รัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน
เนอเกอรีเซิมบีลัน[3] หรือ เนกรีเซมบีลัน[3] (มลายู: Negeri Sembilan, نݢري سمبيلن) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกของมาเลเซียตะวันตก มีพื้นที่ประมาณ 6,650 ตารางกิโลเมตร คำว่า เนอเกอรีเซิมบีลัน แปลว่า "เก้ารัฐ" สืบเนื่องจากในสมัยก่อนแบ่งการปกครองเป็นเก้าอำเภอ มีเมืองหลวงชื่อ เซอเริมบัน เป็นเมืองท่าที่มีชายฝั่งทะเลสวยงาม เหมาะแก่การพักผ่อน
เนอเกอรีเซิมบีลัน Negeri Sembilan | |
---|---|
เนอเกอรีเซิมบีลันดารุลคูซุซ Negeri Sembilan Darul Khusus | |
การถอดเสียงต่าง ๆ | |
• มลายู | Negeri Sembilan (รูมี) نݢري سمبيلن (ยาวี) |
เพลง: เบอร์กัตละฮ์ยังดีเปอร์ตวนเบอซาร์เนอเกอรีเซิมบีลัน | |
พิกัด: 2°45′N 102°15′E / 2.750°N 102.250°E | |
เมืองหลวง | เซอเริมบัน |
เมืองเจ้าผู้ครอง | เซอรีเมอนันตี |
การปกครอง | |
• ประเภท | ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา |
• ยังดีเปอร์ตวนเบอซาร์ | ยังดีเปอร์ตวน เบซาร์ ตวนกู มูห์ริซ |
• มุขมนตรี | อามีนุดดิน ฮารุน (PH-PKR) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 6,686 ตร.กม. (2,581 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2015)[2] | |
• ทั้งหมด | 1,098,500 คน |
• ความหนาแน่น | 160 คน/ตร.กม. (430 คน/ตร.ไมล์) |
ดัชนีรัฐ | |
• ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (2010) | 0.795 (สูง) (อันดับที่ 6) |
เขตเวลา | UTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย) |
รหัสไปรษณีย์ | 70xxx to 73xxx |
รหัสโทรศัพท์ | 06 |
ทะเบียนพาหนะ | N |
เข้าร่วมสหพันธรัฐมลายู | ค.ศ. 1895 |
ญี่ปุ่นยึดครอง | ค.ศ. 1942 |
เข้าร่วมสหพันธรัฐมาลายา | ค.ศ. 1948 |
รับเอกราชเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาลายา | 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 |
เว็บไซต์ | www |
องค์ประกอบของกลุ่มชาติพันธุ์ในปี ค.ศ. 2005 ประกอบด้วยชาวมลายู (497,896 คนหรือร้อยละ 54.96), ชาวจีน (220,141 คนหรือร้อยละ 24.3), ชาวอินเดีย (137,588 คนหรือร้อยละ 15.18) และอื่น ๆ (50,267 คนหรือร้อยละ 5.54)
ประวัติ
แก้ประวัติศาสตร์ช่วงต้นของเนอเกอรีเซิมบีลัน ได้มีชาวมีนังกาเบา (Minangkabau) จากเกาะสุมาตรา มาตั้งถิ่นฐานในหุบเขาอันเงียบสงบในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และอยู่ภายใต้การคุ้มครองของรัฐสุลต่านมะละกา จนกระทั่งการล่มสลายของรัฐสุลต่านมะละกาใน ค.ศ. 1511 เมื่อชาวโปรตุเกสเดินทางมาถึง
จากนั้นเนอเกอรีเซิมบีลันได้ตกอยู่ภายใต้การคุ้มครองของรัฐสุลต่านยะโฮร์ จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 18 การโจมตีโดยชาวบูกิส (Bugis) บังคับให้ชาวมีนังกาเบาในเนอเกอรีเซิมบีลันขอความคุ้มครองจากบ้านเกิดของพวกเขา (เกาะสุมาตรา) กษัตริย์สุมาตราได้ส่งสุลต่าน Melewar มาปกครอง
ในปี ค.ศ. 1873 อังกฤษเข้าแทรกแซงทางทหารในสงครามกลางเมืองในซูไงอูจงเพื่อรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของอังกฤษ และกำหนดให้เนอเกอรีเซิมบีลันอยู่ภายใต้การควบคุมของอังกฤษ
ลักษณะภูมิประเทศ
แก้ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าไม้ ภูเขาสลับซับซ้อนเป็นแนวยาว ประมาณร้อยละ 70 ของพื้นที่ บริเวณชายฝั่งตะวันตกที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย และช่องแคบมะละกา เป็นพื้นที่ราบลุ่ม
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้รัฐเนอเกอรีเซิมบีลันประกอบด้วย 7 เขต ได้แก่
อดีตรัฐเนอเกอรีเซิมบีลันมีเขตการปกครองทั้งหมด 9 เขต ได้แก่ เจอไล (อีนัซ) - เจอเลอบู - โจฮล (ปัจจุบันขึ้นกับรัฐเซอลาโงร์), นานิง (ปัจจุบันขึ้นกับรัฐมะละกา), เริมเบา - เซอกามัต (ปัจจุบันขึ้นกับรัฐยะโฮร์)/ปาซีร์เบอซาร์ (ปัจจุบันอยู่ในเขตตัมปิน) - ซูไงอูจง - อาลูปานะฮ์ (ปัจจุบันขึ้นกับเขตเจอเลอบูและบางส่วนของรัฐปะหัง)
อ้างอิง
แก้- ↑ "Laporan Kiraan Permulaan 2010". Jabatan Perangkaan Malaysia. p. 27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2010. สืบค้นเมื่อ 24 January 2011.
- ↑ "Population by States and Ethnic Group". Department of Information, Ministry of Communications and Multimedia, Malaysia. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2016. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
- ↑ 3.0 3.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.