ตำบลแม่กา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
แม่กา เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองพะเยา ตามถนนพหลโยธิน มีพื้นที่ประมาณ 131 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรในปี พ.ศ. 2561 จำนวน 14,215 คน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่คือ เทศบาลตำบลแม่กา ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่กาทั้งตำบล ตำบลแม่กาเป็นของที่ตั้งของมหาวิทยาลัยพะเยา
ตำบลแม่กา | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Mae Ka |
พิกัด: 19°5′39″N 99°54′49″E / 19.09417°N 99.91361°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | พะเยา |
อำเภอ | เมืองพะเยา |
พื้นที่[ต้องการอ้างอิง] | |
• ทั้งหมด | 131.69 ตร.กม. (50.85 ตร.ไมล์) |
ประชากร (ธันวาคม 2561)[1] | |
• ทั้งหมด | 14,215 คน |
• ความหนาแน่น | 107.94 คน/ตร.กม. (279.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 56000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 560110 |
เทศบาลตำบลแม่กา | |
---|---|
พิกัด: 19°11′46″N 99°50′16″E / 19.19611°N 99.83778°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | พะเยา |
อำเภอ | เมืองพะเยา |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | ประพันธ์ เทียนวิหาร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 131.69 ตร.กม. (50.85 ตร.ไมล์) |
ประชากร (ธันวาคม 2561)[1] | |
• ทั้งหมด | 14,215 คน |
• ความหนาแน่น | 110 คน/ตร.กม. (280 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05560103 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 259 บ้านโทกหวาก หมู่ที่ 4 ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000 |
โทรศัพท์ | 0-5466-605 |
โทรสาร | 0-5466-137 |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
แก้ตำบลแม่กามีลำห้วยแม่กาและน้ำแม่ต๋ำ ซึ่งไหลมาบรรจบกันที่หมู่บ้านแม่กาหลวง ห่างจากถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ (ถนนพหลโยธิน) ประมาณ 500 เมตร ก่อตั้งได้ประมาณ 60 ปี แต่เดิมแล้วพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่ารกร้างไม่มีผู้คนมาอาศัยอยู่ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และสัตว์ป่านานาพันธุ์ บริเวณนี้จึงเป็นทางผ่านของบรรดาพ่อค้าที่นำสินค้าบรรทุกเกวียนมาขายจากจังหวัดพะเยาเพื่อไปขายยังจังหวัดลำปาง พ่อค้าเหล่านี้จะเห็นภูมิศาสตร์ที่จะสามารถตั้งรกรากทำการเกษตรฯ ไร่นา ได้ ต่อมามีประชาชนย้ายเข้ามาอาศัยจนจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงทำการตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้น ประชากรส่วนใหญ่จะอพยพมาจากอำเภองาว จังหวัดลำปาง เนื่องจากมีชายแดนที่ใกล้กัน โดยหมู่บ้านที่ทำการจัดตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้านแรกของตำบล คือ “บ้านแม่กาหลวง” เนื่องจากหมู่บ้านนี้มีแม่น้ำไหลผ่านล้อมรอบมาแต่เดิมจึงเรียกกันว่า “บ้านแม่กาน้ำล้อม” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบ้านแม่กาหลวง ต่อมาจำนวนประชากรหนาแน่นขึ้นพร้อมกับมีหลายหมู่บ้านจัดตั้งใหม่ขึ้นมาอีกหลายหมู่บ้าน เช่น บ้านแม่กาโทกหวาก บ้านแม่กาห้วยเคียน บ้านแม่กาไร่ บ้านแม่กานาไร่เดียว บ้านแม่กาหัวทุ่ง บ้านแม่กาหม้อแกงทอง และบ้านแม่กาท่าข้าม และได้รวมบ้านแม่ต๋ำบุญโยงเข้าเป็นหมู่บ้านโดยตั้งชื่อเป็น “ตำบลแม่กา” สาเหตุที่เรียกว่าตำบลแม่กา มีเรื่องเล่าว่า ในสมัยก่อนชาวบ้านที่อพยพมาไม่มากนัก แต่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นในหมู่บ้าน คือ ได้มีพ่อค้าเกวียนเดินทางผ่านมาแวะพักผ่อนที่ใต้ต้นตะเคียนใหญ่ใกล้ลำห้วย ขณะกำลังทานอาหารกลางวัน พ่อค้าเอาหม้อแกงไปตักน้ำที่ลำห้วย พอตกกลางคืน ก็เกิดอาถรรพ์มีเสือมาคาบเอาพ่อค้าคนที่ไปตักน้ำที่ลำห้วยกิน และถ้าส่วนใหญ่ถ้าหมู่บ้านใด มีอีการ้องรอบ ๆ หมู่บ้านก็จะมีคนในหมู่บ้านตาย 1 คน เป็นเช่นนี้บ่อย ๆ ชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านแม่กา” และด้วยอาถรรพ์ของลำห้วยจึงตั้งชื่อห้วยว่า “ห้วยแม่กา” ปัจจุบันห้วยแม่กาจะมีน้ำไหลตลอดปี
ภูมิศาสตร์
แก้ตำบลแม่กา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองพะเยาจังหวัดพะเยา ห่างจากตัวจังหวัดพะเยาระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครตามถนนพหลโยธิน ประมาณ 690 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 131 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 82,310 ไร่
