เอตทัคคะ
เอตทัคคะ หมายถึง ผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ[1] เป็นตำแหน่งที่พระพุทธเจ้าได้ประทานแต่งตั้งให้พระสาวกของพระองค์ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีความรู้ความสามารถเด่นกว่าท่านอื่น ๆ ในด้านนั้น ๆ และตำแหน่งเอตทัคคะแต่ละตำแหน่งทรงแต่งตั้งเพียงรูปเดียวท่านเดียวเท่านั้น ในแต่ละพุทธบริษัทแต่ละฝ่าย
ประวัติ
แก้เอตทัคคะ นั้น คือ ตำแหน่งที่พระพุทธเจ้ายกย่องพุทธสาวก ว่า เป็นผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางใดหนึ่ง เป็นผู้ประเสริฐสุด ตำแหน่ง เอตทัคคะ นี้ ย่อมได้โดยเหตุ 4 ประการคือ
- โดยเหตุเกิดเรื่อง (อัตถุปปัตติ) คือ ได้แสดงความสามารถออกมาให้ปรากฏโดยสอดคล้องในเหตุการณ์หรือสถานการณ์นั้นๆ ที่เกิดขึ้น
- โดยการมาก่อน (อาคมนะ) คือได้สร้างบุญสะสมในด้านนั้นมาตั้งแต่อดีตชาติพร้อมทั้งได้ตั้งจิตปรารถนาเพื่อได้ตำแหน่งเอตทัคคะนี้ด้วย
- โดยเป็นผู้ช่ำชองชำนาญ (จิณณวสี) คือได้เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องนั้นๆ เป็นพิเศษ
- โดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ (คุณาติเรก) คือมีความสามารถในเรื่องที่ทำให้ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะเหนือกว่าผู้อื่นที่มีความสามารถอย่างเดียวกัน
ผู้ที่เป็นเอตทัคคะ
แก้- เอตทัคคะ ฝ่ายพระภิกษุ มี 41 ท่าน เป็นพระอสีติมหาสาวกทั้งหมด
- เอตทัคคะ ฝ่ายพระภิกษุณี มี 13 ท่าน
- เอตทัคคะ ฝ่ายอุบาสก มี 10 ท่าน
- เอตทัคคะ ฝ่ายอุบาสิกา มี 10 ท่าน
พระภิกษุสงฆ์ที่เป็นเอตทัคคะ
แก้ตำแหน่งเอตทัคคะ | ||
1 | พระอัญญาโกณฑัญญเถระ | รัตตัญญู (รู้ราตรีนาน-มีประสบการณ์มาก) |
2 | พระอุรุเวลกัสสปเถระ | ผู้มีบริวารมาก |
3 | พระสารีบุตรเถระ (อัครสาวกฝ่ายขวา) | ผู้มีปัญญา |
4 | พระมหาโมคคัลลานเถระ (อัครสาวกฝ่ายซ้าย) | ผู้มีฤทธิ์ |
5 | พระปุณณมันตานีบุตรเถระ | ผู้เป็นพระธรรมกถึก |
6 | พระกาฬุทายีเถระ | ผู้ทำตระกูลให้เลื่อมใส |
7 | พระนันทเถระ (ศากยะ) | ผู้สำรวมอินทรีย์ |
8 | พระราหุลเถระ | ผู้ใคร่ในการศึกษา |
9 | พระอุบาลีเถระ | ผู้ทรงพระวินัย |
10 | พระภัททิยเถระ | ผู้เกิดในตระกูลสูง |
11 | พระอนุรุทธเถระ | ผู้มีทิพยจักษุ |
12 | พระอานนทเถระ | ผู้เป็นพหูสูต ผู้มีสติ ผู้มีคติ ผู้มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก |
13 | พระโมฆราชเถระ | ผู้ยินดีในจีวรเศร้าหมอง |
14 | พระปิณโฑลภารทวาชเถระ | ผู้บันลือสีหนาท |
15 | พระมหากัจจายนเถระ | ผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร |
16 | พระสีวลีเถระ | ผู้มีลาภ(มาก) |
17 | พระโสณกุฏิกัณณเถระ | ผู้มีถ้อยคำไพเราะ |
18 | พระมหากัสสปเถระ | ผู้ถือและสรรเสริญธุดงค์ |
19 | พระราธเถระ | ผู้ทรงปฏิภาณ (ญาณแจ่มแจ้งในพระธรรมเทศนา) |
20 | พระลกุณฏกภัททิยเถระ | ผู้มีเสียงไพเราะ |
21 | พระทัพพมัลลบุตรเถระ | ผู้จัดแจงเสนาสนะ |
22 | พระพากุลเถระ | ผู้มีอาพาธน้อย |
23 | พระวักกลิเถระ | ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา (สัทธาธิมุต) |
24 | พระมหากัปปินเถระ | ผู้กล่าวสอนภิกษุ |
25 | พระอุปเสนเถระ | ผู้นำความเลื่อมใสมาโดยรอบ (ในหมู่ชนทั้งชั้นสูงและชั้นตํ่า) |
26 | พระขทิรวนิยเรวตเถระ | ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร |
27 | พระสุภูติเถระ | ผู้อรณวิหาร (เจริญฌานประกอบด้วยเมตตา) และผู้เป็นทักขิไณยบุคคล |
28 | พระพาหิยทารุจีริยเถระ | ผู้ตรัสรู้เร็วพลัน (ขิปปาภิญญา) |
29 | พระวังคีสเถระ | ผู้มีปฏิภาณ (กล่าวคาถาสรรเสริญคุณพระศาสดา) |
