เศรษฐยาธิปไตย[1] หรือ ธนาธิปไตย (กรีก: πλοῦτος, ploutos, 'ความมั่งคั่ง' + κράτος, kratos, 'ปกครอง' - อังกฤษ: plutocracy, plutarchy) เป็นระบอบการปกครองที่คนมีเงินเป็นผู้ถือครองอำนาจทางการเมือง[2] โดยเป็นรูปแบบหนึ่งของคณาธิปไตย และสามารถนิยามด้วยว่า เป็นสังคมที่ปกครองหรือควบคุมโดยประชาชนที่มั่งคั่งที่สุดส่วนน้อย เป็นการเมืองเพื่ออำนาจ เพื่อผลประโยชน์ และสิทธิพิเศษ ของกลุ่มคนที่มีอำนาจทางการเมือง โดยต้องใช้เงินเป็นองค์ประกอบหลัก[3] มีการใช้คำทำนองนี้เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2195[4] โดยไม่เหมือนกับระบบประชาธิปไตย สังคมนิยม หรืออนาธิปไตย เศรษฐยาธิปไตยไม่มีมูลฐานจากปรัชญาการเมือง และชนมั่งคั่งในสังคมอาจสนับสนุนให้ใช้เศรษฐยาธิปไตยโดยไม่ได้ทำตรง ๆ หรือทำอย่างปกปิด คำนี้จึงมักใช้ในทางลบ[5]

ผู้มีอำนาจในระบอบนี้อาจก่อปัญหาหลายอย่างรวมทั้ง

  • ไม่ใส่ใจหน้าที่รับผิดชอบทางสังคมของตน[6]
  • ใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและดังนั้น เพิ่มความยากจน[6]
  • สร้างความแบ่งแยกระหว่างชนชั้น[6]
  • ทำสังคมให้เสื่อมทรามด้วยความโลภและสุขารมณ์นิยม (หรือกามสุขัลลิกานุโยค)[6]
  • ทุจริตโดยนโยบาย[2]
  • ทุจริตการเลือกตั้ง[2]
  • ขาดจริยธรรม[2]
  • นักการเมืองเข้าสู่อำนาจด้วยเงิน จึงอาจไม่มีคุณสมบัติเพื่อบริหารบ้านเมือง[2]

การใช้

แก้

คำนี้มักใช้ในทางลบเพื่ออธิบายหรือเตือนให้สำนึกถึงสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์[7][8] ตลอดประวัติศาสตร์ นักคิดทางการเมืองชาวตะวันตกทั้งหลายรวมทั้งวินสตัน เชอร์ชิล, นักสังคมวิทยาและประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Alexis de Tocqueville (คริสต์ทศวรรษที่ 19), ผู้นิยมระบอบราชาธิปไตยชาวสเปน Juan Donoso Cortés, และในปัจจุบัน นักปฏิบัติการผู้ชื่นชอบสังคมนิยมแบบอิสรนิยม โนม ชอมสกี ได้ตำหนิผู้ครองอำนาจเช่นนี้เพราะ[6][9]

  • ไม่ใส่ใจหน้าที่รับผิดชอบทางสังคมของตน
  • ใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและดังนั้น เพิ่มความยากจน
  • สร้างความแบ่งแยกระหว่างชนชั้น
  • ทำสังคมให้เสื่อมทรามด้วยความโลภและสุขารมณ์นิยม (หรือกามสุขัลลิกานุโยค)

ธนาธิปไตยยุคใหม่ถูกสื่อความหมายในทางลบ โดยเป็นการประสานกันของอำนาจทางการเงินและทางการเมือง การใช้เงินเพื่อได้ผลทางอำนาจบริหารรัฐกิจ หรือหมายถึงการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐ การมีส่วนร่วมกับพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลเพื่อผลประโยชน์ตนเอง บุคคลร่ำรวย หรือธนาธิปัตย์ (plutocrat) การผลักดันให้รัฐออกนโยบายเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจตัวเอง อาจส่งผลต่อนโยบายระดับต่างประเทศ เช่น นโยบายสนับสนุนสงครามเพื่อขายอาวุธ เครื่องบินรบ เรือรบ[10]

