โรคหน้าที่[1][2] หรือ ความผิดปกติเชิงหน้าที่ (อังกฤษ: functional disorder, functional disease, functional illness[2]) เป็นความผิดปกติที่มีอาการแต่ไม่สามารถกำหนดเหตุทางกายได้[2][A] เป็นภาวะทางการแพทย์ที่ขัดกับการทำหน้าที่ปกติของกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายแต่ตรวจไม่เจอความผิดปกติเมื่อตรวจร่างกาย เมื่อตัดเนื้อออกตรวจ หรือแม้แต่เมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ภายนอกจะไม่ปรากฏอะไรที่ผิดปกติ เทียบกับโรคโครงสร้าง/โรคกาย (structural disorder/organic disorder) ที่จะเห็นบางส่วนของร่างกายว่าผิดปกติ หรือโรคกายเหตุจิต (psychosomatic disorder) ที่มีเหตุจากความเจ็บป่วยทางจิตใจ แต่นิยามต่าง ๆ ที่ใช้ก็ยังต่าง ๆ กันในวงการแพทย์ โดยทั่วไป กลไกที่เป็นเหตุให้เกิดโรคเชิงหน้าที่ไม่ชัดเจน มีความเข้าใจน้อย หรือบางครั้งไม่สำคัญในการรักษา สมองหรือระบบประสาทบ่อยครั้งเชื่อว่ามีบทบาท คนไข้ที่มีโรคหน้าที่ชนิดหนึ่งก็จะมีชนิดอื่น ๆ อีกด้วยอย่างสามัญ

สถานะ

แก้

โรคทางการแพทย์จะเรียกว่าโรคทางหน้าที่หรือไม่ โดยส่วนหนึ่งจะขึ้นอยู่กับความรู้ที่มี โรคบางชนิดรวมทั้งโรคลมชัก โรคจิตเภท และไมเกรน ครั้งหนึ่งเคยจัดว่าเป็นโรคหน้าที่ แต่ปัจจุบันก็ไม่ได้จัดอย่างนั้นแล้ว[4]

ตัวอย่าง

แก้

ตัวอย่างของโรคที่ยังไม่ปรากฏเหตุทางกายรวมทั้ง

ดูเพิ่ม

แก้

เชิงอรรถ

แก้
  1. ไม่สามารถกำหนดเหตุทางสรีรภาพหรือทางกายวิภาคได้[3]

อ้างอิง

แก้
  1. "functional disease", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) โรคหน้าที่,
    "disorder", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (จิตเวช) โรค, ความผิดปรกติ
  2. 2.0 2.1 2.2 "functional disorder", Physicians' Desk Reference, 2006, ISBN 978-1563635267, a disease characterized by physical symptoms with no known or detectable organic basis. See behavior d., neurosis. SYN: functional disease, functional illness.
  3. "functional disroder", WordNet 2.0, มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน, 2003, disorder showing symptoms for which no physiological or anatomical cause can be identified
  4. Natelson, Benjamin H. (1998). Facing and fighting fatigue: a practical approach. New Haven, Conn: Yale University Press. p. 33. ISBN 0-300-07401-8.