แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต ค.ศ. 1923
แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต ค.ศ. 1923 (พ.ศ. 2466) เป็นเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในรัชสมัยไทโชของญี่ปุ่น เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1923 ซึ่งตรงกับพุทธศักราช 2466 เวลา 11:58:44 น. ตามเวลาในท้องถิ่น บริเวณภาคคันโต บนเกาะฮนชู มีจุดศูนย์กลางอยู่ใต้ทะเล บริเวณเกาะอิซูโอชิมะ ในอ่าวซางามิ
ความเสียหายโดยรอบวัดเซ็นโซจิในอาซากูซะ | |
เวลาสากลเชิงพิกัด | 1923-09-01 02:58:35 |
---|---|
รหัสเหตุการณ์ ISC | 911526 |
USGS-ANSS | ComCat |
วันที่ท้องถิ่น | 1 กันยายน ค.ศ. 1923 (พ.ศ. 2466) |
เวลาท้องถิ่น | 11:58:32 JST (UTC+09:00) |
ระยะเวลา | 48 วินาที[1] 4 นาที[2] |
ขนาด | 7.9[3] 8.0[4] 8.2[5] Mw |
ความลึก | 23 km (14 mi) |
ศูนย์กลาง | 35°19.6′N 139°8.3′E / 35.3267°N 139.1383°E[6] |
ประเภท | เมกะทรัสต์ |
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ | ประเทศญี่ปุ่น |
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้ | ชินโดะ 7 XI (สุดขีด) |
สึนามิ | สูงถึง 12 m (39 ft) ที่อาตามิ, จังหวัดชิซูโอกะ, โทไก[7] |
แผ่นดินถล่ม | ใช่ |
แผ่นดินไหวตาม | 6 ถึง 7.0 M หรือสูงกว่านี้[8] |
ผู้ประสบภัย | ตาย 105,385 คน[9]–142,800[10] |
แผ่นดินไหวก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงโตเกียว เมืองท่าโยโกฮามะ จังหวัดชิบะ จังหวัดคานางาวะ และจังหวัดชิซูโอกะ [11] ประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตประมาณ 100,000 คน มีผู้สูญหายที่คาดว่าเสียชีวิตแล้วประมาณ 40,000 คน เนื่องจากเหตุเกิดขึ้นในช่วงเที่ยงวัน ขณะประชาชนกำลังใช้เตาไฟหุงอาหาร ทำให้เกิดเพลิงไหม้ และเนื่องจากมีพายุไต้ฝุ่นอยู่ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น ทำให้มีกระแสลมแรงจึงเกิดเพลิงลุกลาม ประกอบกับระบบท่อส่งน้ำเกิดชำรุดอันเป็นผลมาจากแผ่นดินไหว ส่งผลให้การดับเพลิงต้องใช้เวลาถึง 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 จนถึงวันที่ 3 กันยายน นอกจากนี้ยังเกิดดินถล่มในหลายพื้นที่
แผ่นดินไหว
แก้บันทึกของกัปตันเรือ SS Dongola ขณะที่เรือของเขาทอดสมอในโยโกฮามะ ระบุว่า:
"เมื่อเวลา 11:55 น. เรือเริ่มสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงและเมื่อมองไปทางชายฝั่งได้มีแผ่นดินไหวรุนแรงเกิดขึ้นอาคารหลายแห่งกำลังยุบตัวทุกทิศทางและไม่กี่นาทีต่อมาฝุ่นผงจากอาคารได้กระจายไปทั่วทำให้ไม่สามารถมองเห็นตัวเมืองได้ เขามองเห็นไฟที่กำลังลุกไหม้ทั่วทิศทางและเวลาครึ่งชั่วโมงต่อมาทั้งเมืองก็อยู่ใต้เปลวเพลิง"
[12]
แผ่นดินไหวครั้งนี้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากในโตเกียวและโยโกฮามะรวมถึงจังหวัดโดยรอบได้แก่ จังหวัดชิบะ จังหวัดคานางาวะ และจังหวัดชิซูโอกะ และก่อให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวางทั่วภูมิภาคคันโต แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวครั้งนี้แรงมากจนสามารถเคลื่อนพระพุทธรูปโคโตกูอิงที่มีน้ำหนักถึง 121 ตัน ที่อยู่ห่างจากศูนย์กลาง 60 กม. ได้ถึง 60 เซนติเมตร
มีผู้เสียชีวิตประมาณ 142,800 ราย สูญหายประมาณ 40,000 คน ผู้สูญหายส่วนใหญ่ถูกสันนิษฐานว่าเสียชีวิต ตามรายงานสรุปของคาจิมะ คอร์ปอเรชั่นในเดือนกันยายน ค.ศ. 2004 มีผู้เสียชีวิต 105,385 รายในแผ่นดินไหว[13]
ความเสียหาย
แก้แผ่นดินไหวได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผู้คนกำลังทำอาหาร ผู้เสียชีวิตหลายคนเสียชีวิตเนื่องจากเหตุการณ์ไฟไหม้ที่เกิดขึ้นหลังแผ่นดินไหว ไฟได้เริ่มไหม้ทันทีหลังจากที่เกิดแผ่นดินไหว[14] ไม่นานไฟไหม้ได้เพิ่มกำลังขึ้นเป็นพายุไฟทำให้ไฟลุกลามไปทั่วเมือง [15][16][17]
อ้างอิง
แก้- ↑ Kobayashi, Reiji; Koketsu, Kazuki (2005). "Source process of the 1923 Kanto earthquake inferred from historical geodetic, teleseismic, and strong motion data". Earth, Planets and Space. 57 (4): 261. Bibcode:2005EP&S...57..261K. doi:10.1186/BF03352562.