ในโฆษณาชวนเชื่อ

แก้

ในศัพท์เฉพาะและโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองของฟาสซิสต์อิตาลี ของนาซีเยอรมนี และขององค์การคอมมิวนิสต์สากล รัฐประชาธิปไตยแบบตะวันตกจะถูกเรียกว่า เศรษฐยาธิปไตย โดยนัยว่า คนที่ร่ำรวยสุดจะควบคุมประเทศต่าง ๆ และจับประเทศไว้เพื่อเรียกค่าไถ่[11][12] ในลัทธิฟาสซิสต์ คำว่า เศรษฐยาธิปไตย เป็นหลัก จะแทนคำว่า ประชาธิปไตย และ ทุนนิยม เมื่อใช้กับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2[12][13] สำหรับพวกนาซี คำนี้มักใช้เป็นรหัสเรียกพวกชาวยิว[12]

การเมืองปัจจุบัน

แก้

ตามประวัติแล้ว คนหรือองค์กรที่ร่ำรวยได้มีอิทธิพลทางการเมืองมานานแล้ว ในยุคปัจจุบัน รัฐประชาธิปไตยหลายรัฐอนุญาตให้นักการเมืองระดมเงินทุน ผู้บ่อยครั้งอาศัยรายได้เช่นนี้เพื่อโฆษณาการสมัครรับเลือกตั้งของตนต่อประชาชนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง

ไม่ว่าจะผ่านบุคคล บริษัท หรือกลุ่มสนับสนุน การบริจาคเงินเพื่อการนี้บ่อยครั้งเชื่อว่า สร้างปัญหาการเล่นพรรคเล่นพวกหรือระบบอุปถัมภ์ ที่ผู้ให้เงินทุนรายใหญ่จะได้สิ่งตอบแทน แม้ว่าการให้ทุนเลือกตั้งอาจจะไม่มีผลโดยตรงต่อการออกฎหมายของผู้แทน แต่ความคาดหวังตามธรรมดาของผู้บริจาคก็คือ จะได้สิ่งที่ต้องการผ่านคนที่ตนให้เงิน ไม่เช่นนั้นแล้ว การให้เงินทุนแก่ผู้อื่นหรือองค์กรการเมืองอื่นอาจได้ประโยชน์กว่า

แม้ว่า การให้สิ่งตอบแทนตรง ๆ โดยทั่วไปจะผิดกฎหมายรัฐประชาธิปไตยโดยมาก แต่ก็เป็นเรื่องพิสูจน์ได้ยาก ถ้าไม่มีเอกสารเป็นลูกโซ่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน หลักสำคัญอย่างหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย ก็คือนักการเมืองสามารถสนับสนุนนโยบายอันให้ประโยชน์กับประชาชนในเขตของตน ซึ่งก็ทำให้พิสูจน์ได้ยากขึ้นว่าการกระทำเยี่ยงนั้นเป็นอาชญากรรม แม้แต่การตั้งคนที่ชัดเจนว่าให้เงินทุนขึ้นมาประจำตำแหน่งก็อาจยังไม่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะถ้าผู้ที่ได้ปรากฏว่ามีคุณสมบัติที่ดีสำหรับตำแหน่งนั้น บางรัฐแม้แต่มีกฎหมายอนุญาตให้ใช้การอุปถัมภ์เยี่ยงนี้

ตัวอย่าง

แก้

ตัวอย่างของเศรษฐยาธิปไตยในอดีตรวมทั้งจักรวรรดิโรมัน, นครรัฐบางรัฐในกรีซโบราณ, อารยธรรมคาร์เธจ, นครรัฐ/สาธารณรัฐวาณิชต่าง ๆ ในอิตาลีรวมทั้ง สาธารณรัฐเวนิส สาธารณรัฐฟลอเรนซ์ (โดยตระกูลเมดีชี) กับสาธารณรัฐเจนัว, และจักรวรรดิญี่ปุ่นก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (โดยกลุ่มไซบัตสึ) ตามนักปฏิบัติการทางการเมืองโนม ชอมสกี และอดีตประธานาธิบดีสหรัฐ จิมมี คาร์เตอร์ สหรัฐอเมริกาในปัจจุบันมีการปกครองคล้ายกับเศรษฐยาธิปไตย แม้จะมีรูปแบบของประชาธิปไตย[14][15]

