แพนด้ายักษ์
แพนด้ายักษ์ อังกฤษ: giant panda; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ailuropoda melanoleuca) หรือที่นิยมเรียกว่า แพนด้า หรือ หมีแพนด้า (panda) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์หมี (Ursidae) ถิ่นอาศัยอยู่ในประเทศจีน[3] ลักษณะเฉพาะของแพนด้ายักษ์คือมีขนสีดำรอบดวงตา, ใบหู, บ่า, และขาทั้งสี่ข้าง ส่วนอื่นประกอบด้วยขนสีขาว บางครั้งจะใช้ชื่อ "แพนด้ายักษ์" ไว้แยกมันจากแพนด้าแดง ถึงแม้ว่าแพนด้ายักษ์อยู่ในอันดับสัตว์กินเนื้อ แต่มันเป็นสัตว์กินใบไม้ โดยเฉพาะไม้ไผ่กับใบไม้ที่รวมอยู่ในบรรดาอาหารของแพนด้ายักษ์มากกว่า 99%[4] แพนด้ายักษ์ในป่ามักกินหญ้าชนิดอื่น หัวป่า หรือแม้แต่เนื้อนก, อันดับสัตว์ฟันแทะ หรือซากศพ ส่วนแพนด้ายักษ์ที่อยู่ในที่กักตัวมักได้รับน้ำผึ้ง ไข่ ปลา แยม, ใชไม้พุ่ม ส้ม หรือกล้วย พร้อมกับอาหารที่เตรียมการไว้แล้ว[5][6]
แพนด้ายักษ์ | |
---|---|
แพนด้ายักษ์ที่โอเชียนพาร์กฮ่องกง | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Mammalia |
อันดับ: | สัตว์กินเนื้อ Carnivora |
วงศ์: | Ursidae Ursidae |
สกุล: | สกุลแพนด้ายักษ์ Ailuropoda David, 1869[2] |
สปีชีส์: | Ailuropoda melanoleuca |
ชื่อทวินาม | |
Ailuropoda melanoleuca David, 1869[2] | |
ชนิดย่อย | |
| |
ถิ่นที่อยู่อาศัยของแพนด้ายักษ์ |
แพนด้ายักษ์อาศัยอยู่ในเทือกเขาบางส่วนในจีนตอนกลาง โดยหลักอยู่ในมณฑลเสฉวนและพื้นที่มณฑลฉ่านซีกับมณฑลกานซู่[7] แพนด้ายักษ์ถูกขับออกจากพื้นที่ลุ่มต่ำที่เคยอาศัยอยู่ เนื่องจากการทำฟาร์ม การทำลายป่า และการพัฒนาอื่น ๆ และทำให้ตกอยู่ในกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์[8][9] รายงานใน ค.ศ. 2007 ระบุว่ามีแพนด้า 239 ตัวอาศัยอยู่ในพื้นที่กักตัวในประเทศจีน และอยู่นอกประเทศ 27 ตัว[10] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2014 มีแพนด้ายักษ์ 49 ตัวอาศัยอยู่ในพื้นที่กักตัวนอกประเทศจีน ซึ่งอยู่ในสวนสัตว์ 18 แห่งใน 13 ประเทศ[11] ประชากรในป่ามีความหลากหลาย โดยข้อมูลหนึ่งระบุว่ามีประชากรในป่าประมาณ 1,590 ตัว[10] ในขณะที่งานวิจัยผ่านการวิเคราะห์ดีเอ็นเอใน ค.ศ. 2006 ประมาณการว่ามีจำนวนสูงถึง 2,000 ถึง 3,000 ตัว[12] บางรายงานยังแสดงให้เห็นว่าประชากรในป่ากำลังเพิ่มขึ้น[13] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2015 ประชากรแพนด้ายักษ์ป่ามีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 1,864 ตัว[14] ทำให้ใน ค.ศ. 2016 จึงมีการย้ายสถานะในบัญชีแดงไอยูซีเอ็นจาก "ใกล้การสูญพันธุ์" ไปเป็น "เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์"[1] เป็นการยืนยันความพยายามในการช่วยเหลือแพนด้ายาวนานนับทศวรรษ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2021 ทางการจีนได้ย้ายสถานะแพนด้ายักษ์ไปเป็น เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์ ด้วย[15] เเพนด้าจะมีความยาวโดยประมาณ 1.2 ถึง 1.9 เมตร มีอายุขัยประมาณ 20-30 ปี
ลักษณะทั่วไป
แก้ถึงแม้จะจัดอยู่ในวงศ์ของหมี แต่พฤติกรรมของมันแตกต่างจากหมีโดยสิ้นเชิง แพนด้าเป็นสัตว์กินพืชเป็นอาหาร โดยร้อยละ 99 ของอาหารที่มันกินคือไผ่ แต่บางทีอาจพบว่ามันก็กินไข่ ปลา และแมลงบางชนิดในไม้ไผ่ที่มันกิน นี่เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ จัดได้ว่าแพนด้ายักษ์เป็นหมีที่แตกต่างไปจากหมีชนิดอื่น ๆ ที่กินเนื้อเป็นอาหารหลัก แม้ว่าไผ่จะเป็นพืชที่ให้พลังงานกิโลแคลเลอรี่ต่ำมาก ทำให้แพนด้ายักษ์ใช้เวลากินไผ่นานถึงวันละ 16 ชั่วโมง ในปริมาณไม่ต่ำกว่า 18 