ส่าไข้
ส่าไข้[3] หรือ ไข้ผื่นกุหลาบ (อังกฤษ: roseola infantum) เป็นโรคไข้ออกผื่นชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์สายพันธุ์มนุษย์บางชนิด ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุไม่เกิน 3 ปี อาจมีอาการได้หลากหลายตั้งแต่มีอาการเล็กน้อยจนเหมือนไม่มีอาการ ไปจนถึงมีไข้สูงตามด้วยผื่นขึ้นทั่วตัวหลังหายไข้ ผู้ป่วยมักเป็นไข้อยู่ 3-5 วัน ผื่นมักมีสีแดงอมชมพู มักเป็นอยู่ประมาณ 3 วัน ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้คือภาวะชักจากไข้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วไม่ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ในขณะที่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงนั้นพบได้น้อยมาก
Roseola | |
---|---|
ชื่ออื่น | Exanthema subitum,[1] roseola infantum,[1] sixth disease,[1] baby measles, rose rash of infants, three-day fever |
Roseola on a 21-month-old girl | |
สาขาวิชา | Infectious disease |
อาการ | Fever followed by rash[1] |
ภาวะแทรกซ้อน | Febrile seizures[1] |
การตั้งต้น | Before the age of three[1] |
ระยะดำเนินโรค | Few days[2] |
สาเหตุ | Human herpesvirus 6 (HHV-6) or human herpesvirus 7 (HHV-7)[1] |
วิธีวินิจฉัย | Typically based on symptoms[1] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | Measles, rubella, scarlet fever[1] |
การรักษา | Supportive care[1] |
พยากรณ์โรค | Generally good[1] |
ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคนี้คือฮิวแมนเฮอร์ปีส์ไวรัส 6 และ ฮิวแมนเฮอร์ปีส์ไวรัส 7 ติดต่อกันจากคนสู่คน โดยเชื้อจะออกมากับน้ำลายของผู้ที่มีเชื้อ (ซึ่งอาจมีอาการป่วยหรืออาจไม่มีก็ได้) นอกจากนี้ยังอาจติดจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ได้ด้วย การวินิจฉัยทำได้โดยพิจารณาจากอาการและอาการแสดง และอาจตรวจยืนยันได้ด้วยการตรวจเลือด อาจตรวจพบเม็ดเลือดขาวมีจำนวนน้อยกว่าปกติได้
โรคนี้หายได้เอง การรักษาเป็นการรักษาตามอาการ ได้แก่ การให้สารน้ำให้เพียงพอ และใช้ยาลดไข้เมื่อจำเป็น แทบทุกคนจะเคยเป็นโรคนี้มาแล้วอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต เพศชายและเพศหญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้เท่าๆ กัน โรคนี้ได้รับการบรรยายไว้เป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1910 และพบไวรัสที่เป็นสาเหตุเมื่อ ค.ศ. 1988 ในบางครั้งหากระดับภูมิคุ้มกันลดลงโรคนี้อาจกลับมาแสดงอาการซ้ำได้ และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อSt2014
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCDC2017
- ↑ https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=40&chap=8&page=t40-8-infodetail04.html
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |