และเหว่
และเหว่ (พม่า: လက်ဝှေ့) หรือ มวยพม่า เป็นกีฬาต่อสู้แบบปะทะเต็มรูปแบบจากพม่าที่ใช้การโจมตีแบบยืนร่วมกับเทคนิคการกอดปล้ำที่หลากหลาย[1] และเหว่ถือเป็นหนึ่งในศิลปะการต่อสู้ที่รุนแรงที่สุดในโลก[2] เนื่องจากคู่ชกและเหว่จะชกกันแบบคาดเชือก ไม่สวมนวม ในขณะเดียวกันก็ได้รับอนุญาตให้โจมตีด้วยหมัด ศอก เข่า เท้า และหัว[3][4][5]
ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ | มวยพม่า มวยคาดเชือกพม่า ศาสตร์แห่งอาวุธทั้งเก้า |
---|---|
มุ่งเน้น | การโจมตี |
ประเทศต้นกำเนิด | พม่า |
ข้อมูลกีฬา | |
สมาพันธ์สูงสุด | สหพันธ์และเหว่ดั้งเดิมพม่า |
เล่นครั้งแรก | นครรัฐปยู ประมาณศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. – กลางคริสต์ศตวรรษที่ 11 |
ลักษณะเฉพาะ | |
การปะทะ | เต็มรูปแบบ |
หมวดหมู่ | ศิลปะการต่อสู้ |
จัดแข่งขัน | |
ประเทศ ภูมิภาค | ทั่วโลก |
การใช้หัวโขกถูกห้ามในกีฬาต่อสู้ส่วนใหญ่ แต่ถือเป็นอาวุธสำคัญอย่างหนึ่งของคู่ชกและเหว่[6] นี่เป็นเหตุผลที่และเหว่ยังได้รับฉายาว่าเป็น ศาสตร์แห่งอาวุธทั้งเก้า[7][8] และถือว่าเป็นหนึ่งในศิลปะการต่อสู้ที่นองเลือดที่สุดในเขตอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดีย[2][9][10][11]
อ้างอิง
แก้- ↑ Kyaw Zin Hlaing (1 September 2015). "Easy win for Lethwei fighters". Myanmar Times.
- ↑ 2.0 2.1 Karl R. De Mesa (12 March 2019). "The Most Brutal Sport in the World Uses Bare Knuckles and Head Butts". VICE.
- ↑ "Lethwei: The world's most brutal sport". Ugly Chicken. 4 October 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-09. สืบค้นเมื่อ 2021-05-08.
- ↑ Calderon, Justin (23 September 2014). "Punches, headbutts, knockouts: Asia's 'new' martial arts sensation". CNN.
- ↑ Olavarria, Pedro (2 December 2014). "Bando: The style of Burmese Martial Arts". Vice Fightland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-11. สืบค้นเมื่อ 2021-05-08.
- ↑ Darren. "Lethwei Fighter Lands Torpedo Headbutt KO". Scrap Digest. สืบค้นเมื่อ 17 July 2020.
- ↑ Zarni Pyo (21 July 2017). "The Art Of Nine Limbs". Myanmar Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-08. สืบค้นเมื่อ 2021-05-08.
- ↑ Steven Rae (13 March 2019). "Lethwei: Everything you need to know about Burmese bareknuckle boxing". The Body Lock.
- ↑ Paul Millar (18 July 2018). "BAREKNUCKLE BOXING Blood sport". South East Asia.
- ↑ Jack Board (27 October 2019). "From Myanmar, with blood: The Singaporean fighting tradition to take the martial art of lethwei to the world". Chennel News Asia.
- ↑ Matthew Scott (11 November 2017). "'Once you get a taste, there's no turning back': brutal, bloody lethwei making Myanmar a martial arts mecca". SCMP.