เปลื้อง ณ นคร
เปลื้อง ณ นคร (4 กันยายน พ.ศ. 2452 - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2541) นักวิชาการด้านภาษาไทย เป็นผู้แต่งปทานุกรมนักเรียน และพจนานุกรม อดีตประธานกรรมาธิการการวัฒนธรรมและสังคม ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 11[1]
เปลื้อง ณ นคร | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 กันยายน พ.ศ. 2452 อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2541 (89 ปี) |
เชื้อชาติ | ประเทศไทย |
บุพการี |
|
อาชีพ | นักเขียน นักแปล |
ประวัติ
แก้เปลื้อง ณ นคร เกิดเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2452 ที่จังหวัดสงขลา เป็นบุตรชายคนโตของขุนเทพภักดี (เล็ก) และนางยกฮิ่น ณ นคร มีน้องร่วมบิดามารดา 5 คน ได้แก่
- นายประยูร ณ นคร
- นายสมนึก ณ นคร
- นางประดับ สุภาไชยกิจ
- นางสาวประจวบ ณ นคร
- นางประนอม วิเศษกุล
เปลื้อง ณ นคร ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2541 สิริอายุ 89 ปี
การทำงาน
แก้เปลื้อง ณ นคร รับราชการกระทรวงธรรมการรุ่นเดียวกับ สด กูรมะโรหิต และศักดิ์เกษม หุตาคม มีผลงานเขียนเรื่องอ่านเล่น สารคดี เรียงความ รวมถึงงานแปลเป็นจำนวนมาก โดยใช้นามปากกา "นายตำรา ณ เมืองใต้" ส่วนงานเขียนด้านวิชาการ จะใช้ชื่อจริง หรือนามปากกา "ป. ณ นคร"
ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของ เปลื้อง ณ นคร คือ ปทานุกรมนักเรียน และพจนานุกรมฉบับ เปลื้อง ณ นคร (ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช) หนังสือชุด "เล่าเรื่อง" (เล่าเรื่องขุนช้างขุนแผน เล่าเรื่องพระอภัยมณี ฯลฯ) (เป็นผลงานเขียนร่วมกับสง่า กาญจนาคพันธุ์) นวนิยายแปล เช่นเรื่อง เดอะก็อดฟาเธอร์, โลลิตา, ราชาปารีส, หญิงกรุงโรม, ราชบังลังก์รุสเซีย (แปลจาก Nicholas and Alexandra ของ Robert K. Massie)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2518 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[2]
- พ.ศ. 2497 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประธานกรรมาธิการการวัฒนธรรมและสังคม[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๘๒, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘๔, ๒๘ ธันวาคม ๒๔๙๗