เพลงลูกกรุง
เพลงลูกกรุง เป็นเพลงไทยสากลประเภทหนึ่ง โดยเป็นเพลงที่บอกเล่า ถ่ายทอด ความรู้สึกของสังคม และคนเมืองหลวง ตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การถ่ายทอดอารมณ์ การขับร้อง น้ำเสียง ของกลุ่มนักร้อง นักแต่งเพลง และนักดนตรีจะมีรูปแบบ ประณีต ละเอียดอ่อน ออกมานุ่มนวล เนื้อร้องจะมีลักษณะเป็นร้อยแก้ว ร้อยกรอง มีความหมายสลับซับซ้อน ยอกย้อน
ประวัติ
แก้จากบางแหล่งข้อมูลเพลงลูกกรุงกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2474 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองฯ ในรัชกาลที่ 7 บางแหล่งบอกปลาย รัชกาลที่ 6 ประมาณ พ.ศ. 2455 โดยการจ้างครูจากอิตาลีนำเครื่องสายสากลเข้ามาสอน แต่เพลงลูกกรุงเริ่มชัดเจนเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2475 โดยเริ่มมีแนวเพลง เนื้อร้อง ทำนอง และเครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงประกอบเป็นไทย นำทำนองเพลงของรัชกาลที่ 6 ที่นำมาเรียบเรียงเสียงประสานใช้เครื่องดนตรีสากลบรรเลงประกอบ เป็นเพลงในกิจการลูกเสือ ต่อมาได้มีการนำเพลง "ลาทีกล้วยไม้" ของขุนวิจิตรมาตรา มาทำในจังหวะรุมบ้าเพลงแรกของไทย และบทเพลงของจิตร ภูมิศักดิ์ และอื่นๆ ซึ่งแต่ง และใช้เครื่องดนตรีสากลบรรเลงประกอบ เป็นเครื่องบ่งบอกการกำเนิดของเพลงลูกกรุง
ปี พ.ศ. 2482 วงสุนทราภรณ์ก่อตั้งเป็นวงดนตรีวงใหญ่ ซึ่งทำให้สังคมเมืองในยุคนั้น เริ่มตื่นตัวการฟังเพลง ผู้ฟังและค่ายเพลงต่าง ๆ เริ่มจัดประเภทเพลง สร้างนักร้องให้มีรูปแบบความเป็นคนเมืองหลวง นักดนตรี นักแต่งเพลง นักร้องต่างมีรูปแบบ หาแฟชั่นนำสังคม ทั้งเรื่องแฟชั่น การแต่งกาย มีคลับมีบาร์ แถวถนนราชดำเนิน ตามย่านชุมชน โรงแรมใหญ่ ๆ มีห้องบอลรูม เพื่อให้มีการจัดแสดงดนตรีประกอบ และเริ่มมีการเปรียบเทียบระหว่างเพลงลูกทุ่งและเพลงลูกกรุง
ปัจจุบันเริ่มมีรายการประกวดร้องเพลงทางโทรทัศน์ในประเทศไทยที่นำเพลงลูกกรุง รวมถึงเพลงไทยเดิม เพลงสุนทราภรณ์ และเพลงไทยสากลในยุค 70 และยุค 80 มาเป็นโจทย์หลักในการใช้ประกวด เช่น The Golden Song เวทีเพลงเพราะ[1] และ เพลงเอก[2] เป็นต้น
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้
- ↑ ทองประสม, อลิน (26 ธันวาคม 2019). "The Golden Song เวทีเพลงเพราะ : รายการประกวดร้องเพลงที่ เพราะสมชื่อ ฟินทุกเทปตั้งแต่ต้นจนจบ". beartai BUZZ. แบไต๋. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ช่องเวิร์คพอยท์ เปิดรับสมัครประกวดขับร้อง "เพลงเอก" เพลงไทยยุคอมตะที่ตราไว้ในดวงใจ โดยวง "คุณพระช่วยออร์เคสตรา"". RYT9. 16 กรกฎาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)