เยอ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เยอ หรือเผ่าเยอ อพยพย้ายถิ่นฐานมาจาก ประเทศจีนตอนบน ซึ่งไม่ทราบแน่ชัดว่าย้ายมาก่อน หรือหลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งคนเผ่าเยอ ย้ายมาถึงจังหวัดศรีสะเกษ ตั้งถิ่นฐานอยู่ใน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
---|---|
ศรีสะเกษ | |
ภาษา | |
ภาษาเยอ ภาษาไทย | |
ศาสนา | |
พุทธนิกายเถรวาท | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
ชาวกูย |
ต่อมาเกิดโรคระบาดจึงได้ได้แบ่งออกเป็นหลาย 4 กลุ่ม ย้ายถิ่นที่อยู่ใหม่ กลุ่มแรก เดินทางไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองปราสาทเยอ ซึ่งในปัจจุบัน คือบ้านปราสาทเยอ ตั้งอยู่ใน อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มที่ 2 ได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานใน อำเภออุทุมพรพิสัย และอำเภอห้วยทับทัน ส่วนกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 4 อาศัยอยู่ใน อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ในปัจจุบัน ชื่อหมู่บ้านว่า บ้านขมิ้น อยู่ใน ตำบลทุ่ม อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ และบ้านโพนค้อ ตำบลโพนค้อ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
ภาษา
แก้คาดว่าภาษาเยอได้รับภาษามาจากชาวกูย ภาษาเยอเป็นภาษาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คำส่วนมากจะออกเสียงสามัญในประโยคบอกเล่าอย่างภาษาตระกูลขร้า-ไท แต่ในประโยคคำถาม พยางค์สุดท้ายจะเป็นเสียงตรีหรือจัตวา
ส่วนภาษาเยอจะรวมภาษาตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกกับภาษาตระกูลขร้า-ไท ผสมกันจากที่ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกจะไม่มีเสียงวรรณยุกต์ มาใส่เสียงวรรณยุกต์ตามภาษาตระกูลขร้า-ไท
ในปัจจุบัน ภาษาเยอได้เปลี่ยนไปตามยุคสมัย และกลายเป็นภาษาเยอสมัยใหม่ เช่น จะมีบางคำที่เป็นภาษาไทยบ้าง เช่น ฮัวใจ (หัวใจ) ภาษาอีสานบ้าง และภาษาที่เรียกสิ่งของที่ไม่เคยมีมาในสมัยโบราณ
วัฒนธรรม
แก้การแต่งตัวของชาวเผ่าเยอ ในดั้งเดิม ผู้ชายใส่เชิ้ตไม่มีคอปก สีกรมท่า กางเกงขายาว สีกรมท่า และมีผ้าขาวม้ามัดเอว ผู้หญิง ใส่เสื้อสีดำเทา ใส่ผ้าไหม(ผ้าถง)สีดำ และสีกรมท่า หรือสีอื่น ๆ และมีผ้าไหมพาดผ่านไหล่ซ้ายลงไปบรรจบกัน บริเวร เอวด้านขวา คนเผ่าเยอแท้ทุกคน จะมีสีผิวเหลืองขาว เหมือนจีน
คนเผ่าเยอชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ เห็นได้จากการปลูกบ้านเป็นกลุ่ม ลักษณะของบ้าน จะเป็นบ้านสองชั้น ใต้ถุนโล่งเพื่อใช้เลี้ยงควาย หรือวัว หลังคาจะทำจากฟางข้าว ผนังหรือกั้นห้อง จะเป็นไม้ใผ่สาน ซึ่งในปัจจุบันไม่มีให้เห็นแล้ว ส่วนเสาและพื้นบ้าน จะเป็นไม้เนื้อแข็งทั่วไป
ประเพณี
แก้ประเพณีและวัฒนธรรมของเผ่าเยอ ได้แก่
- บุญข้าวสาก เป็นประเภณีที่มีขึ้นหลังจากการดำนาเสร็จสิ้น ประมาณเดือน สิงหาคม
- บุญข้าวจี่ มีขึ้นหลังจากเก็บเกี่ยวเสร็จ ประมาณเดือนช่วงวันเพ็ญเดือน 3 เป็นวันมาฆบูชา รุ่งขึ้นวันแรม 1 ค่ำ
นอกจากนี้ยังมีประเพณีอื่น ๆ ซึ่ได้รับอิทธิพลจากประเพณีของชาวพื้นถิ่นรอบ ๆ นั้น รวมไปถึง วัฒนธรรมไทยเกือบทั้งหมด
ศาสนา
แก้คนในเผ่าเยอนับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก และมีความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูบ้าง เช่น การบายศรีสู่ขวัญ การขึ้นบ้านใหม่ การแต่งงาน และอื่น ๆ อาจมีบางครอบครัว นับถือผีบ้านหรือผีบรรพบุรุษ และจะมีการรำแถน (รำผีฟ้า) เพื่อบวงสรวง เชื่อกันว่า จะทำให้ลูกหลานอยู่ดีไม่มีโรคเบียดเบียน
สังเกตจากเรื่องอาถรรพณ์ที่ไม่น่าเชื่อ บางคนป่วยโดยไม่รู้สาเหตุ พาไปหาหมอที่โรงพยาบาล ก็ตรวจไม่พบว่าเป็นโรคอะไรทั้งนั้น คน ๆ นั้น สบายดีตอนหาหมอ แต่พอตอนอยู่ที่บ้าน กลับป่วยทรุดหนัก ว่ากันว่าบรรพบุรษเป็นผู้กระทำ จึงทำให้มีการรำแถนเพื่อบวงสรวง คนป่วยคนนั้นก็หายวันหายคืน
ผู้ชายที่บวชและสึกออกมาจากบวชเณร จะเรียกนำหน้าชื่อว่า เซียง และผู้ที่สึกออกมาจากบวชพระ จะเรียกนำหน้าชื่อว่า ญีมอม (ทิศ)