เท่ง เถิดเทิง
พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ เป็นที่รู้จักในชื่อ เท่ง เถิดเทิง (เกิด 7 เมษายน พ.ศ. 2509) ชื่อเล่น เท่ง หรือก๋อง เป็นนักแสดงตลกชายชาวไทยจากแก๊งสามช่า มีชื่อเสียงจากการเป็นนักแสดงภาพยนตร์หลายเรื่อง และประกอบอาชีพหลายอย่าง ตั้งแต่ เล่นลิเก (มีคณะลิเกชื่อว่า ลิเกครื้นเครง เท่ง เถิดเทิง) ถีบรถสามล้อ ปัจจุบันเป็นนักแสดงตลกและพิธีกรในสังกัด รวมถึงเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ให้แก่ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)
เท่ง เถิดเทิง | |
---|---|
ชื่อเกิด | พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ |
ชื่ออื่น | ตู้ เชิญยิ้ม, เท่ง จ๊กม๊ก, เท่ง เถิดเทิง |
เกิด | 7 เมษายน พ.ศ. 2509 อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ประเทศไทย |
ส่วนสูง | 1.73 เมตร (5 ฟุต 8 นิ้ว) |
บิดา | ดิเรก พงษ์สุวรรณ |
มารดา | รำภา แพรบุตร |
คู่สมรส | มาลา พงษ์สุวรรณ |
บุตร | 3 คน |
อาชีพ |
|
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2538–ปัจจุบัน |
ผลงานเด่น | แก๊งสามช่า - ชิงร้อยชิงล้าน เท่ง เถิดเทิง - ระเบิดเถิดเทิง หลวงพี่เท่ง - หลวงพี่เท่ง (2548) มิวสิกวิดีโอ เพลง อกข้างซ้าย ของ วงโมทีฟ (2544) |
สังกัด | เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ |
โทรทัศน์ทองคำ | รางวัลทีมพิธีกรดีเด่น พ.ศ. 2559 - รายการคุณพระช่วย |
เนื่องจากได้รับรางวัล เอเชี่ยน เทเลวิชั่น อวอร์ด 2007 ประเภทนักแสดงตลกฝ่ายชายยอดเยี่ยม[1][2] เท่ง เถิดเทิงจึงได้รับฉายาว่า "ตลกเอเชีย" และ "ตลกอัจฉริยะ"
ประวัติ
แก้เท่ง เถิดเทิง มีชื่อจริงว่า พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2509 ที่ตรอกหางคลอง ถนนหลวงพ่อโตอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย มีบิดาชื่อดิเรก พงษ์สุวรรณ มารดาชื่อรำภา แพรบุตรเป็นลูกคนที่ 3 จากพี่น้องทั้งหมด 6 คน มีพี่ชาย 2 คน และน้องสาว 3 คน โดยน้องสาวคนแรกคือ ส้มเช้ง สามช่า ครอบครัวมีฐานะยากจน เท่งจบการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนเทศบาลสวรรคโลก แล้วออกมาฝึกลิเกกับคณะของญาติ โดยเริ่มที่บทพระเอกแต่ต่อมาผันมาแสดงเป็นบทตลกซึ่งเหมาะกับตนเองมากกว่า โดยใช้ชื่อทางการแสดงว่า "พงษ์ เม็ดพริก" ต่อมาได้ออกมาถีบสามล้อรับจ้างอยู่พักหนึ่งจึงกลับมาเล่นลิเกอีกครั้ง
เท่งเล่นลิเกอยู่หลายปีจึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ทำงานตั้งแต่ล้างจานได้รายได้วันละ 50 บาท เก็บตั๋วตามงานวัดหรือสวนสนุก ขายเสื้อผ้า ขายก๋วยเตี๋ยว ทำงานเกือบ 3 ปีเต็ม แล้วก็มาเล่นลิเกในกรุงเทพนาน 5 ปี ก่อนจะมาตั้งคณะตลกร่วมกับพี่ชายแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมา "ส้มเช้ง" ผู้เป็นน้องสาวได้ช่วยไปขอเบอร์โทรกับตลกที่ชื่อว่า "บังแหลก" บังแหลกได้ฝากตัวเท่งให้เข้าร่วมกับคณะตลกในชื่อ "มะกอกสามตะกร้า" ของเบญโล โดยเท่งทำงานอยู่หลายตำแหน่งตั้งแต่เด็กขนอุปกรณ์ มือกลอง จนในที่สุดก็ได้เล่นเป็นตลกประจำคณะ บังแหลกได้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "ตู้" โดยมาจากการเล่นตลกที่พริ้วเหมือนกับ ตู้ ดิเรก เท่งอยู่คณะมะกอกสามตะกร้าได้ระยะหนึ่ง ก็ย้ายไปคณะ "สีแดงและเพื่อน" , คณะ "ยอดธง เทียนชัย" คณะ "ชูศรี เชิญยิ้ม" ตามลำดับ ในชื่อ "ตู้ เชิญยิ้ม" นั้น มาจากชื่อของ ตู้ - ดิเรก อมาตยกุล ที่กำลังมาแรงในขณะนั้นโดยบังแหลกเป็นผู้ตั้งให้ [3]
ต่อมาก็ออกมารวมตัวกับเพื่อนตั้งคณะใหม่ในชื่อ "เพื่อนอิสระ" แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่ง หม่ำ จ๊กมก ชักชวนไปร่วมคณะด้วย จึงทำให้เท่งได้มาเล่นตลกในคณะ "หม่ำ จ๊กมก (ชื่อเดิม : หม่ำและชาวบ้าน)" ก่อนจะได้มีโอกาสได้เข้าไปอยู่ในเวิร์คพอยท์ฯ ของ ปัญญา นิรันดร์กุล ในรายการแรก คือรายการ "ฮากลางแดด" ก่อนที่เท่ง จะได้รับบทบาทให้มาร่วมแสดงรายการ "ระเบิดเถิดเทิง" ปัญญา นิรันดร์กุล เปลี่ยนชื่อให้ใหม่เป็น "เท่ง เถิดเทิง" ซึ่งเป็นชื่อที่คนทั่วไปรู้จัก โดยรับบทเป็น เท่ง นักเลงประจำซอย ซึ่งเป็นคาแรกเตอร์ที่เป็นที่จดจำได้อย่างดีของผู้ชม นอกจากนี้ เท่งก็ยังได้รับบทเป็นตลกลูกคู่ของหม่ำ จ๊กมก ในรายการ ชิงร้อยชิงล้าน Super Game ก่อนที่ต่อมาจะกลายมาเป็น แก๊งสามช่า ในที่สุด ถือเป็นหนึ่งในสองสมาชิกรุ่นก่อตั้งของแก๊งสามช่าและยังเล่นภาพยนตร์ไทยอีกหลายเรื่อง
ผลงาน
แก้รายการโทรทัศน์
แก้ช่องทางออนไลน์
แก้- YouTube : เท่ง เถิดเทิง แฟมิลี่ official (2564)
ละครโทรทัศน์
แก้ซีรีส์
แก้- 2553 วงษ์คำเหลา เดอะซีรีส์ รับบทเป็น ทองคำแท่ง
- 2556 คาราบาว เดอะซีรีส์ ตอน คนจนผู้ยิ่งใหญ่ ทาง ช่อง 9 แสดงคู่กับ ฝน ธนสุนทร
ซิตคอม
แก้ภาพยนตร์
แก้กำกับภาพยนตร์
แก้- เท่ง โหน่ง คนมาหาเฮีย (2550) ร่วมกับ โหน่ง ชะชะช่า
- เท่ง โหน่ง จีวรบิน (2554) ร่วมกับ สมิทธิ์ ทิมสวัสดิ์ [4]
- แคท อ่ะ แว้บ! (2558) ร่วมกับ นฤบดี เวชกรรม
- ทิดน้อย (2566)
มิวสิกวิดีโอ
แก้ปี | อัลบั้ม / SINGLE | เพลง | ศิลปิน | แสดงร่วมกับ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
2540 | ผิดไหมที่ไม่แก่ | ยอดรัก สลักใจ | - | ||
2541 | ธงไชย เซอร์วิส | ซ่อมได้ | ธงไชย แมคอินไตย์ | เก็จมณี วรรธนะสิน คณิตกุล เนตรบุตร |
|
บอกว่าอย่าน่ารัก | ธงไชย แมคอินไตย์ เก็จมณี พิชัยรณรงค์สงคราม |
||||
2544 | มันคือความมัน | อกข้างซ้าย | โมทีฟ | ||
2548 | Bird Volume 1 | อยากถามก็ตอบ | ธงไชย แมคอินไตย์ | สัญญา คุณากร พรชิตา ณ สงขลา ธงไชย แมคอินไตย์ แจ็ค แฟนฉัน |
|
2558 | ไก๊ไก่ | โหน่ง ชะชะช่า | ศิลปิน / นักแสดง / พนักงานในสังกัดเวิร์คพอยท์ | ||
2565 | ส.ย. สายยืน | หม่ำ จ๊กมก โหน่ง ชะชะช่า |
ซิงเกิล
