เอนก เหล่าธรรมทัศน์

ศาสตราจารย์พิเศษ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ (เกิด 20 มกราคม พ.ศ. 2497[1]) นักวิชาการและนักการเมืองชาวไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และเป็นกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สมาชิกและกรรมการบริหารพรรครวมพลังประชาชาติไทย กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2] ที่ปรึกษาและกรรมการคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง[3] ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 7/2560 ประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาพรรคการเมืองเพื่อการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญ ตามคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 14/2560 อธิการ วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต นักวิชาการและนักการเมือง อดีตหัวหน้าพรรคมหาชน และอดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นเจ้าของทฤษฎี "สองนคราประชาธิปไตย" ที่สรุปว่า "คนต่างจังหวัดตั้งรัฐบาล คนกรุงเทพฯล้มรัฐบาล" เคยได้รับสมญานามจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า "ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง"[4][5]

เอนก เหล่าธรรมทัศน์
เอนก ใน พ.ศ. 2565
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ดำรงตำแหน่ง
5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
(3 ปี 27 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าสุวิทย์ เมษินทรีย์
ถัดไปศุภมาส อิศรภักดี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 มกราคม พ.ศ. 2497 (70 ปี)
อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2544–2547)
มหาชน (2547–2548)
รวมใจไทยชาติพัฒนา (2550–2551)
รวมพลัง (2561–ปัจจุบัน)
คู่สมรสศาสตราจารย์ พญ.จิรพร เหล่าธรรมทัศน์
ลายมือชื่อ

ประวัติ

แก้

ศาสตราจารย์พิเศษ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ จบการศึกษาชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก หลังจากนั้นปี พ.ศ. 2515 ได้สอบเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาได้ร่วมก่อตั้ง พรรคจุฬาประชาชน ปี พ.ศ. 2519 ได้รับเลือกตั้งเป็น นายกสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[6] เมื่อเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา ได้ลี้ภัยการเมืองไปอยู่ในป่าที่ เขตจังหวัดพัทลุง ตรัง และสตูลอยู่ประมาณ 4 ปี

เมื่อเหตุการณ์สงบแล้วจึงได้ตัดสินใจเปลี่ยนแนวทางการศึกษาจากแพทยศาสตร์มาศึกษาด้านรัฐศาสตร์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา สมรสกับจิรพร และไปศึกษาต่อด้วยกันที่นั่น โดยได้เข้าศึกษาในระดับปริญาตรีที่วิทยาลัยชาร์ลสตัน จากนั้นก็ได้ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยจอร์เจีย จนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท และต่อมาก็ได้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ซึ่งสำเร็จการศึกษาเป็นคนแรกในระดับชั้น เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วก็ได้รับมอบหมายให้สอนวิชาเศรษฐกิจการเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระยะหนึ่ง ก่อนจะกลับมาเป็นอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและคณบดี คณะรัฐศาสตร์ นอกจากนี้ยังได้รับเชิญไปเป็นศาสตราจารย์เยี่ยมเยือนที่วิทยาลัยระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูงพอล เอช. นิทซ์ (SAIS) ของมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. อีกด้วย[7]

เอนกได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553[8]

ครอบครัว

แก้

เอนกสมรสกับจิรพร เหล่าธรรมทัศน์ หัวหน้าศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ มีบุตรทั้งสิ้น 4 คน คือ อิศรา เหล่าธรรมทัศน์ (อิศ) เขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ (เขต) อินทิรา เหล่าธรรมทัศน์ (อิน) และเขมรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ (เขม) และเป็นอาของจุฑาภัทร เหล่าธรรมทัศน์ (น้องพลับ) นักร้อง นักแสดง และจุฑาฑัตต เหล่าธรรมทัศน์ (พลัม) ผู้จัดการและเจ้าของโรงแรมห้าดาว เทวมันตร์ทรา รีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี

ชีวิตทางการเมือง

แก้

เอนกเริ่มชีวิตทางการเมืองโดยเป็นที่ปรึกษาให้กับมารุต บุนนาค ประธานสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น มีส่วนร่วมในการก่อตั้ง สถาบันพระปกเกล้า ต่อมาในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธได้เป็นที่ปรึกษาให้กับจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ก่อนจะมาเป็นที่ปรึกษาให้กับ พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลชวน 2