กิโลกรัม และขับถ่ายมากถึงวันละ 40 ครั้ง และทำให้ในช่วงฤดูหนาว แพนด้ายักษ์จะไม่จำศีลในถ้ำเหมือนกับหมีชนิดอื่น เนื่องจากไผ่ให้พลังงานสะสมไม่เพียงพอ และจากการที่มีพฤติกรรมกินไผ่เป็นอาหารเพียงอย่างเดียวนั้น เป็นสาเหตุที่ทำให้แพนด้ายักษ์เป็นสัตว์ที่แพร่ขยายพันธุ์ได้ยากด้วย โดยในรอบปี แพนด้ายักษ์ตัวเมียจะมีอาการติดสัดเพียง 1-2 วันเท่านั้น และออกลูกรวมถึงเลี้ยงลูกให้รอดจนเติบโตในธรรมชาติได้ยากมาก หากแพนด้ายักษ์แพร่ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว จะทำให้ไผ่พืชอาหารหลักหมดไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน [16] และถึงแม้แพนด้ายักษ์จะกินไผ่เป็นอาหารหลัก คิดเป็นร้อยละ 99 ของอาหารทั้งหมดก็ตาม แต่ภายในตัวของแพนด้ายักษ์กลับไม่มีจุลินทรีย์ในการช่วยย่อยไผ่ แต่กลับมีเขี้ยวสำหรับใช้กัดและเอนไซน์ในการย่อยเนื้อแทน[17] โดยลูกแพนด้ายักษ์ที่เพิ่งเกิด ตาจะยังไม่ลืมและไม่มีขน และมีน้ำหนักน้อยกว่าแพนด้ายักษ์ตัวเต็มวัยถึง 900 เท่า แต่ทว่ากลับมีอัตราการเจริญเติบโตที่เร็วมากที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยสามารถเพิ่มน้ำหนักตัวจากแค่ 89 กรัม เป็น 1.8 กิโลกรัม ได้ภายในเวลาเพียงเดือนเดียว[17]
หลายสิบปีที่ผ่านมา การจัดจำแนกสายพันธุ์ที่แน่นอนของแพนด้ายังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แพนด้ายักษ์และแพนด้าแดงซึ่งเป็นญาติสายพันธุ์ห่าง ๆ กัน และยังมีลักษณะพิเศษที่เหมือนทั้งหมีและแรคคูน อย่างไรก็ตาม การทดลองทางพันธุกรรมบ่งบอกว่าแพนด้ายักษ์เป็นหนึ่งในชนิดของหมี (วงศ์ Ursidae) หมีที่ชนิดใกล้เคียงที่สุดของแพนด้าคือหมีแว่นที่พบในทวีปอเมริกาใต้ (ข้อขัดแย้งที่ยังคงเป็นที่สงสัยอยู่คือแพนด้าแดงนั้นอยู่ในวงศ์ใด เป็นที่ถกเถียงว่าอาจจะอยู่ในวงศ์หมี (Ursidae), วงศ์แรคคูน, วงศ์โพรไซโอนิดี้ (Procyonidae), หรืออยู่ในวงศ์เฉพาะของมันเอง วงศ์ไอเลอริดี้ (Ailuridae)) โดยซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบจากในถ้ำของประเทศจีนพบว่า แพนด้ายักษ์ถือกำเนิดมาแล้วบนโลกอย่างน้อย 2 ล้านปี แต่การที่ได้วิวัฒนาตัวเองแยกออกมาจากหมีทั่วไปนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด[17]
แพนด้ายักษ์เป็นสัตว์สปีชีส์ที่ถูกคุกคามหรืออยู่ในอันตรายต่อการสูญพันธ์ ทั้งนี้มาจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่จากการบุกรุกของมนุษย์ อัตราการเกิดต่ำทั้งในป่าและในกรงเลี้ยง เชื่อว่ามีแพนด้ายักษ์เพียง 1,600 ตัว อาศัยอยู่รอดในป่า
แพนด้ายักษ์มีอุ้งตีนที่ผิดจากธรรมดา คือมีนิ้วหัวแม่มือและมีนิ้วอีก 5 นิ้ว นิ้วหัวแม่มือที่จริงแล้วมาจากการปรับปรุงรูปแบบของกระดูกข้อต่อ ใช้ประโยชน์สำหรับหยิบจับไผ่ สตีเฟน เจย์ กาวลด์ ได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ โดยมีชื่อเรื่องว่า The Panda's Thumb หรือ นิ้วหัวแม่มือของแพนด้า หางของแพนด้ายักษ์นั้นสั้นมาก โดยมีความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร รวมถึงมีกรามที่แบนราบเหมาะสำหรับการเคี้ยวไผ่อีกด้วย[17]
การค้นพบ
แก้แพนด้ายักษ์ เป็นที่รู้จักในตะวันตกเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1869 โดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส อาร์มันด์ เดวิด ผู้ซึ่งได้รับหนังของแพนด้ามาจากนายพรานเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1869 ส่วนชาวตะวันตกคนแรกที่เป็นที่รู้จักว่าเห็นแพนด้ายักษ์ที่ยังมีชีวิตคือนักสัตว์วิทยาเยอรมัน ฮิวโก เวยโกลด์ เขาซื้อลูกของมันมาในปี ค.ศ. 1916 เคอร์มิท และ ธีโอดอร์ รูสเวลท์ จูเนียร์ ได้เป็นชาวต่างชาติแรก ที่ยิงแพนด้าในการเดินทางศึกษาที่ประเทศจีน เพื่อนำไปสตัฟฟ์และใช้ในการศึกษาที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ฟิลด์ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 ในปี ค.ศ. 1936 รุธ ฮาร์คเนส เป็นชาวตะวันตกคนแรก ที่นำเข้าแพนด้ายักษ์ที่มีชีวิตมายังสหรัฐอเมริกา เป็นลูกแพนด้าชื่อซู-ลิน โดยนำมาเลี้ยงที่สวนสัตว์บรูคฟิลด์ในชิคาโก