ตัวอย่างปัจจุบันที่ชัดเจนตามผู้วิพากษ์วิจารณ์บางท่านก็คือนครลอนดอน[16] คือ นครลอนดอน (ซึ่งไม่ใช่กรุงลอนดอนทั้งหมด แต่เป็นเขตนครโบราณ ใหญ่ประมาณ 2.5 ตาราง กม. ซึ่งปัจจุบันเป็นเขตการเงิน) มีระบบการเลือกตั้งพิเศษเพื่อบริหารจัดการท้องที่ ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงกว่า 2 ใน 3 ไม่ใช่เป็นผู้อยู่อาศัยในพระนคร แต่เป็นผู้แทนธุรกิจและองค์กรอื่น ๆ ที่อยู่ในนคร โดยมีคะแนนเสียงตามจำนวนลูกจ้างที่มี เหตุผลหลักก็คือ ธุรกิจเป็นผู้ใช้บริการของนครโดยมาก คือ มีบุคคลที่เข้ามาทำงานในเมืองประมาณ 450,000 คน มากกว่าผู้อาศัยอยู่ในเมืองเพียงแค่ 7,000 คน[17]

ประเทศไทย

แก้

บล็อกประชาไทอ้างว่า ประเทศไทยก็มีรูปแบบบางอย่างของธนาธิปไตย รวมทั้งการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีของนครเชียงใหม่ล่าสุดก่อนบล็อก ที่อาศัยเงิน และคนชนะได้มาจากตระกูลเดียวที่มั่งคั่งของจังหวัดเชียงใหม่[2]

จีนก่อนคอมมิวนิสต์

แก้

ในประเทศจีนก่อนการปฏิวัติโดยพรรคคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ. 2492 กล่าวกันว่าอำนาจการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ อยู่ใต้อำนาจของชนสี่ตระกูล ได้แก่ ตระกูลเจียง (Jiang) ตระกูลซ่ง (Song) ตระกูลคุง (Kung) และตระกูลเชน (Chen) ทั้งนี้สามตระกูลแรกจะเกี่ยวดองกันโดยการแต่งงานกัน และมีบทบาทอย่างสูงต่อการเมืองจีนในยุคนั้น

สหรัฐอเมริกา

แก้

นักประวัติศาสตร์ นักการเมือง และนักเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันบางคนอ้างว่า สหรัฐอเมริกาเท่ากับเป็นเศรษฐยาธิปไตยอย่างน้อยก็บางส่วนในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 จนถึง 1900 (Gilded Age) และในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1890 ถึง 1920 (Progressive Era) ภายหลังสงครามกลางเมืองอเมริกาจนกระทั่งถึงเริ่มภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่[18][19][20][21][22][23] ประธานาธิบดีธีโอดอร์ โรสเวลต์ กลายมามีชื่อเสียงฐานมือปราบผู้ผูกขาดทางการค้า (หรือที่เรียกว่าทรัสต์) โดยใช้กฎหมายต่อต้านทรัสต์ แตกบริษัทรถไฟ (Northern Securities Company) และบริษัทน้ำมันที่ใหญ่ที่สุด (Standard Oil)[24] ตามนักประวัติศาสตร์คนหนึ่ง "ในเรื่องการเมืองในประเทศ สิ่งที่ธีโอดอร์ โรสเวลต์ เกลียดที่สุดก็คือเศรษฐยาธิปไตย"[25] ในอัตชีวประวัติเรื่องการจัดการบริษัทผูกขาดในฐานะประธานาธิบดี โรสเวลต์เล่าว่า

…เราได้มาถึงเวลาที่เพื่อประโยชน์ประชาชน สิ่งที่จำเป็นก็คือประชาธิปไตยที่แท้จริง และในบรรดารูปแบบทรราชย์ทั้งหลาย ที่น่าพิสมัยน้อยที่สุด ที่สามานย์มากที่สุด ก็คือทรราชย์ที่อาศัยความมั่งคั่ง ระบอบทรราชย์ของเศรษฐยาธิปไตย

เมื่อกฎหมายต่อต้านทรัสต์เชอร์แมนได้ผ่านเป็นกฎหมายในปี 2433 อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้ถึงระดับการผูกขาดหรือใกล้การผูกขาดในเรื่องการผลิตและเงินทุน โดยรวบรวมบริษัทเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมทั้งคนมั่งคั่งมากผู้เป็นประธานบริษัทยักษ์ใหญ่ไม่กี่คน ก็เริ่มมีอิทธิพลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เหนืออุตสาหกรรม มติมหาชน และการเมืองหลังสงครามการเมือง ตามนักปฏิบัติการหัวก้าวหน้าและนักข่าวคนหนึ่งในเวลานั้น

เงินเป็น 'ปูนของตึกใหญ่นี้' โดยความแตกต่างทางคตินิยมระหว่างนักการเมืองก็กำลังเลือนไป และวงการเมืองก็กำลังกลายเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของธุรกิจที่ใหญ่กว่า ที่ผสมผสานกันดีกว่า โดยผ่านพรรคการเมืองที่ขายผลประโยชน์ให้กับบริษัทยักษ์อย่างเป็นรูปธรรม รัฐก็กลายเป็นเพียงแค่แผนกหนึ่งของบริษัท

— Walter Weyl - นักปฏิบัติการหัวก้าวหน้าและนักข่าว[27]

ในหัวข้อเรื่อง การเมืองแห่งเศรษฐยาธิปไตย (The Politics of Plutocracy) นักเศรษฐศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ พอล ครุ๊กแมน กล่าวว่า[28] เศรษฐยาธิปไตยในสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นได้ในเวลานั้นอาศัยปัจจัยสามอย่าง คือ

  • ในเวลานั้น ผู้อาศัยอยู่ในอเมริกา 1/4 ที่ยากจนที่สุด (รวมทั้ง ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา และผู้ย้ายถิ่นที่ยังไม่แปลงสัญชาติ) ไม่มีสิทธิลงคะแนนเสียง
  • เศรษฐีให้เงินทุนการหาเสียงแก่นักการเมืองที่ตนชอบ
  • และการซื้อเสียงเป็นเรื่องที่ "ทำได้ ง่าย และแพร่หลาย" ซึ่งก็เป็นจริงแม้ในการฉ้อฉลการเลือกตั้งอื่น ๆ เช่น การลงคะแนนเกินครั้งเดียว และการข่มขู่ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

แม้สหรัฐจะได้เริ่มเก็บภาษีอัตราก้าวหน้าตั้งแต่ปี 2456 แล้ว แต่ตามนักสังคมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียคนหนึ่ง เริ่มตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 อภิสิทธิชนได้ใช้อำนาจทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อลดภาษีของตน และปัจจุบันได้ใช้ "อุตสาหกรรมป้องกันรายได้" เพื่อลดภาษีของตนได้อย่างมหาศาล[29]

ในปี 2541 นักข่าวคนหนึ่งของหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ เรียกเศรษฐีทรงอำนาจ (plutocrat) ชาวอเมริกันว่า "คนชั้นบริจาค"[30][31] และนิยามคนชั้นนี้เป็นครั้งแรกว่าเป็น[32]

คนกลุ่มเล็กมาก เพียง 1 ใน 4 ของคนเปอร์เซ็นต์เดียว (คือ 0.25%) และเป็นกลุ่มประชากรที่ไม่ได้เป็นตัวแทนของคนทั้งชาติที่เหลือ แต่เงินของพวกเขาสามารถซื้อการเข้าถึงผู้แทนได้อย่างสบาย

— Bob Herbert - นักข่าวของหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์[30]

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

แก้

ในยุคปัจจุบัน คำนี้บางครั้งใช้ในทางลบโดยหมายถึงสังคมที่มีรากในทุนนิยมที่รัฐร่วมมือกับธุรกิจ หรือสังคมที่ให้ความสำคัญกับการสั่งสมความมั่งคั่งมากกว่าประโยชน์อื่น ๆ[33][34][35][36][37][38][39][40][41] ตามนักเขียนที่เป็นกุนซือทางการเมืองของริชาร์ด นิกสัน สหรัฐเป็นเศรษฐยาธิปไตยที่เป็น "การหลอมรวมของเงินและรัฐบาล"[42]

ส่วนนักเขียนและรัฐมนตรีของแคนาดา Chrystia Freeland[43] กล่าวว่า แนวโน้มไปสู่เศรษฐยาธิปไตยในปัจจุบันเกิดขึ้นเพราะเศรษฐีรู้สึกว่าผลประโยชน์ของตนก็เป็นประโยชน์ต่อสังคมด้วย[44][45] คือ

คุณไม่ทำอย่างนี้โดยหัวเราะอย่างถูกใจ สูบซิการ์ แล้วสมรู้ร่วมคิด คุณทำโดยกล่อมตัวเองว่า สิ่งที่เป็นประโยชน์ของตัวเองก็เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น ๆ ดังนั้น คุณย่อมกล่อมตัวเองว่า ในที่สุดแล้ว การบริการของรัฐบาล อะไร ๆ เช่นงบประมาณเพื่อการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างสมรรถภาพการเปลี่ยนสถานภาพทางสังคมประการแรก ต้องตัดออกเพื่อการขาดดุลจะได้ลดลง เพื่อภาษีของคุณจะได้ไม่เพิ่มขึ้น และสิ่งที่ดิฉันเป็นห่วงมากก็คือ คนระดับสูงสุดมีเงินและมีอำนาจมากจริง ๆ และช่องว่างระหว่างชนเหล่านั้นกับคนอื่น ๆ ใหญ่โตมาก จนกระทั่งเราจะเริ่มเห็น สมรรถภาพการเปลี่ยนสถานภาพทางสังคมถูกบีบจนหายใจไม่ออก แล้วสังคมก็จะเปลี่ยนไป

— Chrystia Freeland - นักเขียนและรัฐมนตรีของแคนาดา, NPR

เมื่อนักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบล โจเซฟ สติกลิตส์ เขียนบทความในนิตยสารปี 2554 ชื่อว่า "ของประชาชน 1% โดยประชาชน 1% และสำหรับประชาชน 1%" (เลียนสุนทรพจน์ที่เกตตีสเบิร์กปี 2406 ของอับราฮัม ลินคอล์นเกี่ยวกับรัฐบาลของประชาชนเป็นต้น) เขาได้ให้ข้อมูลว่า สหรัฐอเมริกากำลังถูกควบคุมโดยคนที่รวยที่สุด 1% เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[46][47] นักวิจัยบางท่านได้กล่าวว่า สหรัฐอาจจะกำลังระเหเร่ร่อนไปสู่รูปแบบหนึ่งของคณาธิปไตย เพราะประชาชนแต่ละคนมีอิทธิพลน้อยกว่าอภิสิทธิชนทางเศรษฐกิจและกลุ่มผลประโยชน์ในเรื่องนโยบายของรัฐ[48]

งานศึกษาทางรัฐศาสตร์ปี 2557 ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันและมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น[49] กล่าวว่า "งานวิเคราะห์แสดงว่า ประชาชนอเมริกันส่วนมากความจริงมีอิทธิพลต่อนโยบายที่รัฐออกน้อยมาก" แม้นักวิชาการทั้งสองท่านจะไม่ได้ระบุสหรัฐว่าเป็นระบอบคณาธิปไตย หรือเศรษฐยาธิปไตย โดยตัวเอง แต่ก็ยังเรียกสหรัฐว่า คณาธิปไตยแบบศิวิไลซ์ (civil oligarchy) ดังที่นิยามโดยนักรัฐศาสตร์อีกท่านหนึ่งที่มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น[50]

รัสเซีย

แก้

รายงานปี 2556 ของธนาคารสวิสที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก (Credit Suisse) กล่าวว่า

รัสเซียมีความไม่เสมอภาคทางทรัพย์สินระดับสูงสุดในโลก นอกเหนือจากประเทศแคริบเบียนเล็ก ๆ ที่มีผู้อยู่อาศัยเป็นอภิมหาเศรษฐี (billionaire) ทั่วโลก จะมีอภิมหาเศรษฐีคนหนึ่งทุก ๆ 170,000 ล้านเหรียญสหรัฐของทรัพย์สินประชาชน (แต่) รัสเซียมีหนึ่งคนทุก ๆ 11,000 ล้านเหรียญ ทั่วโลก อภิมหาเศรษฐีรวมกันมีทรัพย์สิน 1%-2% ของทรัพย์สินประชาชนทั้งหมด (แต่) ในรัสเซียทุกวันนี้ อภิมหาเศรษฐี 110 คนมีทรัพย์สิน 35% ของประชาชนทั้งหมด

— รายงานความมั่งคั่งทั่วโลก ของธนาคาร Credit Suisse [51]