ช่วงหลังจากนั้นจึงได้มีบทบาทในพรรคประชาธิปัตย์ จนสุดท้ายได้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ต่อมาเมื่อพลตรีสนั่น เกิดความขัดแย้งกับ สมาชิกพรรคสายนายชวน หลีกภัย และลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ เอนกก็ลาออกตามสนั่นมาก่อตั้งพรรคมหาชน และรับตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคมหาชนคนแรก หลังก่อตั้งพรรคได้ไม่นานนัก พรรคก็ต้องส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย พ.ศ. 2548 และได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียง 2 คนจากที่เคยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 20 คน เอนกในฐานะหัวหน้าพรรคจึงแสดงความรับผิดชอบโดยลาออกจากตำแหน่ง และต่อมากรรมการบริหารพรรคมหาชนมีมติให้สนั่นรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนใหม่ ซึ่งในหาเสียงเลือกตั้งคราวนี้เอนกได้ถูกปรามาสจาก พ.ต.ท.ด.ร.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทยว่าเป็นเพียง "ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง"

ปัจจุบันเอนก เป็นนักวิชาการ และอธิการวิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต และเป็นกรรมการสถามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เอนกได้แต่งหนังสือกว่าสิบเล่ม โดยเฉพาะหนังสือ "สองนคราประชาธิปไตย" ที่กล่าวว่าการเมืองในประเทศไทยนั้น คนจากชนบทจัดตั้งรัฐบาล คนในกรุงเทพมหานครเป็นผู้ล้มรัฐบาล และมีหนังสือ "พิศการเมือง" ที่กล่าวถึงประวัติของตนเอง ช่วงการก่อตั้งพรรคมหาชน จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ openbooks

ในกลางปี พ.ศ. 2550 เอนกได้ร่วมกับประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์จัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ คือ พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา แต่เอนกก็ได้ลาออกจากพรรคดังกล่าวในปีต่อมา[9]

หลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557

แก้

เขาดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาและกรรมการคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 7/2560 และดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาพรรคการเมืองเพื่อการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญ ตามคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 14/2560 เขาเคยกล่าวในเวทีเสวนาว่า เขาเคยเข้าร่วมชุมนุม เหตการณ์ 14 ตุลา ซึ่ง ถ้าเขารู้ว่าประชาธิปไตยเป็นแบบนี้ เขาจะไม่เข้าร่วมชุมนุม 14 ตุลาหรอก[10]

ในปี พ.ศ. 2561 เอนกเป็นสมาชิก และกรรมการบริหารพรรครวมพลังประชาชาติไทย ซึ่งต่อมาเอนกดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคในปี พ.ศ. 2564[11] หลังจากนั้นพรรคได้เปลี่ยนชื่อเป็นพรรครวมพลัง ในปี พ.ศ. 2565[12]

ในปี พ.ศ. 2563 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการปรับคณะรัฐมนตรีเดือนสิงหาคม[13]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

ศาสตราจารย์ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรครวมพลัง (เลื่อนแทน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๑๙ ง หน้า ๑๐, ๑๗ มกราคม ๒๕๖๐
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ, เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง หน้า ๑, ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐
  4. ย้อนรอย “เอนก เหล่าธรรมทัศน์” ฉายาไอ้หนุ่มซินตึ๊ง
  5. 'ธนาธร'เคืองแค้นไทยไปทำไม'เอนก'กระตุกสำนึกไม่มีแผ่นดินไหนให้โอกาสคนพันธุ์อื่นได้ดีกว่าประเทศไทย
  6. "รายนามนายกสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-19. สืบค้นเมื่อ 2012-06-12.
  7. มหาวิทยาลัยของผม: ในอเมริกา เอนก เหล่าธรรมทัศน์
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ, เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๑๐๔ ง หน้า ๑๗, ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๓
  9. ""เอนก"ไขก๊อกลาออกจากพรรครวมใจไทยฯ อ้างอยากกลับไปเป็นนักวิชาการ". ryt9.com. 24 Apr 2008. สืบค้นเมื่อ 4 Aug 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. เมื่อ “เอนก” บอก “ถ้าย้อนเวลาได้ อาจไม่ร่วม 14 ตุลาฯ”
  11. ""เอนก" นั่งหัวหน้าพรรครวมพลังประชาชาติไทย คนใหม่". Thai PBS. 2021-11-21. สืบค้นเมื่อ 2022-08-04.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. Pafun (2022-04-24). "พรรคสุเทพ เปลี่ยนชื่อเป็น "พรรครวมพลัง" แต่งตั้งเลขาธิการพรรคใหม่". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 2022-08-04.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๑๘๐ ง หน้า ๑, ๖ สิงหาคม ๒๕๖๓
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ถัดไป
สุวิทย์ เมษินทรีย์    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ครม. 62)
(5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 - 1 กันยายน พ.ศ. 2566)
  ศุภมาส อิศรภักดี