30 | พระโสณโกฬิวิสเถระ | ผู้ปรารภความเพียร |
31 | พระโสภิตเถระ | ผู้ระลึกชาติก่อน (ปุพเพนิวาสานุสติญาณ) |
32 | พระนันทกเถระ (มิใช่ศิษย์พราหมณ์พาวรี) | ผู้กล่าวสอนภิกษุณี |
33 | พระกังขาเรวตเถระ | ผู้ยินดีในฌาน |
34 | พระมหาปันถกเถระ | ผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฏ (วิปัสสนา) |
35 | พระจูฬปันถกเถระ | ผู้เนรมิตกายด้วยมโนมยิทธิ ผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏ |
36 | พระกุณฑธานเถระ | ผู้รับสลากก่อน |
37 | พระรัฐบาลเถระ | ผู้บวชด้วยศรัทธา |
38 | พระกุมารกัสสปเถระ | ผู้แสดงธรรมวิจิตร |
39 | พระมหาโกฎฐิตเถระ | ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา |
40 | พระสาคตเถระ | ผู้ฉลาดในเตโชธาตุ(กสิณ) |
41 | พระปิลินทวัจฉเถระ | ผู้เป็นที่รักใคร่ชอบใจของเทวดา |
พระภิกษุณีที่เป็นเอตทัคคะ
แก้ตำแหน่งเอตทัคคะ | ||
1 | พระมหาปชาบดีเถรี | ผู้เป็นรัตตัญญู |
2 | พระเขมาเถรี | ผู้มีปัญญา |
3 | พระอุบลวรรณาเถรี | ผู้มีฤทธิ์ |
4 | พระปฏาจาราเถรี | ผู้ทรงพระวินัย |
5 | พระนันทาเถรี | ผู้ยินดีในฌาน |
6 | พระธรรมทินนาเถรี | ผู้เป็นธรรมกถึก |
7 | พระโสณาเถรี | ผู้ปรารภความเพียร |
8 | พระสกุลาเถรี | ผู้มีทิพยจักษุ |
9 | พระภัททากุณฑลเกสาเถรี | ผู้ตรัสรู้เร็วพลัน |
10 | พระภัททกาปิลานีเถรี | ผู้ระลึกชาติก่อน (ปุพเพนิวาสานุสติญาณ) |
11 | พระภัททากัจจานาเถรี (พระนางยโสธรา) | ผู้บรรลุอภิญญาใหญ่ |
12 | พระกีสาโคตมีเถรี | ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง |
13 | พระสิงคาลมาตาเถรี | ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา (สัทธาธิมุต) |
อุบาสกที่เป็นเอตทัคคะ
แก้ตำแหน่งเอตทัคคะ | ||
1 | ตปุสสะและภัลลิกะ | ผู้ถึงสรณะก่อน |
2 | อนาถปิณฑิกเศรษฐี | ผู้เป็นทายก |
3 | จิตตคหบดี | ผู้เป็นธรรมกถึก |
4 | หัตถกอุบาสก | ผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ 4 |
5 | พระเจ้ามหานามะ | ผู้ถวายปัจจัย 4 อันประณีต |
6 | อุคคคหบดี | ผู้ถวายโภชนะเป็นที่ชอบใจ |
7 | อุคคตคหบดี | ผู้เป็นสังฆอุปัฏฐาก |
8 | สูรอัมพัฏฐเศรษฐี | ผู้เลื่อมใสอย่างมั่นคง |
9 | ชีวกโกมารภัจจ์ | เลื่อมใสในตัวบุคคล |
10 | นกุลปิตาคหบดี | ผู้มีความคุ้นเคยในพระพุทธเจ้า |
อุบาสิกาที่เป็นเอตทัคคะ
แก้ตำแหน่งเอตทัคคะ | ||
1 | นางสุชาดา | ผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อน |
2 | นางวิสาขา | ผู้เป็นทายิกา |
3 | นางขุชชุตตรา | ผู้เป็นพหูสูต |
4 | นางสามาวดี | ผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา |
5 | นางอุตตรา (นันทมาตา) | ผู้ยินดีในฌาน |
6 | นางสุปปวาสา | ผู้ถวายรสอันประณีต |
7 | นางสุปปิยา | ผู้เป็นคิลานุปัฏฐาก |
8 | นางกาติยานี | ผู้เลื่อมใสมั่นคง |
9 | นางกาฬี (อุบาสิกาชาวกุรุรฆริกา) | ผู้เลื่อมใสโดยได้ยินได้ฟังตาม |
10 | นางนกุลมาตาคหปตานี | ผู้มีความคุ้นเคยในพระพุทธเจ้า |
อ้างอิง
แก้- ชีวประวัติพุทธสาวก ประวัติพระอัจฉริยะมหาเถระเมื่อครั้งพุทธกาล เล่ม 1 จำเนียร ทรงฤกษ์, 2542, พิมพ์โดยสำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว (สาขาวัดปากน้ำ), สำนักพิมพ์ธรรมสภา ISBN 974-7276-30-5
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. หน้า 1,433. ISBN 978-616-7073-56-9
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ 84000
- เว็บไชต ธรรมะ เกตเวย์ เก็บถาวร 2009-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน