เพชรพนมรุ้ง เกียรติหมู่ 9

นักมวยไทยชาวไทย

เพชรพนมรุ้ง เกียรติหมู่ 9 มีชื่อจริงว่า พันแสง เอี่ยมสิริ (ชื่อเล่น เด้ง) เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 เป็นนักมวยไทยและคิกบอกซิงชาวไทย ครองตำแหน่งแชมป์โลกรุ่นเฟเทอร์เวท (65 กิโลกรัม) ขององค์กรคิกบอกชื่อ กลอรี และแชมป์โลกรุ่นไลต์เวต (65 กิโลกรัม) ขององค์กรไรซ์

เพชรพนมรุ้ง เกียรติหมู่ 9
เกิดพันแสง เอี่ยมสิริ
(1995-05-26) 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1995 (29 ปี)
ตำบลตะโกตาพิ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่ออื่นเพชรพนมรุ้ง ม.รัตนบัณฑิต
เพชรพนมรุ้ง ว.สังข์ประไพ
เพชรพนมรุ้ง ส.ธรรมรังสี
ส่วนสูง171 เซนติเมตร (5 ฟุต 7 12 นิ้ว)[1]
น้ำหนัก65 kg (143 lb; 10 st)
รุ่นเฟเทอร์เวต
ไลต์เวต
ช่วงระยะ69 in (175 ซm)
รูปแบบมวยไทย
ท่ายืนเซาต์พอล
มาจากกรุงเทพ, ประเทศไทย
ทีมเกียรติหมู่ 9/หยกขาว
สถิติคิกบอกซิง/มวยไทย
คะแนนรวม213
ชนะ171
โดยการน็อก27
แพ้39
เสมอ3
ข้อมูลอื่น
ญาติที่มีชื่อเสียงพนมรุ้งเล็ก เกียรติหมู่ 9 (พี่ชาย)
ซุปเปอร์เล็ก เกียรติหมู่ 9 (ลูกพี่ลูกน้อง)
สถิติมวยสากล จากบ็อกเรค

ประวัติ

แก้

เพชรพนมรุ้งเกิดและเติบโตในครอบครัวชาวเกษตรกรรม ในตำบลตะโกตาพิ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ มีพี่น้องทั้งหมด 6 คน โดยเป็นบุตรคนที่ 5 พี่ชายคนโตเป็นนักมวยไทยคือ พนมรุ้งเล็ก เกียรติหมู่ 9 (อายุห่าง 10 ปี)

เพชรพนมรุ้งเริ่มไปฝึกมวยไทยตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ที่ค่ายเกียรติหมู่ 9 ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านเพียงแค่ 300 เมตร โดยเริ่มต้นตระเวนออกชกมวยตามงานวัดคู่กันกับซุปเปอร์เล็ก เกียรติหมู่ 9 ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน จนเมื่ออายุ 14 ปี เข้ามาชกมวยไทยอาชีพในสนามมวยลุมพินี

จนวันหนึ่งสุดใจ ปุ่มประโคน หัวหน้าค่ายศิษย์สองพี่น้อง ต้องการหานักมวยไทยถนัดซ้าย ไปชกต่างประเทศขององค์กรกลอรีคิกบอกซิง (Glory Kickboxing) เปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรก ในศึกกลอรี ครั้งที่ 39 ที่จัดขึ้นในเมืองนิส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปลายปี 2559 เอาชนะคู่แข่งชาวมอลโดวาไปได้ และชนะต่อเนื่องในไฟต์ที่สองและสาม 5 เดือนต่อมาหลังนั้นเพชรพนมรุ้ง ตัดสินใจอำลาการชกมวยไทย

20 กรกฎาคม 2561 เพชรพนมรุ้งขึ้นชิงแชมป์เฉพาะกาล พบกับเควิน แวนนอสแตนด์ (Kevin VanNostrand) ชาวอเมริกัน และสามารถเอาชนะคะแนนไปได้ ในไฟต์ต่อมาเพชรพนมรุ้ง ขึ้นเป็นแชมป์ โดยได้ชกกับโรบิน ฟาน รูสมาเลน นักชกชาวดัตช์ ภายในสนามกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์[2]

ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 ไม่มีรายการชกมาตั้งแต่ต้นปี 2563 จึงกลับบ้านมาทำงานโรงงาน จนได้รับการติดต่อจากทางองค์กรไรซ์ (RISE) ได้ชกรายการไรซ์ กับ เค็นโตะ ฮารางูจิ ทั้ง 2 ไฟต์ กระทั่งได้แชมป์โลกคิกบอกซิงรุ่นไลต์เวต (ไม่เกิน 65 กิโลกรัม) ในการชกกับเค็นโตะครั้งหลัง[3]

อ้างอิง

แก้
  1. "Petchpanomrung Kiatmookao". tapology.com. สืบค้นเมื่อ 6 October 2020.
  2. "จากประโคนชัยถึงแมดิสันสแควร์ : บันทึกแชมป์โลกคิกบอกซิงชาวไทย "เพชรพนมรุ้ง"". สนุก.คอม.
  3. "โควิดทำตกล็อกยาว "เพชรพนมรุ้ง" เผยต้องทำงานโรงงาน ก่อนคืนสังเวียนคว้าแชมป์โลกคิกบอกซิ่ง 2 สถาบัน".