เอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์

(เปลี่ยนทางจาก เอยาฟยาตลาเยอคุตล์)

เอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์ (ไอซ์แลนด์: Eyjafjallajökull [ˈɛɪjaˌfjatlaˌjœːkʏtl̥]) เป็นชื่อเรียกของครอบน้ำแข็งขนาดเล็กแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของประเทศไอซ์แลนด์ ครอบน้ำแข็งแห่งนี้ตั้งอยู่ทิศเหนือของหมู่บ้านสโกอาร์และทางทิศตะวันตกของครอบน้ำแข็งมีร์ตัลส์เยอคุตล์ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า

เอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์
Guðnasteinn
Hámundur
จิเยอคุตล์ ธารน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดบนเอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์ถูกปกคลุมด้วยเถ้าภูเขาไฟ
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
ภูเขา: 1,651 m (5,417 ft)
ธารน้ำแข็ง: 1,666 m (5,466 ft) [1]
พิกัด63°37′12″N 19°36′48″W / 63.62000°N 19.61333°W / 63.62000; -19.61333[2]
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
เอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์ตั้งอยู่ในไอซ์แลนด์
เอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์
เอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์
ไอซ์แลนด์
ที่ตั้งซูทือร์ลันต์, ประเทศไอซ์แลนด์
เทือกเขาN/A
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
ประเภทภูเขากรวยภูเขาไฟสลับชั้น
แนวโค้ง/เข็มขัดภูเขาไฟภูเขาไฟโซนตะวันออก
การปะทุครั้งล่าสุดMarch to June 2010

ชั้นน้ำแข็งของครอบน้ำแข็งดังกล่าวได้ปกคลุมภูเขาไฟ (สูง 1,666 เมตรหรือ 5,466 ฟุต) ซึ่งได้ปะทุค่อนข้างบ่อยนับตั้งแต่ยุคน้ำแข็ง เมื่อเวลาที่มันนำหินไรโอไลต์ขึ้นมาสู่พื้นผิวโลก[3] ในปี พ.ศ. 2553 ได้มีการปะทุขึ้นสองครั้งเมื่อวันที่ 20 มีนาคม และวันที่ 15 เมษายน ผลจากการปะทุในเดือนเมษายน ส่งผลรบกวนการจราจรทางอากาศตลอดยุโรปเหนือและยุโรปตะวันตก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่ามันมีความรุนแรงกว่าการปะทุเมื่อเดือนก่อนถึง 10-20 เท่า การปะทุครั้งล่าสุดในอดีตคือจาก ค.ศ. 1821-1823 การระเบิดออกของทะเลสาบธารน้ำแข็งก่อให้เกิดอุทกภัยตามมา. แม้ว่าการประทุของเอยาฟยาลาเยอคุตล์ทำให้เกิดการชะงักครั้งยิ่งใหญ่ แต่หากเทียบกับการประทุครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศไอซ์แลนด์เมื่อในอดีตนั้น การประทุครั้งนี้ถือเป็นเพียงแค่หยดน้ำเท่านั้น [4]

การปะทุในปี พ.ศ. 2553

แก้

ปลายปี พ.ศ. 2552 กิจกรรมแผ่นดินไหวได้เกิดขึ้นรอบพื้นที่ภูเขาไฟเอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์ โดยมีแผ่นดินไหวขนาดย่อมหลายพันครั้ง (ส่วนใหญ่มีความรุนแรง 1-2 โมเมนต์-แมกนิจูด ลึกลงไป 7-10 กิโลเมตรใต้ภูเขาไฟ) [5] เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ชุดอุปกรณ์ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) ซึ่งสถาบันอุตุนิยมวิทยาแห่งไอซ์แลนด์ใช้ที่ทุ่งทอร์วัลต์เซรีในแถบเอยาฟเยิตล์ (ห่างออกไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 15 กิโลเมตรจากจุดที่มีการปะทุของภูเขาไฟครั้งล่าสุด[6]) ได้แสดงให้เห็นว่า เปลือกท้องถิ่นได้เคลื่อนไปทางทิศใต้ 3 เซนติเมตร โดยการเคลื่อน 1 เซนติเมตร ใช้เวลาภายใน 4 วัน ความผิดปกติของกิจกรรมแผ่นดินไหวครั้งนี้ประกอบกับการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วของแผ่นเปลือกโลกในพื้นที่ได้ให้หลักฐานแก่นักธรณีฟิสิกส์ว่า หินหนืด (magma) จากใต้แผ่นเปลือกโลกกำลังไหลเข้าสู่กะเปาะหินหนืด (magma chamber) ใต้ภูเขาไฟเอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์ กิจกรรมแผ่นดินไหวดังกล่าวยังได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และนับตั้งแต่วันที่ 3-5 มีนาคม ได้เกิดแผ่นดินไหวเกือบ 3,000 ครั้งซึ่งตรวจวัดได้ที่จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวในภูเขาไฟ

 
การปะทุเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2553

การปะทุเกิดขึ้นทางตอนใต้ของไอซ์แลนด์ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553 ณ ระบบภูเขาไฟเอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์ รายงานการพบเห็นครั้งแรกเกิดขึ้นราว 23:00 น. ตามเวลามาตรฐานกรีนิช โดยกลุ่มเมฆสีแดงถูกพบเห็นที่ภูเขาไฟ การปะทุเป็นผลสืบเนื่องมาจากกิจกรรมแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงและการเปลี่ยนลักษณะในอัตราสูงในช่วงหลายสัปดาห์ก่อนหน้าการปะทุ ประกอบกับหินหนืดซึ่งเติมพลังให้กับภูเขาไฟ[7]

เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2553 เอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์ยังคงปะทุขึ้นอีกครั้งหลังจากหยุดชะงักไปชั่วระยะหนึ่ง การปะทุครั้งนี้เกิดขึ้นที่ตรงกลางของธารน้ำแข็ง ทำให้อุทกภัยที่เกิดจากน้ำแข็งละลายไหลทะลักลงสู่แม่น้ำที่อยู่ใกล้เคียงซึ่งอยู่ทั้งสองด้านของภูเขาไฟ และประชาชน 800 คนต้องถูกอพยพจากพื้นที่ ถนนตามแม่น้ำมาร์คาร์ปลีโยตถูกทำลายในหลายพื้นที่[8]

ไม่เหมือนกับการปะทุครั้งก่อนหน้า การปะทุครั้งที่สองเกิดขึ้นที่ใต้น้ำแข็งของธารน้ำแข็ง น้ำเย็นซึ่งเกิดจากการละลายของน้ำแข็งได้ทำให้ลาวาเย็นลงอย่างรวดเร็วและทำให้ลาวาที่แข็งตัวนั้นแตกกลายเป็นแก้ว ทำให้เกิดอนุภาคแก้วขนาดเล็กซึ่งถูกนำพาไปในพวยเถ้าถ่าน ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้น ก็ทำให้สายการบินที่ออกจากยุโรปและเข้ามายุโรปต้องปิดลงหลายวัน ประกอบกับขนาดของการปะทุ ซึ่งคาดกันว่ามีขนาดเป็น 10-20 เท่า ของการปะทุที่ฟิมม์เวอร์ดูเฮาลส์เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ส่งผลให้เกิดพวยเถ้าถ่านซึ่งมีแก้วเจือปนในปริมาณสูงตกค้างในชั้นบรรยากาศระดับสูง ซึ่งเป็นอันตรายต่ออากาศยาน[9]

สมุดภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Bartnicki; Haakenstad; Hov (31 October 2010). "Volcano Version of the SNAP Model" (PDF). Norwegian Meteorological Institute. p. 6.
  2. "Eyjafjallajökull". Peakbagger.com. สืบค้นเมื่อ 2015-11-24.
  3. "Increasing signs of activity at Eyjafjallajökull in Iceland : Eruptions". Scienceblogs.com. doi:10.1016/j.jog.2006.09.005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-19. สืบค้นเมื่อ 2010-04-17.
  4. ภูเขาไฟในประเทศไอซ์แลนด์
  5. Veðurstofa Íslands (5 March 2010) "Jarðskjálftahrina undir Eyjafjallajökli". Veðurstofa Ísland (The Meteorological Institute of Iceland).
  6. Measurements made by using maps and measurement tools from Fasteignaskrá Íslandskort "Fasteignaskrá measurement tools". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-26. สืบค้นเมื่อ 2010-06-12.
  7. Institute of Earth Sciences. Eruption in Eyjafjallajökull 20 March to present.
  8. Robert Barr (15 April 2010). "Iceland's volcanic ash halts flights in northern Europe". BBC News. สืบค้นเมื่อ 15 April 2010.[ลิงก์เสีย]
  9. "Iceland's volcanic ash halts flights across Europe | World news | guardian.co.uk". Guardian. 2008-01-23. สืบค้นเมื่อ 2010-04-18.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
บทความทางภูมิศาสตร์
การพยากรณ์เถ้าภูเขาไฟ
แผนที่