ดูเพิ่ม

แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง

แก้
  1. "plutocracy", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (รัฐศาสตร์) เศรษฐยาธิปไตย
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 ชำนาญ จันทร์เรือง (8 October 2009). "ธนาธิปไตย (Plutocracy)". ประชาไท. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2017. อ้างว่าบทความเผยแพร่เป็นครั้งแรกในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับ 7 ตุลาคม 2552
  3. "การเมืองไทยในระบอบธนาธิปไตย". มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 21 May 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2009.
  4. "Plutocracy". Merriam Webster. สืบค้นเมื่อ 13 October 2012.
  5. Chomsky, Noam (15 August 2013). "[the transcript of a speech] delivered by Noam Chomsky in Bonn, Germany, at DW Global Media Forum". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2017. สืบค้นเมื่อ 7 June 2017. The study of attitudes is reasonably easy [...] it's concluded that for roughly 70% of the population - the lower 70% on the wealth/income scale - they have no influence on policy whatsoever. They're effectively disenfranchised. As you move up the wealth/income ladder, you get a little bit more influence on policy. When you get to the top, which is maybe a tenth of one percent, people essentially get what they want, i.e. they determine the policy. So the proper term for that is not democracy; it's plutocracy.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Viereck, Peter (2006). Conservative thinkers: from John Adams to Winston Churchill. New Brunswick, New Jersey: Transaction Publishers. pp. 19–68. ISBN 1412805260.
  7. Fiske, Edward B.; Mallison, Jane; Hatcher, David (2009). Fiske 250 words every high school freshman needs to know. Naperville, Ill.: Sourcebooks. p. 250. ISBN 1402218400.
  8. Coates (2006). Colin, M (บ.ก.). Majesty in Canada: essays on the role of royalty. Toronto: Dundurn. p. 119. ISBN 1550025864.
  9. Toupin, Alexis de Tocqueville; Boesche, Roger (1985). Boesche, Roger (บ.ก.). Selected letters on politics and society. Berkeley: University of California Press. pp. 197–198. ISBN 0520057511.
  10. "ธนาธิปไตย/ประชาธิปไตย".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  11. "The Editors: American Labor and the War (February 1941)". marxists.org. สืบค้นเมื่อ 28 August 2015.
  12. 12.0 12.1 12.2 Blamires, Cyprian; Jackson, Paul (2006). World fascism: a historical encyclopedia. Vol. 1. ABC-CLIO. p. 522. ISBN 978-1-57607-940-9.
  13. Herf, Jeffrey (2006). The Jewish enemy: Nazi propaganda during World War II and the Holocaust. Harvard University Press. p. 311. ISBN 0-674-02175-4.
  14. Chomsky, Noam (6 October 2015). "America is a plutocracy masquerading as a democracy". Salon. สืบค้นเมื่อ 13 February 2015.
  15. Carter, Jimmy (15 October 2015). "Jimmy Carter on Whether He Could Be President Today: "Absolutely Not"". supersoul.tv. สืบค้นเมื่อ 13 February 2015.
  16. Monbiot, George (31 October 2011). "The medieval, unaccountable Corporation of London is ripe for protest". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 1 November 2011.
  17. Lavanchy, René (12 February 2009). "Labour runs in City of London poll against 'get-rich' bankers". Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-15. สืบค้นเมื่อ 2015-01-17.
  18. Pettigrew, Richard Franklin (2010). Triumphant Plutocracy: The Story of American Public Life from 1870 to 1920. Nabu Press. ISBN 1146542747.
  19. Reed, John Calvin (1903). The New Plutocracy. Kessinger Publishing, LLC (2010 reprint). ISBN 1120909155.
  20. Brinkmeyer, Robert H. (2009). The fourth ghost: white Southern writers and European fascism, 1930-1950. Baton Rouge: Louisiana State University Press. p. 331. ISBN 0807133833.
  21. Allitt, Patrick (2009). The conservatives: ideas and personalities throughout American history. New Haven: Yale University Press. p. 143. ISBN 0300118945.
  22. Ryan, James G (2003). Schlup, Leonard (บ.ก.). Historical dictionary of the Gilded Age. Armonk, N.Y.: M.E. Sharpe. p. 145. ISBN 0765603314.
  23. Viereck, Peter (2006). Conservative thinkers: from John Adams to Winston Churchill. New Brunswick, New Jersey: Transaction Publishers. p. 103. ISBN 1412805260.
  24. Schweikart, Larry (2009). American Entrepreneur: The Fascinating Stories of the People Who Defined Business in the United States. AMACOM Div American Mgmt Assn.
  25. "Theodore Roosevelt, American Politician". google.co.jp. สืบค้นเมื่อ 28 August 2015.
