เอกพจน์ วงศ์นาค
เอกพจน์ วงศ์นาค มีชื่อจริงว่า เอกพจน์ ปานแย้ม เป็นนักการเมืองและอดีตนักร้องชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี 4 สมัย และอดีตกรรมการบริหารพรรคชาติไทย และอดีตนายกเทศมนตรีเมืองคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
เอกพจน์ ปานแย้ม | |
---|---|
นายกเทศมนตรีเมืองคลองหลวง | |
ดำรงตำแหน่ง 28 มีนาคม พ.ศ. 2564 – 25 กันยายน พ.ศ. 2567[1] (3 ปี 181 วัน) | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี | |
ดำรงตำแหน่ง 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (12 ปี 15 วัน) | |
ก่อนหน้า | วาณี หาญสวัสดิ์ |
ถัดไป | ชนากานต์ ยืนยง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2512 อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2539–2548) ชาติไทย (2548–2551) ชาติไทยพัฒนา (2556–ปัจจุบัน) |
ประวัติ
แก้เอกพจน์ ปานแย้ม เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2512 ที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก็ออกเดินสายร้องเพลงลูกทุ่งไปตามที่ต่าง ๆ พร้อมกับเรียนการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ไปด้วย โดยเพลงที่ได้รับความนิยมและสร้างชื่อให้แก่เอกพจน์ คือ เพลง ทหารเกณฑ์คนจน[2] สังกัดค่ายชัวร์ออดิโอ ด้วยการชักชวนของเด๋อ ดอกสะเดา และมีชื่อเสียงเคียงคู่กับสุนารี ราชสีมา
งานการเมือง
แก้ในปลายปี พ.ศ. 2539 เอกพจน์ลงสมัครรับเลือกตั้ง ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่จ.ปทุมธานีบ้านเกิด และได้รับการเลือกตั้ง โดยชนะทั้งนายชูชาติ หาญสวัสดิ์ และนางวาณี หาญสวัสดิ์ ส.ส.เก่าเจ้าของพื้นที่ยาวนาน ซึ่งทำให้เอกพจน์ได้กลายมาเป็นนักร้องลูกทุ่งคนแรกที่ได้เป็น ส.ส.
จากนั้น เอกพจน์ได้ศึกษาต่อจนจบในระดับปริญญาตรีที่สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ) และศึกษาต่อในระดับปริญญาโทรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 ได้ลงสมัครในพื้นที่เดิม สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งอีก ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 ได้ย้ายไปสังกัดพรรคชาติไทย ซึ่งก็ได้รับการเลือกตั้งอีก และในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 ได้ลงเลือกตั้งอีกครั้งเป็นครั้งที่ 4 ใน จ.ปทุมธานี สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกตั้งอีก
ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551[3] เมื่อพ้นจากการถูกตัดสิทธิทางเมือง จึงลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2557 แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
จากนั้นเอกพจน์ได้หันมาทำงานการเมืองท้องถิ่น โดยเขาเป็นหัวหน้าทีม "เพื่อนเอกพจน์" และลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีเมืองคลองหลวง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และได้รับเลือกตั้ง[4]
ผลงานเพลงดัง
แก้- เรารอเขาลืม
- มีแฟนหรือยัง
- ทหารเกณฑ์คนจน
- หนุ่มทุ่งคอยเธอ
- เชื่อผมเถอะน่า
- แอบฝัน
- เพียงฝัน
- ห้องนอนคนจน
- รักเพราะรอยยิ้ม
- คนสวยผิดนัด
- ไอ้หนุ่ม ต.ช.ด.
- สาวโรงงานคนสวย
- เก็บแผลใจมาบ้านนา
- จดหมายเปื้อนฝุ่น
- ชายใจเดียว
- ใจตรงกัน
- น่ารัก น่ารัด
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ "มท.1 เซ็นคำสั่ง 'เอกพจน์' พ้น 'นายกฯคลองหลวง' ปมทุจริตถุงยังชีพช่วงโควิด". bangkokbiznews. 2024-09-26.
- ↑ “เอกพจน์ วงศ์นาค” ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- ↑ "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
- ↑ 7 ปีที่รอ "เอกพจน์" มาแล้ว คว่ำเด็ก "บิ๊กแจ๊ส"
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