แอ็นสท์ เริห์ม

(เปลี่ยนทางจาก แอนสท์ เริม)

แอ็นสท์ ยูลีอุส กึนเทอร์ เริห์ม (เยอรมัน: Ernst Julius Günther Röhm) เป็นนายทหารเยอรมัน และสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งพรรคนาซี และเป็นผู้นำของชตวร์มอัพไทลุง (กองพันพายุ)

แอ็นสท์ เริห์ม
Ernst Röhm
เริห์มในปี ค.ศ. 1933
เกิดแอ็นสท์ ยูลีอุส กึนเทอร์ เริห์ม
28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1887(1887-11-28)
มิวนิก จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต1 กรกฎาคม ค.ศ. 1934(1934-07-01) (46 ปี)
เรือนจำชตาเดิลไฮม์ มิวนิก นาซีเยอรมนี
สัญชาติเยอรมัน
อาชีพผู้บัญชาการหน่วยชตวร์มอัพไทลุง (เอ็สอา)
พรรคการเมืองพรรคนาซี
บิดามารดายูลีอุสและเอมิเลีย เริห์ม
ลายมือชื่อ

แอ็นสท์ เริห์ม เป็นนายทหารบกในกองทัพราชอาณาจักรบาวาเรีย และเคยผ่านสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาได้รับบาดเจ็บในหน้าที่สามครั้งจนได้รับกางเขนเหล็กชั้นที่หนึ่ง ต่อมาหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เริห์มในชั้นยศร้อยเอกก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่ในกองกำลังไรชส์แวร์ ซึ่งในปี 1919 เขาเข้าร่วมพรรคกรรมกรเยอรมัน (ซึ่งเป็นต้นกำเนิดพรรคนาซี) จนได้รู้จักกับสิบตรีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ซึ่งเข้ามาสอดแนมพรรคกรรมกรเยอรมัน

ในช่วงแรก เริห์มกับฮิตเลอร์เป็นเพื่อนสนิทและพันธมิตรกัน เริห์มใช้เส้นสายทางทหารจัดตั้งกองกำลังกึ่งทหารที่ชื่อว่าชตวร์มอัพไทลุง (เอ็สอา) ต่อมาในปี 1923 เขามีส่วนร่วมในกบฏโรงเบียร์ ซึ่งจบลงบนความล้มเหลว ฮิตเลอร์ถูกพิพากษาว่ามีความผิดฐานกบฏต่อแผ่นดินและถูกส่งตัวเข้าเรือนจำ ทางด้านเริห์มได้รับการรอลงอาญา

ในปี 1924 ขณะที่ฮิตเลอร์ยังคงอยู่ในเรือนจำ เริห์มได้เป็นสมาชิกไรชส์ทาคสังกัดพรรคนาซีเป็นเวลาครึ่งปี ในช่วงนี้ เริห์มมีความคิดไม่ลงรอยกับฮิตเลอร์และลูเดินดอร์ฟ ในประเด็นเส้นทางอนาคตของพรรค เขาจึงลาออกจากทุกตำแหน่งในพรรค ต่อมาในปี 1928 เริห์มเดินทางไปเป็นผู้ทรงคุณวุฒิประจำกองทัพโบลิเวีย และได้รับยศพลโท

ในปี 1930 เริห์มได้รับการติดต่อจากฮิตเลอร์ ซึ่งเชิญเขากลับเยอรมนีเพื่อรับตำแหน่งเป็นเสนาธิการเอ็สอา ต่อมาในปี 1934 ฮิตเลอร์เห็นว่าเขาเป็นคู่แข่งที่มีศักยภาพและน่ากลัวจนหวาดระแวงว่าจะโค่มล้มอำนาจของตน จึงชิงกำจัดเขาในช่วงคืนแห่งมีดยาว โดยออกประกาศกล่าวหาว่าเริห์มรับเงินจากรัฐบาลฝรั่งเศสเพื่อโค่นล้มฮิตเลอร์

ฮิตเลอร์ลังเลในการลงนามให้ประหารชีวิตเริห์ม ท้ายที่สุดเขาตัดสินใจให้เริห์มฆ่าตัวตาย จึงส่งนายพลเอ็สเอ็สชื่อว่าไอค์เคอกับลิพแพร์ท ไปหาเริห์มที่ห้องขังและโยนปืนพกให้เริห์ม เริห์มกล่าวว่าถ้าจะฆ่าเขาก็ให้ฮิตเลอร์เป็นคนฆ่า และยืนถอดเสื้อเบ่งอกท้าทาย นายพลเอ็สเอ็สจึงยิงเริห์มตายในห้องขัง

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้