โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

องค์การนอกภาครัฐในประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก โครงการพระราชดำริ)

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการที่ดำเนินการโดยไม่แสวงผลกำไรในประเทศไทย ก่อตั้งโดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ปัจจุบันอยู่ภายใต้การประสานงานดูแลของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ก่อตั้งพ.ศ. 2494
ผู้ก่อตั้งพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ประเภทองค์การไม่แสวงผลกำไร
วัตถุประสงค์การศึกษา การวิจัย และการกุศล
สํานักงานใหญ่2012 ซอยอรุณอมรินทร์ 36 ถนนอรุณอมรินทร์
ที่ตั้ง
องค์กรแม่
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

จำนวนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

แก้

ปัจจุบันมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 4,810 โครงการ[1] จังหวัดที่มีจำนวนโครงการมากที่สุดคือ จังหวัดเชียงใหม่ 626 โครงการ และจังหวัดที่มีจำนวนโครงการน้อยที่สุดคือ จังหวัดนนทบุรี 2 โครงการ

ประเภทโครงการ ภาค รวม
เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ ไม่ระบุ
ด้านแหล่งน้ำ 1,289 515 877 654 1 3,336
ด้านการเกษตร 43 40 28 28 0 139
ด้านสิ่งแวดล้อม 69 42 40 36 1 188
ด้านส่งเสริมอาชีพ 91 29 131 94 1 346
ด้านการสาธารณสุข 16 16 9 8 11 58
ด้านคมนาคม/สื่อสาร 24 22 16 22 0 84
ด้านสวัสดิการสังคม/การศึกษา 199 79 57 63 4 402
ด้านบูรณาการ 107 55 50 35 10 257
รวม 1,838 813 1,206 940 28 4,810

การดำเนินงานของโครงการ

แก้

การดำเนินงานของโครงการฯ แบ่งได้เป็น 4 ช่วง ได้แก่ ยุคก่อกำเนิด (พ.ศ. 2494–2500), ยุคการพัฒนาเพื่อความมั่นคง (พ.ศ. 2501–23), ยุคกำเนิดองค์กรประสานงาน (พ.ศ. 2524–30), และยุคกำเนิดองค์กรเอกชน (หลัง พ.ศ. 2530)[2]: 455  เป็นกิจกรรมที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงดำเนินพระราชกรณียกิจเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาชน โดยผ่านแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง "เศรษฐกิจพอเพียง" และการสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชนและองค์การนอกภาครัฐ[2]: 456–8  โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกิดขึ้นจากการเดินทางเพื่อรับฟังความทุกข์ยากของพสกนิกร แล้วนำมาริเริ่มหาทางแก้ไขปัญหาตลอดระยะเวลาครองราชซึ่งทำให้เกิดโครงการมากมาย และนำไปสู่การต่อยอดโดยรัฐบาล และเมื่อรัฐบาลตกลงสนองพระราชดำริแล้ว ก็เป็นภาระหน้าที่ของหน่วยงานนั้น ๆ ในการรับผิดชอบต่อโครงการ[2]: 459–61 

การดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีองค์ประกอบของการพัฒนา และส่งเสริมอุดมการณ์ชาติ เพื่อเสริมจุดอ่อนของระบบราชการที่ขาดการประสานงาน[2]: 466 

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. สรุปภาพรวมโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 ชิตบัณฑิตย์, ชนิดา. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การสถาปนาพระราชอำนาจนำในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (1 ed.). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ISBN 9789748278575.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้