แฟลเจลลัม

(เปลี่ยนทางจาก แฟลกเจลลา)

แฟลกเจลลัม (flagellum; /fləˈɛləm/; รูปพหูพจน์: แฟลกเจลลา; flagella) เป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตัวเซลล์มีลักษณะคล้ายแส้ พบในแบคทีเรียและเซลล์ยูคารีโอตบางชนิดซึ่งเรียกว่าพวกแฟลกเจลเลต หน้าที่หลักของแฟลกเจลลาคือการเคลื่อนที่ของเซลล์ แต่ก็พบเป็นออร์แกเนลล์รับรู้เช่นกัน ด้วยความไวต่อเคมีบางชนิดหรือต่ออุณหภูมินอกเซลล์[1][2][3][4] โครงสร้างคล้ายกันในพวกอาร์เคีย มีหน้าที่คล้ายกันแต่มีโครงสร้างที่ต่างกัน มีชื่อเรียกว่าอาร์เคียลลัม (archaellum)[5]

แฟลกเจลลัม
โครงสร้างของแฟลกเจลลัมแบคทีเรีย
ภาพไมโครกราฟจาก SEM แสดง Chlamydomonas sp. ซึ่งมีแฟลกเจลลา (กำลังขยาย 10000×)
ตัวระบุ
MeSHD005407
THH1.00.01.1.01032
FMA67472
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

คำว่า แฟลกเจลลัม มาจากภาษาละติน แปลว่าแส้

ตัวอย่างของแบคทีเรียแฟลกเจลเลตคือ แบคทีเรียก่อฝีหนอง (ulcer) ชื่อ Helicobacter pylori ซึ่งใช้แฟลกเจลลาของมันในการผลักตัวเองไปตามเมือกหุ้มผนังจนไปถึงเอพิเธเลียมของกระเพาะ[6] อีกตัวอย่างหนึ่งของเซลล์แฟลกเจลเลตคือเซลล์อสุจิของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งใช้แฟลกเจลล้มเส้นเดียวของมันในการว่ายไปตามท่อระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง[7] แฟลกเจลลาในยูคารีโอตนั้นมีโครงสร้างเหมือนกันกับซิเลีย ถึงแม้จะมีการแยกมันออกจากกันด้วยแง่มุมของความยาวและการใช้งาน[8]

อ้างอิง

แก้
  1. Wang Q, Suzuki A, Mariconda S, Porwollik S, Harshey RM (June 2005). "Sensing wetness: a new role for the bacterial flagellum". The EMBO Journal. 24 (11): 2034–42. doi:10.1038/sj.emboj.7600668. PMC 1142604. PMID 15889148.
  2. Bardy SL, Ng SY, Jarrell KF (February 2003). "Prokaryotic motility structures". Microbiology. 149 (Pt 2): 295–304. doi:10.1099/mic.0.25948-0. PMID 12624192.
  3. Silflow CD, Lefebvre PA (December 2001). "Assembly and motility of eukaryotic cilia and flagella. Lessons from Chlamydomonas reinhardtii". Plant Physiology. 127 (4): 1500–7. doi:10.1104/pp.010807. PMC 1540183. PMID 11743094.
  4. Jarrell K, บ.ก. (2009). Pili and Flagella: Current Research and Future Trends. Caister Academic Press. ISBN 978-1-904455-48-6.
  5. Albers SV, Jarrell KF (27 January 2015). "The archaellum: how Archaea swim". Frontiers in Microbiology. 6: 23. doi:10.3389/fmicb.2015.00023. PMC 4307647. PMID 25699024.
  6. Lacy BE, Rosemore J (October 2001). "Helicobacter pylori: ulcers and more: the beginning of an era". The Journal of Nutrition. 131 (10): 2789S–2793S. doi:10.1093/jn/131.10.2789S. PMID 11584108. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (abstract page)เมื่อ 7 February 2009. สืบค้นเมื่อ 2 June 2008.
  7. Malo AF, Gomendio M, Garde J, Lang-Lenton B, Soler AJ, Roldan ER (June 2006). "Sperm design and sperm function". Biology Letters. 2 (2): 246–9. doi:10.1098/rsbl.2006.0449. PMC 1618917. PMID 17148374.
  8. Haimo LT, Rosenbaum JL (December 1981). "Cilia, flagella, and microtubules". The Journal of Cell Biology. 91 (3 Pt 2): 125s–130s. doi:10.1083/jcb.91.3.125s. PMC 2112827. PMID 6459327.