- ↑ Panda, Rajaram. "Japan Coping with a National Calamity". Delhi: Institute for Defence Studies and Analyses (IDSA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-14. สืบค้นเมื่อ 21 December 2011.
- ↑ Kanamori, Hiroo (1977). "The energy release in great earthquakes" (PDF). J. Geophys. Res. 82 (20): 2981–2987. Bibcode:1977JGR....82.2981K. doi:10.1029/JB082i020p02981.
- ↑ Namegaya, Yuichi; Satake, Kenji; Shishikura, Masanobu (2011). "Fault models of the 1703 Genroku and 1923 Taisho Kanto earthquakes inferred from coastal movements in the southern Kanto erea" (PDF). สืบค้นเมื่อ 27 September 2015.
- ↑ "首都直下地震モデル検討会" (PDF). 首都直下のM7クラスの地震及び相模トラフ沿いのM8クラスの地震等の震源断層モデルと震度分布・津波高等に関する報告書
- ↑ Usami, Tatsuo『最新版 日本被害地震総覧』 p272.
- ↑ Hatori, Tokutaro. "Tsunami Behavior of the 1923 Kanto Earthquake at Atami and Hatsushima Island in Sagami Bay". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2015. สืบค้นเมื่อ 27 September 2015.
- ↑ Takemura, Masayuki (1994). "Aftershock Activities for Two Days after the 1923 Kanto Earthquake (M=7.9) Inferred from Seismograms at Gifu Observatory". สืบค้นเมื่อ 27 September 2015.
- ↑ Takemura, Masayuki; Moroi, Takafumi (2004). "Mortality Estimation by Causes of Death Due to the 1923 Kanto Earthquake". Journal of Jaee. 4 (4): 21–45. doi:10.5610/jaee.4.4_21.
- ↑ "Today in Earthquake History". สืบค้นเมื่อ 15 April 2016.
- ↑ Hammer, Joshua. (2006). Yokohama Burning: the Deadly 1923 Earthquake and Fire that Helped Forge the Path to World War II, p. 278, citing Francis Hawks, (1856). Narrative of the Expedition of an American Squadron to the China Seas and Japan Performed in the Years 1852, 1853 and 1854 under the Command of Commodore M.C. Perry, United States Navy, Washington: A.O.P. Nicholson by order of Congress, 1856; originally published in Senate Executive Documents, No. 34 of 33rd Congress, 2nd Session.
- ↑ http://www.poheritage.com/Upload/Mimsy/Media/factsheet/93060DONGOLA-1905pdf.pdf
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-19. สืบค้นเมื่อ 2007-02-22..
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Gulick, Sidney L. (1923). The Winning of the Far East: A Study of the Christian Movement in China, Korea, Japan. New York: George H. Doran Company. p. 15.
- ↑ "The Earthquake and Fires - The Great Kantō Earthquake.com". www.greatkantoearthquake.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-13. สืบค้นเมื่อ 2022-02-27.
- ↑ "The Great Kanto Earthquake of 1923". library.brown.edu.
- ↑ Taylor, Alan. "1923 Kanto Earthquake: Echoes From Japan's Past". The Atlantic.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Great Kanto Earthquake 1923 Online photo gallery by A. Kengelbacher
35°06′N 139°30′E / 35.1°N 139.5°E{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้