  26. "Roosevelt, Theodore. 1913. An Autobiography: XII. The Big Stick and the Square Deal". bartleby.com. สืบค้นเมื่อ 28 August 2015.
  27. Bowman, Scott R. (1996). The modern corporation and American political thought: law, power, and ideology. University Park, Pa.: Pennsylvania State University Press. pp. 92–103. ISBN 0271014733.
  28. Krugman, Paul (2009). The conscience of a liberal (Pbk ed.). New York: Norton. pp. 21–26. ISBN 0393333132.
  29. Kahn, Shamus (18 September 2012). "The Rich Haven't Always Hated Taxes". Time Magazine.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  30. 30.0 30.1 Herbert, Bob (19 July 1998). "The Donor Class". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 10 March 2016.
  31. Confessore, Nicholas; Cohen, Sarah; Yourish, Karen (10 October 2015). "The Families Funding the 2016 Presidential Election". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 10 March 2016.
  32. McCutcheon, Chuck (26 December 2014). "Why the 'donor class' matters, especially in the GOP presidential scrum". "The Christian Science Monitor. สืบค้นเมื่อ 10 March 2016.
  33. Lind, Michael (December 2009). "T O-Word". The Baffler. สืบค้นเมื่อ 30 April 2014.[ลิงก์เสีย]
  34. Barker, Derek (2013). "Oligarchy or Elite Democracy? Aristotle and Modern Representative Government". New Political Science. 35 (4): 547–566. doi:10.1080/07393148.2013.848701. สืบค้นเมื่อ 30 April 2014.
  35. Nichol, Gene (13 March 2012). "Citizens United and the Roberts Court's War on Democracy". Georgia State University Law Review. 27 (4): 1007–1018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2014. สืบค้นเมื่อ 30 April 2014.
  36. Muller, A; Kinezuka, A; Kerssen, T (Summer 2013). "The Trans-Pacific Partnership: A Threat to Democracy and Food Sovereignty" (PDF). Food First Backgrounder. สืบค้นเมื่อ 30 April 2014.{{cite news}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  37. Etzioni, Amitai (January 2014). "Political Corruption in the United States: A Design Draft". Political Science & Politics. 47 (1): 141–144. doi:10.1017/S1049096513001492. สืบค้นเมื่อ 30 April 2014.
  38. Winters, Jeffrey (March 2012). "Oligarchy". Perspectives on Politics. 10 (1): 137–139. doi:10.1017/S1537592711004294. สืบค้นเมื่อ 30 April 2014.
  39. Westbrook, David (2011). "If Not a Commercial Republic - Political Economy in the United States after Citizens United" (PDF). Lousiville Law Review. 50 (1): 35–86. สืบค้นเมื่อ 30 April 2014.
  40. Liptak, Adam (2010-01-21). "Justices, 5-4, Reject Corporate Spending Limit". New York Times. สืบค้นเมื่อ 30 April 2014.
  41. "Full Show: The Long, Dark Shadows of Plutocracy". Moyers & Company. 28 November 2014.
  42. "Transcript. Bill Moyers Interviews Kevin Phillips". NOW with Bill Moyers, PBS. 4 September 2014.
  43. Freeland, Chrystia (2012). Plutocrats: the rise of the new global super-rich and the fall of everyone else. New York: Penguin. ISBN 9781594204098. OCLC 780480424.
  44. "A Startling Gap Between Us And Them In 'Plutocrats'". National Public Radio. 15 October 2012.
  45. See also the Chrystia Freeland interview for the Moyers Book Club "Plutocracy Rising". Moyers & Company. 12 October 2012.
  46. Stiglitz, Joseph E (May 2011). ""Of the 1%, by the 1%, for the 1%"". Vanity Fair.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  47. Stiglitz, Joseph (7 April 2011). "Assault on Social Spending, Pro-Rich Tax Cuts Turning U.S. into Nation "Of the 1 Percent, by the 1 Percent, for the 1 Percent"". Democracy Now! (Interview).
  48. Piketty, Thomas (2014). Capital in the Twenty-First Century. Belknap Press. p. 514. ISBN 067443000X. the risk of a drift towards oligarchy is real and gives little reason for optimism about where the United States is headed{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  49. Gilens, Martin; Page, Benjamin (April 2014). "Testing Theories of American Politics: Elites, Interest Groups, and Average Citizens" (PDF). Perspectives on Politics. Princeton University.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  50. Winters, Jeffrey A (2011). Oligarchy. Cambridge University Press. pp. 208–254.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  51. "Global Wealth Report". Credit Suisse. October 2013. p. 53. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2015. สืบค้นเมื่อ 7 June 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้