สถานะ
แก้ในอดีตเชื่อว่าแพนด้ายักษ์พบกระจัดกระจายทั่วไปตั้งแต่ภาคใต้และตะวันออกของจีนจนไปถึงตอนเหนือของพม่าและเวียดนาม[17] แต่ปัจจุบันแพนด้ายักษ์เป็นหนึ่งในสัตว์สายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก โดยปัจจุบันพบเพียงแค่พื้นที่แคบ ๆ บนป่าสนเขาของมณฑลเสฉวน ทางตอนใต้ของจีนเท่านั้น ตามรายงานล่าสุด[10] มีแพนด้าที่เลี้ยงในกรงเลี้ยง 239 ตัวอยู่ในจีน และอีก 27 ตัวอยู่ในต่างประเทศ มีการคาดการณ์ไว้ว่ามีแพนด้ายักษ์ประมาณ 1,590 ตัวอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ[10] อย่างไรก็ดี จากการศึกษาในปี ค.ศ. 2006 ผ่านการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ สามารถประมาณการได้ว่าอาจจะมีแพนด้ายักษ์เป็นจำนวนถึง 2,000-3,000 ตัวอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ[12] ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำนวนแพนด้าตามธรรมชาติเพิ่มจำนวนขึ้น[18][13] สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) เชื่อว่าข้อมูลดังกล่าวยังไม่มีความแน่นอนพอที่จะย้ายชื่อแพนด้ายักษ์ออกจากบัญชีรายชื่อสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์[19]
โดยแพนด้ายักษ์ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองจนกระทั่งถึงคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยปัจจุบันกฎหมายของจีนระบุไว้ว่าหากผู้ใดฆ่าแพนด้ายักษ์มีโทษจำคุก 20 ปี [17] และตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 ทางการจีนได้เพิ่มปริมาณเขตอนุรักษ์แพนด้ายักษ์เพิ่มขึ้นจาก 12 แห่ง เป็น 67 แห่งในปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นสัตว์ชนิดที่มีการคุ้มครองมากที่สุดในโลก อีกทั้งปัจจุบันยังได้มีโครงการเพาะขยายพันธุ์แพนด้ายักษ์ในที่เลี้ยง เพื่อนำไปปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติอีกด้วย ซึ่งก็ได้ผลสำเร็จบ้างแล้วในขั้นต้น โดยมีการติดปลอกคอดาวเทียมเพื่อมีการติดตามความเป็นอยู่ในธรรมชาติ[17]
แพนด้ายักษ์ถือเป็นสัญลักษณ์ทางการทูตอย่างหนึ่งของจีน จะเห็นได้ว่าจีนส่งหมีแพนด้าไปยังสวนสัตว์สหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่น ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยการให้ยืม ซึ่งเป็นเครื่องหมายการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนและชาติตะวันตก การปฏิบัติเป็นธรรมเนียมเช่นนี้ทำให้มีคนเรียกแพนด้าว่า "ทูตสันถวไมตรี"
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1984 ไม่มีการใช้หมีแพนด้าในฐานะทูตสันถวไมตรีอีกต่อไป แต่จีนมีการเสนอที่จะส่งแพนด้ายักษ์ไปยังชาติอื่นโดยให้ยืมเป็นเวลา 10 ปี โดยต้องจ่ายค่าธรรมเนียมพื้นฐานปีละ 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ และมีข้อกำหนดว่าลูกของแพนด้ายักษ์ใด ๆ ที่เกิดระหว่างการยืมนั้น ถือเป็นทรัพย์สินของสาธารณรัฐประชาชนจีน
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Swaisgood, R.; Wang, D. & Wei, F. (2017) [errata version of 2016 assessment]. "Ailuropoda melanoleuca". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T712A121745669. สืบค้นเมื่อ 15 January 2022.
