โคลชิซีน (Colchicine) เป็นสารกลุ่มอัลคาลอยด์ พบมากในดองดึง ในทางการแพทย์นำมาใช้รักษาโรคเกาต์ ไขข้ออักเสบ ส่วนในทางด้านพันธุศาสตร์และการปรับปรุงพันธุ์พืช นำมาใช้ในการเพิ่มชุดโครโมโซมของพืชเพราะมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเส้นใยสปินเดิลระหว่างการแบ่งนิวเคลียส ทำให้โครโมโซมไม่แยกตัว[1]

โคลชิซีน
ข้อมูลทางคลินิก
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • X
ช่องทางการรับยายาเม็ดชนิดรับประทาน
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • RX/POM
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ9.3–10.6 ชั่วโมง
การขับออกส่วนหลักในอุจจาระ, ปัสสาวะ 10–20%
ตัวบ่งชี้
  • N-​[(7S)-​1,​2,​3,​10-​tetramethoxy-​9-​oxo-​5,​6,​7,​9-​tetrahydrobenzo​[a]​heptalen-​7-​yl]​acetamide
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
ChemSpider
ECHA InfoCard100.000.544
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC22H25NO6
มวลต่อโมล399.437 g·mol−1
สารานุกรมเภสัชกรรม

การสังเคราะห์

แก้

การสังเคราะห์โคลชิซีนเกี่ยวข้องกับกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีนและไทโรซีน การให้ tyrosine-2-C14 ที่ติดฉลากด้วยสารกัมมันตภาพรังสี แก่ Colchicum autumnale จะพบสารกัมมันตภาพรังสีในโครงสร้างที่เป็นวงของโคลชิซีน การให้ฟีนิลอะลานีนที่ติดฉลากด้วยสารกัมมันตภาพรังสีแก่ Colchicum byzantinum จะพบสารกัมมันตภาพรังสีในโคลชิซีนเช่นกัน[2] อย่างไรก็ตาม วงโทรโปโลนของโคลชิซีนมาจากการแผ่ขยายของวงไทโรซีน

การศึกษาทางด้านกัมมันตภาพรังสีต่อมาในต้น Colchicum autumnale แสดงให้เห็นว่า โคลชิซีนสร้างมาจาก (S)-Autumnalineวิถีการสังเคราะห์เกิดขึ้นด้วยปฏิกิริยา para-para phenolic coupling reaction ที่มีเมตาบอไลท์เป็น isoandrocymbine ซึ่งจะเปลี่ยนต่อไปด้วย O-methylation ได้เป็นS-Adenosylmethionine (SAM) ขั้นตอนออกซิเดชันสองขั้นตอนตามมาด้วยการแยกวง cyclopropane ทำให้ได้วงโทรโปโลน จากนั้นเกิด oxidative demethylation ทำให้ได้ deacetylcolchicine โมเลกุลของ colchicine เกิดขึ้นหลังจากการเติม acetyl-Coenzyme A ได้เป็น deacetylcolchicine[3][4]

 

การใช้งานทางเภสัชวิทยา

แก้

กลไกการออกฤทธิ์

แก้

โคลชิซีนยับยั้งการเกิดโพลีเมอร์ของไมโครทูบูล โดยเข้าไปจับกับทูบูลิน ทำให้ไม่เกิดไมโครทูบูล ทำให้สารนี้เป็นพิษต่อกระบวนการแบ่งเซลล์ โดยยับยั้งการทำงานของเส้นใยสปินเดิล[5] ทำให้นำมาใช้งานทางด้านการศึกษาพันธุศาสตร์ของเซลล์ เช่น การศึกษาคาริโอไทป์

