เลนส์ (ทัศนศาสตร์)

(เปลี่ยนทางจาก เลนส์ (แสง))

เลนส์[1] คือวัตถุที่ใช้ในการรวมหรือกระจายแสง และใช้ภายในอุปกรณ์วิทยาศาสตร์เช่น กล้องจุลทรรศน์ หรือ กล้องส่องทางไกล

เลนส์นูน

ส่วนประกอบของเลนส์

แก้
  • เส้นแกนมุขสำคัญ คือ เส้นที่ลากผ่านจุดกึ่งกลางของเลนส์ (O) และผ่านจุดศูนย์กลางความโค้งผิวทั้งสองของเลนส์นูนและเลนส์เว้า
  • จุดโฟกัส (F) คือ จุดที่แสงจากลำแสงขนานตัดหรือเสมือนตัดเส้นแกนมุขสำคัญ
  • ความยาวโฟกัส (f) คือ ระยะที่ลากจุดโฟกัสไปยังจุดศูนย์กลางเลนส์ (C) หรือจุดศูนย์กลางเลนส์ไปยังจุดโฟกัส
  • ระยะวัตถุ คือ ระยะที่ลากจากวัตถุไปยังจุดศูนย์กลางเลนส์
  • ระยะภาพ คือ ระยะที่ลากจากภาพไปยังจุดศูนย์กลางเลนส์

การเกิดภาพของเลนส์

แก้
  1. ลากรังสีจากจุดยอดของวัตถุขนานกับเส้นแกนมุขสำคัญไปยังขอบของเลนส์
  2. ถ้าเป็นเลนส์นูน ลากรังสีจากขอบเลนส์ไปยังจุดโฟกัสด้านหลัง ถ้าเป็นเลนส์เว้า ลากรังสีจากขอบเลนส์ถ่างรังสีหรือกระจายรังสี
  3. ถ้ารังสีไปตัดกับข้อที่ 2 ณ ตำแหน่งใด ตำแหน่งนั้นคือ ตำแหน่งภาพ

อ้างอิง

แก้
  1. นายอะตอม. (2552). กุญแจไขสู่โลกฟิสิกส์. ดรีม พับลิชชิ่ง: ทิพวรรณ เอี่ยงสำอางค์