผู้ประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก
- โรคปวดหลังส่วนล่าง ในผู้ประกอบอาชีพที่ต้องยกของหนักหรือทำงานก้มๆ เงยๆ
- โรคผิวหนังอักเสบ จากการแพ้หรือระคายเคืองสารเคมีที่ใช้ในการทำงาน
- โรคขากรรไกรตายเหตุฟอสฟอรัส (อังกฤษ: phossy jaw) เช่นที่เกิดในเหตุการณ์ประท้วงของผู้จำหน่ายไม้ขีดไฟในกรุงลอนดอนเมื่อ พ.ศ. 2431 โดยการประท้วงดังกล่าวสืบเนื่องมาจากภาวะค่าแรงงานต่ำของผู้จำหน่ายไม้ขีดไฟ และบุคคลดังกล่าวยังประสบปัญหาทางสุขภาพอันเป็นผลมาจากฟอสฟอรัสเหลืองหรือฟอสฟอรัสขาวที่ได้สัมผัสอีกด้วย[1]
- โรคขากรรไกรตายเหตุรังสี (อังกฤษ: radium jaw)
อ้างอิง
แก้- ↑ Emsley, John (2000). The Shocking History of Phosphorus: A Biography of the Devil's Element. Macmillan. ISBN 0-333-76638-5.