แคว้นบาเลนเซีย
แคว้นบาเลนเซีย (สเปน: Comunidad Valenciana) หรือ แคว้นวาเล็นซิอา (บาเลนเซีย: Comunitat Valenciana) เป็นแคว้นปกครองตนเองที่ตั้งอยู่ทางตอนกลาง-ตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศสเปน ประกอบด้วย 3 จังหวัดเรียงจากทิศเหนือไปทิศใต้ ได้แก่ จังหวัดกัสเตยอน/กัสเต็ลโย จังหวัดบาเลนเซีย/วาเล็นซิอา และจังหวัดอาลิกันเต/อาลากันต์ (ชื่อในภาษาสเปน/ภาษาบาเลนเซีย)[1]
แคว้นบาเลนเซีย Comunitat Valenciana1 (บาเลนเซีย) Comunidad Valenciana (สเปน) | |
---|---|
เพลง: เพลงแคว้นบาเลนเซีย | |
แผนที่ประเทศสเปนแสดงที่ตั้งแคว้นบาเลนเซีย | |
พิกัด: 39°30′N 0°45′W / 39.500°N 0.750°W | |
ประเทศ | สเปน |
ธรรมนูญการปกครองตนเอง | 1 กรกฎาคม 2525 10 เมษายน 2549 |
เมืองหลัก | บาเลนเซีย |
จังหวัด | กัสเตยอน, บาเลนเซีย, อาลิกันเต |
การปกครอง | |
• ประเภท | รัฐบาลที่ได้รับมอบอำนาจปกครองตนเองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ |
• องค์กร | เจเนราลิตัตวาเล็นซิอานา |
• ประธาน | ชิโม ปุตช์ (พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศบาเลนเซีย) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 23,255 ตร.กม. (8,979 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | ที่ 8 |
ประชากร (2559) | |
• ทั้งหมด | 4,959,968 คน |
• ความหนาแน่น | 210 คน/ตร.กม. (550 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับประชากร | ที่ 4 |
เขตเวลา | UTC+1 (เวลายุโรปกลาง) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง) |
รหัส ISO 3166 | ES-VC |
ภาษาราชการ | ภาษาบาเลนเซียและภาษาสเปน |
นักบุญองค์อุปถัมภ์ | บิแซ็นต์ เฟร์เรร์ และบีร์เฆนเดโลสเดซัมปาราโดส |
สภานิติบัญญัติ | โกร์สวาเล็นซิอาเน็ส |
ที่นั่ง ส.ส. | 32 คน (จากทั้งหมด 350 คน) |
ที่นั่ง ส.ว. | 17 คน (จากทั้งหมด 264 คน) |
เว็บไซต์ | เจเนราลิตัตวาเล็นซิอานา |
1.^ ตามธรรมนูญการปกครองตนเองของแคว้นบาเลนเซียฉบับปัจจุบัน ชื่อในภาษาบาเลนเซียของแคว้น (คือ Comunitat Valenciana) ใช้ทั้งในบริบทภาษาบาเลนเซียและภาษาสเปน |
แคว้นบาเลนเซียมีชายฝั่งติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนยาว 518 กิโลเมตร มีเนื้อที่ในการปกครอง 23,255 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 4.9 ล้านคน (พ.ศ. 2559) ตามกฎหมายปกครองตนเองของแคว้น บาเลนเซียได้รับการจัดให้เป็น "ชาติ" (nationality) เช่นเดียวกับแคว้นอื่นบางแคว้นในสเปน มีภาษาราชการ 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาสเปนและภาษาบาเลนเซีย (ชื่อเรียกของภาษากาตาลาในแคว้นนี้) ส่วนเมืองหลักของแคว้นคือ บาเลนเซีย (วาเล็นซิอา)
อ้างอิง
แก้- ↑ ชื่อจังหวัดในทั้งสองภาษาเป็นชื่อทางการทั้งคู่ ตาม Ley 25/1999, de 6 de julio, por la que se declaran cooficiales las denominaciones Alacant, Castelló y València para las provincias que integran la Comunidad Valenciana.