แก้ปี | SINGLE | แสดงร่วมกับ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
2554 | กินตับ | โหน่ง ชะชะช่า สุดารัตน์ บุตรพรม (เวอร์ชั่นเพลงประกอบภาพยนตร์) |
ในเพลงนี้ โหน่ง ชะชะช่า ร่วมร้องคอรัสในบางท่อน โดยเพลงนี้มี MUSIC VIDEO 2 ตัว คือเวอร์ชั่นต้นฉบับ และเวอร์ชั่นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง เท่ง โหน่ง จีวรบิน โดยเวอร์ชั่นหลังจะมีการปรับเนื้อเพลงในช่วงครึ่งเพลงหลังด้วย |
2555 | ร้องไห้หาพ่อเธอหรือ | บริบูรณ์ จันทร์เรือง ธนา สุทธิกมล ศุภักษร เรืองสมบูรณ์ |
|
2556 | อ๊อดแอด | มาลา พงษ์สุวรรณ พิษณุ นิ่มสกุล ศิวดล จันทเสวี ส้มเช้ง สามช่า สุดารัตน์ บุตรพรม |
|
2558 | คนหน้าใส | ครอบครัวพงษ์สุวรรณ (มาลา / โหงวเฮ้ง / พ้อยท์ / พลอย) | |
2559 | พักตับ | ในเพลงนี้ใช้ทำนองเพลงเดียวกันกับเพลง กินตับ และเป็นเพลงที่ใช้ในโครงการรณรงค์แคมเปญ งดเหล้าครบพรรษา "ดื่มมาหนัก พักตับบ้าง" ประจำปี พ.ศ. 2559 ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ | |
2560 | โยกได้...ถ้าใช่เธอ | ||
2561 | 15 ที่ข้าแพ้ | ต้นฉบับของเพลงนี้ คือ ดาวสยาม สุริยะ |
อื่น ๆ
แก้- โฆษณา : เดนทีน (คู่กับ แหม่ม-แคทลียา แมคอินทอช) (2540)
- หนังสือ : รักนะ เท่ง เถิดเทิง (2548)
- เพลง : ขอความสุขคืนกลับมา (19 พฤษภาคม 2553) - เพื่อเป็นกำลังใจแก่ชาวไทยที่มีความรู้สึกทุกข์ จากการสูญเสียสถานที่สำคัญต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร
- โฆษณา : ปูนดอกบัว ชุด บัวแมน (2554)
- โฆษณา : CP Fresh Mart (2554)
- เพลง : ครองแผ่นดินโดยธรรม (ธันวาคม 2554) - เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- เพลง : สดุดีมหาราชา (สิงหาคม 2556) - เพื่อเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา
- เพลง : หลานสามช่า น้าคาราบาว (กุมภาพันธ์ 2558)
- โฆษณา : โออิชิ “รหัสโออิชิ ลุ้นรวยทุกชั่วโมง” (คู่กับ โหน่ง ชะชะช่า และ ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน)
- โฆษณา : ขนมทอดกรอบ ตะวัน (ร่วมกับ หม่ำ จ๊กมก และ โหน่ง ชะชะช่า)
- The Mask Truce Day หรือ The Mask พักรบ ฉายาหน้ากากพญาเหยี่ยว (11 ตุลาคม 2561 - 18 ตุลาคม 2561)
รางวัลที่ได้รับ
แก้- เอเชี่ยน เทเลวิชั่น อวอร์ด 2007 ประเภทนักแสดงตลกฝ่ายชายยอดเยี่ยม
- รางวัลเทพทอง ครั้งที่ 11
- มหานครอวอร์ด ครั้งที่ 8 รางวัลเพลงลูกทุ่งยอดนิยม เพลง กินตับ
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ 2559 รางวัลทีมพิธีกรดีเด่น รายการคุณพระช่วย
- รางวัล “ทูตพระพุทธศาสนา วันมาฆบูชา พ.ศ. 2560”
อ้างอิง
แก้- สุรีย์ ทองปาน. "ชีวิตที่กว่าจะได้เป็น...เท่ง เถิดเทิง". นิตยสารแก้จน ฉบับเดือนกรกฎาคม 2548. อ้างถึงในชีวิตที่กว่าจะได้เป็น...เท่ง เถิดเทิง เก็บถาวร 2014-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน