โคเซ ทานากะ

นักมวยชาวญี่ปุ่น

โคเซ ทานากะ (ญี่ปุ่น: 田中恒成โรมาจิTanaka Kōsei) นักมวยสากลชาวญี่ปุ่น เป็นนักมวยสากลชาวญี่ปุ่นที่ชกน้อยครั้งที่สุดแล้วได้ตำแหน่งแชมป์โลกในปัจจุบัน และเป็นนักมวยชาวเอเชียคนแรกที่ชกน้อยครั้งที่สุดที่สามารถคว้าแชมป์โลกได้ 3 รุ่น

โคเซ ทานากะ
เกิดโคเซ ทานากะ
15 มิถุนายน พ.ศ. 2538 (29 ปี)
ทาจิมิ ประเทศญี่ปุ่น
สัญชาติญี่ปุ่น
ชื่ออื่น中京の怪物 (โรมาจิ : Chukyo no Kaibutsu) ไทย​ : สัตว์ประหลาดแห่งชูเกียว[1]
KO Dream Boy
สถิติ
น้ำหนัก
ส่วนสูง164 เซนติเมตร (5 ฟุต 5 นิ้ว)
ช่วงชก161 เซนติเมตร
รูปแบบการชกดั้งเดิม
สถิติขึ้นชก
ชกทั้งหมด18
ชนะ17
ชนะน็อก10
แพ้1 (น็อก)
รายการเหรียญรางวัล
มวยสากลสมัครเล่นชาย
ตัวแทนของ ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ชิงแชมป์เยาวชนเอเชีย
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2013 ซูบิกเบย์ ไลท์ฟลายเวท

ประวัติ

แก้

เป็นบุตรคนกลางของครอบครัว มีพี่ชายและน้องสาวอย่างละ 1 มีชื่อว่าเรียวเม ทานากะ เป็นนักมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติญี่ปุ่น เจ้าของตำแหน่งเหรียญทองแดง กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ในรุ่นฟลายเวท[2] และอันนะ ทานากะ[3] กับลูกพี่ลูกน้อง 1 คน คือ ยูฮานะ โยโคอิ เป็นนักกีฬาสเกตลีลา[4] บิดามีชื่อว่า ฮิโทชิ ทานากะ ในวัยเด็กเคยประสบปัญหากับโรคหัวกระดูกต้นขาแบน

จบการศึกษาระดับมัธยมปลาย จากโรงเรียนมัธยมชูเกียว และระดับอุดมศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยชูเกียว[5]

เริ่มต้นจากการชกมวยสากลสมัครเล่นตั้งแต่ช่วงมัธยมภายใต้การฝึกสอนของ ฮิเดยาซุ อิชิฮาระ นักมวยอดีตแชมป์ OPBF รุ่นซูเปอร์ฟลายเวท ได้ชนะการแข่งขันระดับมัธยมปลายหลายครั้ง จนติดทีมมวยสากลสมัครเล่นชุดเยาวชนทีมชาติญี่ปุ่น เริ่มแข่งขันระดับนานาชาติตั้งแต่ พ.ศ. 2555 โดยได้เข้ารอบก่อนรองชนะเลิศมวยสากลเยาวชนเยาวชนชิงแชมป์โลก 2012 และเหรียญเงินมวยสากลชิงแชมป์เยาวชนทวีปเอเชีย 2013 รุ่นไลท์ฟลายเวท​ สถิติการชกมวยสากลสมัครเล่น ชนะ 46 ครั้ง (อาร์เอสซี 13 ครั้ง) แ​พ้ 5 ครั้ง

เมื่อเปลี่ยนมาชกมวยสากลอาชีพได้สังกัดค่าย "SOUL BOX ฮาทานากะ" ของคิโยชิ ฮาทานากะ อดีตแชมป์โลก WBC รุ่นจูเนียร์เฟเธอร์เวท จนได้ชิงแชมป์ OPBF รุ่นมินิมัมเวท กับรีวจิ ฮาระ นักมวยเจ้าของแชมป์ชาวญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน เขาได้สร้างสถิตินักมวยญี่ปุ่นชกน้อยครั้งที่สุดแล้วได้แชมป์ในสถาบันนี้ (4 ครั้ง) ผลการชกเป็นฝ่ายชนะทีเคโอรีวจิในยก 10 ที่โตเกียว[6] โคเซมีเพลงที่เปิดประกอบในช่วงเวลาเดินขึ้นเวทีประจำตัวของตัวเอง คือ "I Was Born to Love You"[7] ในอัลบั้ม​ Mr. Bad Guy โดยเฟรดดี เมอร์คูรี

ต่อมาได้ชิงแชมป์โลก WBO (ที่ว่าง) รุ่นมินิฟลายเวท ในฐานะรองแชมป์โลก WBO อันดับ 2 ในรุ่น กับ ฆูเลียน เยรดรัส นักมวยรองแชมป์โลก WBO อันดับ 1 ชาวเม็กซิโก กำหนดชกวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ที่โคมากิ ถ้าทำสำเร็จจะเป็นนักมวยสากลชาวญี่ปุ่นที่ทำสถิติการชกน้อยที่สุดแล้วได้เป็นแชมป์โลกคือ 5 ครั้ง (ทำลายสถิติเดิมของนาโอยะ อิโนอูเอะ ใน พ.ศ. 2557 ที่ชก 6 ครั้ง[8]) ผลการชกโคเซ ทานากะ ชนะคะแนนเอกฉันท์ได้เป็นแชมป์โลกครั้งแรก[9]

โคเซ ทานากะป้องกันตำแหน่ง 1 ครั้ง สละตำแหน่งในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559[10] แล้วเลื่อนน้ำหนักไปชกในรุ่นจูเนียร์ฟลายเวท เพื่อชิงแชมป์โลก WBO รุ่นเดียวกันจากตำแหน่งว่าง กับ มอยเซส ฟูเอนเตส นักมวยรองแชมป์โลก WBO อันดับ 1 รุ่นจูเนียร์ฟลายเวท และอดีตแชมป์โลก WBO รุ่นมินิฟลายเวท ชาวเม็กซิโก การแข่งขันจัดขึ้นในวันสิ้นปี พ.ศ. 2559 เมืองกิฟุ ผลการชกชนะทีเคโอมอยเซสในยกที่ 5 ได้แชมป์โลกเป็นรุ่นที่ 2 มาครอง ภายในการชก 8 ครั้ง[11]

ในการเป็นแชมป์โลกรุ่นนี้ได้ป้องกันตำแหน่งได้ 2 ครั้ง ในการป้องกันครั้งที่ 2 ได้ป้องกันกับนักมวยชาวไทย คือ พลังพล ซีพีเฟรชมาร์ท นักมวยรองแชมป์โลก WBO อันดับ 13 เป็นคู่มวยร่วมรายการกับคู่มวยป้องกันแชมป์โลก IBF รุ่นจูเนียร์เฟเธอร์เวท ระหว่าง ยูกิโนริ โองูมิ กับ เรียวซูเกะ อิวาซะ จัดขึ้นวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2560 ที่โอซากะ[12] โดยคู่ของโคเซ ทานากะ กับพลังพลเป็นคู่เริ่มรายการก่อน

ผลการชกในการชกครั้งนั้น สามารถชนะทีเคโอพลังพลได้ในยก 9 ป้องกันตำแหน่งไว้ได้ ภายหลังการชกเสร็จได้ถูกส่งโรงพยาบาลเข้ารับการรักษาในวันเดียวกัน[13]

หลังการตรวจรักษาพบว่ามีอาการกระดูกเบ้าตาแตกทั้ง 2 ข้างทำให้ต้องพักรักษาอาการบาดเจ็บเป็นระยะเวลาหนึ่ง และต้องยกเลิกการชกล้มแชมป์โลกที่มีกำหนดในวันสิ้นปี 2560 กับเรียวอิจิ ทางูจิ แชมป์โลก WBA รุ่นเดียวกันชาวญี่ปุ่น[14]

ต่อมาได้สละตำแหน่งเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560[15] เพื่อเลื่อนน้ำหนักไปชกในรุ่นฟลายเวทและได้ชิงแชมป์โลกสถาบันเดิมกับนักชกเจ้าของแชมป์โลกชาวญี่ปุ่นด้วยเดียวกันคือ "โช คิมูระ" การชกจัดในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561 ที่นาโงยะ ในก่อนหน้านั้นโช คิมูระ ได้ไปชิงแชมป์โลกรุ่นนี้เป็นฝ่ายชนะทีเคโอยก 11 โจว ซื่อหมิง ถึงประเทศจีน ประเทศบ้านเกิดเจ้าของแชมป์โลก[16]

ผลการชกเป็นฝ่ายชนะคะแนนต่อคิมูระได้แชมป์โลกมาครองเป็นรุ่นที่ 3 นับเป็นนักมวยชาวเอเชียคนแรกที่ได้แชมป์โลกของ WBO ถึงสามรุ่น และเป็นนักมวยสากลที่ชกน้อยครั้งที่สุดแล้วได้เป็นแชมป์โลก 3 รุ่น ในการชก 12 ครั้ง (เทียบเท่ากับ วาซีล โลมาเชนโก)​ โดยไม่เคยแพ้และเสมอใคร[17] และการชกในครั้งนี้ได้รับรางวัลคู่มวยแห่งปี 2561 จากคณะกรรมการมวยสากลญี่ปุ่น (JBC)[18]

โคเซสามารถป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกในรุ่นนี้ได้ 3 ครั้ง ต่อมา WBO ได้มอบตำแหน่งซูเปอร์แชมป์ให้[19] โคเซได้สละตำแหน่งแชมป์โลก WBO รุ่นฟลายเวทเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563[20] โดยเลื่อนน้ำหนักไปชกในรุ่นซูเปอร์ฟลายเวท เป้าหมายเพื่อชิงแชมป์โลกในรุ่นนี้กับ คาซูโตะ อิโอกะ นักมวยแชมป์โลก WBO รุ่นเดียวกันชาวญี่ปุ่น ที่สามารถสร้างประวัติศาสตร์เป็นนักมวยสากลชายชาวญี่ปุ่นคนแรกที่สามารถครองแชมป์โลกได้ 4 รุ่น เมื่อ พ.ศ. 2562 เพื่อทำสถิติเป็นแชมป์โลก 4 รุ่นเทียบเท่ากับคาซูโตะ

การชกชิงแชมป์โลกกำหนดชกในวันสิ้นปี พ.ศ. 2563 ที่โตเกียว ตั้งแต่หลังการชกป้องกันตำแหน่งในวันสิ้นปี พ.ศ. 2562 นักมวยทั้ง 2 คนไม่มีรายการชกใดเลยสืบเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศญี่ปุ่น ผลการชกโคเซเป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอในยก 8 ชิงแชมป์โลกไม่สำเร็จและเป็นการแพ้ครั้งแรกในการชกมวยสากลอาชีพ[21]

เกียรติประวัติ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "中京の怪物"田中が王者高山とスパー". Nikkan Sport. 1 July 2014. สืบค้นเมื่อ 7 March 2021.
  2. RYAN SONGALIA (4 August 2021). "PHILIPPINES' CARLO PAALAM OUTCLASSES RYOMEI TANAKA, FACES GREAT BRITAIN'S GALAL YAFAI IN FLYWEIGHT FINAL". The Ring. สืบค้นเมื่อ 7 August 2021.
  3. "田中恒成の兄・亮明手記…幼少期強制で空手 格闘一家のプライド守った". Hochi. 17 March 2019. สืบค้นเมื่อ 19 June 2021.
  4. "10 facts you probably didn't know about...Kosei Tanaka". Asianboxing. 29 September 2019. สืบค้นเมื่อ 19 June 2021.
  5. https://mobile.twitter.com/KOsei530/status/1107904058122067968
  6. "田中恒成が4戦目でOPBF戴冠 原を10回TKO". Boxingnews. 30 October 2014. สืบค้นเมื่อ 7 March 2021.
  7. "【ボクシング】やっぱり"モノが違う"!". BBM Sports. 11 March 2021. สืบค้นเมื่อ 4 November 2021.
  8. "Inoue becomes WBC champ in only sixth pro fight". Bangkok Post. 7 April 2014. สืบค้นเมื่อ 7 March 2021.
  9. JAKE DONOVAN (30 May 2015). "Tanaka Decisions Yedras, Claims Belt in 5th Pro Fight". Boxingscene. สืบค้นเมื่อ 3 June 2021.
  10. "田中恒成がミニマム級王座返上、年内2階級制覇へ". boxingnews. 7 April 2016. สืบค้นเมื่อ 25 April 2021.
  11. Joe koizumi; Fightnewsasia Staff (31 December 2016). "Tanaka win second world belt by stopping Fuentes". Fightnewsasia. สืบค้นเมื่อ 3 June 2021.
  12. "Tanaka and Iwasa Big wins in Japan". LATINBOXSPORTS. 13 September 2017. สืบค้นเมื่อ 7 March 2021.
  13. ""ทานากะ"ช้ำหนักแม้ชนะน็อก"พลังพล"". คมชัดลึก. 14 September 2017. สืบค้นเมื่อ 7 March 2021.
  14. "田中恒成は年内統一戦白紙 眼窩底骨折で安静必要". nikkansports. 20 September 2017. สืบค้นเมื่อ 25 April 2021.
  15. Joe Koizumi (30 November 2017). "WBO 108lb champ Tanaka renounces his belt". Boxing News. สืบค้นเมื่อ 25 April 2021.
  16. "Chinese superstar Zou Shiming shocked, TKO'd by Sho Kimura in front of home fans". worldboxingnews. 29 July 2017. สืบค้นเมื่อ 30 April 2021.
  17. Dan Rafael (25 September 2018). "Kosei Tanaka takes flyweight title from Sho Kimura with majority decision". ESPN. สืบค้นเมื่อ 6 March 2021.
  18. Anson Wainwright (8 September 2019). "NAOYA INOUE NAMED JAPAN'S BOXER OF THE YEAR". The Ring. สืบค้นเมื่อ 24 June 2021.
  19. "WBOが田中恒成をスーパー王者に認定". Boxing news. 14 January 2020. สืบค้นเมื่อ 4 November 2021.
  20. "田中恒成がフライ級王座返上 2020年は4階級制覇へ". Boxing news. 4 February 2020. สืบค้นเมื่อ 25 April 2021.
  21. Liam Happe (1 January 2021). "KAZUTO IOKA HALTS KOSEI TANAKA TO RETAIN WBO SUPER-FLYWEIGHT TITLE". DAZN. สืบค้นเมื่อ 7 March 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้