วงกลมแอนตาร์กติก
วงกลมแอนตาร์กติก คือส่วนที่อยู่ไปทางขั้วโลกใต้มากที่สุดของ 5 วงกลมหลักของวงกลมละติจูดในแผนที่โลก พื้นที่ในบริเวณวงกลมขั้วโลกใต้นี้เป็นที่รู้จักในชื่อแอนตาร์กติก ด้านใต้ของวงกลมแอนตาร์กติกนี้ จะมีเหตุการที่ดวงอาทิตย์อยู่เหนือขอบฟ้า 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทำให้มองเห็นดวงอาทิตย์ในเวลากลางคืน และอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งที่ดวงอาทิตย์จะไม่โผล่พ้นขอบฟ้าเป็นเวลาต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ไม่เห็นดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับบริเวณขั้วโลกเหนือ ที่วงกลมอาร์กติกด้วย
ตำแหน่งของวงกลมแอนตาร์กติกยังไม่ใช่พิกัดคงที่ จนถึง 9 ธันวาคม 2559 พิกัดอยู่ที่ตำแหน่ง 66°33′46.5″ [1] ด้านใต้ของเส้นศูนย์สูตร ทั้งนี้ละติจูดขึ้นอยู่กับการเอียงของโลก ซึ่งมีค่าไม่คงที่ ผันแปรประมาณ 2 องศา ในรอบ 41,000 ปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากแรงกระทำของการโคจรของดวงจันทร์[2] ทำให้วงกลมแอนตาร์กติกเลื่อนลงใต้ไปเรื่อย ๆ ด้วยความเร็วประมาณปีละ 15 เมตร
ภูมิศาสตร์
แก้เส้นรอบวงของวงกลมแอนตาร์กติกมีขนาดเกือบ 16,000 กิโลเมตร (9,900 ไมล์)[3] พื้นที่ใต้วงกลมมีขนาดประมาณ 20,000,000 km2 (7,700,000 sq mi) และครอบคลุมพื้นที่ผิวโลกเกือบร้อยละ 4[4] ทวีปแอนตาร์กติกาส่วนใหญ่อยู่ในวงกลมแอนตาร์กติก
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Obliquity of the Ecliptic (Eps Mean)". Neoprogrammics.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-12. สืบค้นเมื่อ 2014-05-13.
- ↑ Berger, A.L. (1976). "Obliquity and Precession for the Last 5000000 Years". Astronomy and Astrophysics. 51 (1): 127–135. Bibcode:1976A&A....51..127B.
- ↑ Nuttall, Mark (2004). Encyclopedia of the Arctic Volumes 1, 2 and 3. Routledge. p. 115. ISBN 978-1579584368. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2023. สืบค้นเมื่อ 26 July 2016.
- ↑ William M. Marsh; Martin M. Kaufman (2012). Physical Geography: Great Systems and Global Environments. Cambridge University Press. p. 24. ISBN 978-0-521-76428-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-15. สืบค้นเมื่อ 2021-11-27.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Map of the Antarctic Circle (archived 13 October 2007)