การใช้เป็นยา

แก้

โคลชิซีนสามารถยับยั้งการเคลื่อนที่และการทำงานของนิวโตรฟิล จึงยับยั้งการอักเสบได้ จึงใช้เป็นยาแก้อักเสบสำหรับการรักษา Behçet's disease ในระยะยาว[6] ใช้รักษา constipation-predominant irritable bowel syndrome ในผู้หญิง[7] และใช้รักษา persistent aphthous stomatitis (canker sores)[8]

ความเป็นพิษ

แก้

ความเป็นพิษของโคลชิซีนเทียบได้กับความเป็นพิษของสารหนู อาการเกิดขึ้นภายใน 2–5 ชั่วโมงหลังจากที่ยาในปริมาณที่เป็นพิษถูกย่อย มีรอยไหม้ที่ปากและคอหอย อาเจียน ระคายเคือง เป็นไข้ อาการปวดและไตวาย การทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะหลายระบบ เกิดขึ้นภายใน 24–72 ชั่วโมง จนทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ยังไม่มียาต้านฤทธิ์โคลชิซีนโดยตรง แต่มีการรักษาหลายวิธีที่ได้ผล[9]

การใช้งานทางพฤกษศาสตร์

แก้

การเคลื่อนที่ของโครโมโซมระหว่างการแบ่งเซลล์ถูกควบคุมด้วยไมโครทูบูล ดังนั้น โคลชิซีนจึงเป็นสารที่ใช้เพิ่มชุดโครโมโซมในพืช การให้โคลชิซีนในพืช ทำได้ทั้งนำสารในรูปครีมป้ายที่ยอดพืช หรือแช่เมล็ด[10]

อ้างอิง

แก้
  1. บุญยืน กิจวิจารณ์; จารุวรรณ นกไม้; หนูเดือน เมืองแสน (เมษายน–มิถุนายน 2008). "ผลของไทโรซีนและสารเร่งการเจริญเติบโตต่อการเจริญและพัฒนาของเนื้อเยื่อดองดึงในสภาพปลอดเชื้อ". แก่นเกษตร. 36 (2): 144–152. ISSN 0125-0485.
  2. Leete, E. (November 1963). "The biosynthesis of the alkaloids of Colchicum. III. The incorporation of phenylalaline-2-C14 into colchicine and demecolcine". Journal of the American Chemical Society. 85 (22): 3666–3669. doi:10.1021/ja00905a030.
  3. Dewick, P.M. (9 March 2009). Medicinal Natural Products: A biosynthetic Approach. Wiley. pp. 360–362. ISBN 978-0470741672.
  4. Maier, U. H.; Meinhart, H. Z. (20 ตุลาคม 1997). Colchicine is formed by para-para phenol coupling from autumnaline. Tetrahedron Letters. 38 (42): 7357–7360. doi:10.1016/S0040-4039(97)10011-9.
  5. "Pharmacology of Colchicine". Cyberbotanica. BioTech Resources. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-11. สืบค้นเมื่อ 2012-11-19.
  6. Cocco, Giuseppe; Chu, David C.C.; Pandolfi, Stefano (2010). "Colchicine in clinical medicine. A guide for internists". European Journal of Internal Medicine. 21 (6): 503. doi:10.1016/j.ejim.2010.09.010. PMID 21111934.
  7. Verne, GN; Davis; และคณะ (May 2003). "Treatment of chronic constipation with colchicine: randomized, double-blind, placebo-controlled, crossover trial". Am J Gastroenterology. 98 (5): 1112–6. doi:10.1111/j.1572-0241.2003.07417.x.
  8. Porter, S; Scully (มิถุนายน 2005). "Aphthous Ulcers (recurrent)". Clinical evidence. 13: 1687–1694. eISSN 1752-8526. PMID 16135306.
  9. Colchicine. National Institute for Occupational Safety and Health. Emergency Response Safety and Health Database, August 22, 2008. Retrieved December 23, 2008.
  10. Deppe, Carol (1993). Breed Your own Vegetable Varieties. Little, Brown & Company. p.150-151. ISBN 0-316-18104-8.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้