- ↑ David, A. (1869). "Voyage en Chine". Bulletin des Nouvelles Archives du Muséum. 5: 13.
- ↑ Scheff, Duncan (2002). Giant Pandas. Animals of the rain forest (illustrated ed.). Heinemann-Raintree Library. p. 7. ISBN 0-7398-5529-8.
- ↑ Quote: "Bamboo forms 99 percent of a panda's diet", "more than 99 percent of their diet is bamboo": p. 63 of Lumpkin & Seidensticker 2007 (as seen in the 2002 edition).
- ↑ "Giant Panda". Discovery Communications, LLC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2010. สืบค้นเมื่อ 8 August 2010.
- ↑ "Giant Pandas". National Zoological Park. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2010. สืบค้นเมื่อ 7 November 2010.
- ↑ Scheff, D. (2002). Giant Pandas. Animals of the rain forest (illustrated ed.). Heinemann-Raintree Library. p. 8. ISBN 0-7398-5529-8.
- ↑ "Global Species Programme – Giant panda". World Wildlife Fund. 14 November 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2008. สืบค้นเมื่อ 22 July 2008.
- ↑ "Four out of six great apes one step away from extinction – IUCN Red List". 4 September 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2016. สืบค้นเมื่อ 4 September 2016.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 "Number of pandas successfully bred in China down from last year". Xinhua News Agency. 8 November 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2008. สืบค้นเมื่อ 22 July 2008. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Xinhua1" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ "Panda Zoos Around The World". GiantPandaZoo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2016.
- ↑ 12.0 12.1 Briggs, Helen (20 June 2006). "Hope for future of giant panda". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2007. สืบค้นเมื่อ 14 February 2007. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "BBC_06-07" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ 13.0 13.1 W., Lynne (July 2006). "Pandas, Inc". National Geographic Magazine. สืบค้นเมื่อ 10 April 2008. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "pandasinc" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ "Giant panda population rises by nearly 17 percent". Mongabay Environmental News. 2 March 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 3 March 2015.
- ↑ "Giant pandas no longer endangered in the wild, China announces". the Guardian. 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-07-09.
- ↑ "ท่องโลกกว้าง: สัตว์ป่าหน้าแปลก". ไทยพีบีเอส. 9 February 2015. สืบค้นเมื่อ 10 February 2015.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 17.5 17.6 หน้า 88-113, คืนแพนด้าสู่ธรรมชาติ โดย เจนนิเฟอร์ เอล. ฮอลแลนด์. นิตยสาร National Geographic (ภาษาไทย) 181 : สิงหาคม 2559
- ↑ "Giant panda gives birth to giant cub". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-22. สืบค้นเมื่อ 2008-11-10.
- ↑ "Concern grows for smallest bear". บีบีซีนิวส์. 12 พ.ย. 2550. สืบค้นเมื่อ 22 ก.ค. 2551.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)