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลแม่ต๋ำ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลแม่นาเรือและตำบลแม่ใส อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
ภูมิประเทศตำบลแม่กา โดยทั่วไปพื้นที่ทางทิศใต้และทิศตะวันตกเป็นเนินเขาและเชิงเขาเป็นป่าเขา จึงเป็นแหล่งกำเนิดลำน้ำหลายสายไหลผ่านหมู่บ้านต่าง ๆ ไปทางทิศเหนือลงสู่กว๊านพะเยา พื้นที่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มและที่ราบเชิงเขา ตำบลแม่กามีพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 24,637 ไร่ เป็นพื้นที่ป่าไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ ตามเนินเขา อยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันตก และเป็นป่าไม้สักและไม้เบญจพรรณ ประมาณ 51,253 ไร่ และเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ ประมาณ 8,450 ไร่
สภาพภูมิอากาศของตำบลแม่กา มีลักษณะเป็นแบบมรสุมเมืองร้อน สามารถแบ่งฤดูออกเป็น 3 ฤดู คือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – เดือนพฤษภาคม รวม 3 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 40 องศาเซลเซียส
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – เดือนตุลาคม รวม 5 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 39 องศาเซลเซียส ฝนตกชุกที่สุด ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน – เดือนกุมภาพันธ์ รวม 4 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 7- 10 องศาเซลเซียส
หมู่บ้าน
แก้ตำบลแม่กาประกอบด้วยหมู่บ้านต่าง ๆ ทั้งหมด 18 หมู่บ้าน ได้แก่
- บ้านหม้อแกงทอง
- บ้านห้วยเคียน
- บ้านแม่กาหลวง
- บ้านโทกหวาก
- บ้านแม่ต๋ำบุญโยง
- บ้านแม่กาไร่
- บ้านบัว
- บ้านแม่ต๋ำบุญโยง
- บ้านแม่ต๋ำบุญโยง
- บ้านแม่กาท่าข้าม
- บ้านแม่ต๋ำบุญโยง
- บ้านแม่กาหัวทุ่ง
- บ้านหนองแก้ว
- บ้านแม่กาไร่เดียว
- บ้านเกษตรสุข
- บ้านแม่กาห้วยเคียน
- บ้านแม่กาโทกหวาก
- บ้านแม่ต๋ำน้อย
การขนส่ง
แก้การคมนาคมขนส่งระหว่างตำบลใช้เส้นทางถนนเดินทางและการขนส่ง มีเส้นทางที่สำคัญ จำนวน 3 เส้นทาง คือ
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายนครสวรรค์ – เชียงราย ถนนพหลโยธิน ตั้งแต่หมู่ที่ 14 – หมู่ที่ 9 ความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
- ทางหลวงแผ่นดินสายพะเยา – วังเหนือ ตั้งแต่สามแยกวังเหนือบ้านเกษตรสุข หมู่ที่ 15 ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร
- ทางหลวงชนบทสายบ้านแม่กาโทกหวาก – ตำบลจำป่าหวาย ตั้งแต่สามแยกบ้าน โทกหวาก หมู่ที่ 4 – บ้านร่องเข็ม หมู่ที่ 6 ตำบลจำป่าหวาย ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร
ในส่วนของการให้บริการรถประจำทางมีรถยนต์รับจ้างประจำทางบริการตามถนนสายพะเยา – แม่กา (มหาวิทยาลัยพะเยา) และรถประจำทางโดยสารสายเชียงราย ลำปาง เชียงใหม่ แพร่ น่าน กรุงเทพฯ ผ่านตำบลแม่กาทุกเส้นทาง
สังคมและประชากร
แก้แต่เดิมประชากรในตำบลแม่กาส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ การทำนาข้าว การทำไร่ข้าวโพด ฟักทอง ขิง การปลูกผลไม้ เช่น ลิ้นจี่ ลำไย บางส่วนก็ประกอบอาชีพด้านการค้าขายและรับจ้างเมื่อหมดฤดูทำนา เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ก็เป็นการเลี้ยงเพื่อใช้แรงงานหรือเลี้ยงเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน เช่น โค กระบือ เป็ด ไก่ ในปัจจุบันเนื่องจากมีสถาบันและองค์กรต่าง ๆ ของภาครัฐเข้ามาตั้งอยู่ในพื้นที่หลายสถาบันหลายองค์กร จึงทำให้มีประชากรแฝงร่วมอยู่ในเขตพื้นที่มาก จากสภาพการทางสังคมในปัจจุบันทำให้สภาพสังคมของชุมชนตำบลแม่กาเปลี่ยนแปลงไป สามารถกำหนดได้เป็น 4 ลักษณะ
- ชุมชนเมือง
เป็นพื้นที่บริเวณรอบมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นพื้นที่ของสถานประกอบการ ร้านค้า ภาคบริการ ธนาคารต่าง ๆ รวมไปถึงตลาด ห้างสรรพสินค้า ประชาชนที่อยู่บริเวณนี้ค่อนข้างมีวิธีชีวิตเป็นชุมชนเมือง
- ชุมชนกึ่งเมือง
เป็นพื้นที่ของหมู่บ้านที่มีเขตติดต่อกับเทศบาลเมืองพะเยา ประชากรในพื้นที่จะประกอบอาชีพค้าขาย รับราชการ รับจ้างมากกว่าการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว
- ชุมชนกึ่งชนบท
เป็นพื้นที่ชุมชนใหญ่ เดิมมีอาชีพทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ เมื่อมีสถาบันและองค์กรต่าง ๆ เข้ามาอยู่ร่วมในชุมชนทำให้มีการประกอบอาชีพค้าขาย สถานประกอบการและการให้บริการ ตลอดจนเป็นลูกจ้างขององค์กรและสถาบันต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น
- ชุมชนเขตชนบทและชาวไทยภูเขา
เป็นพื้นที่ชุมชนที่ปลูกบ้านอาศัยอยู่ในพื้นที่สูงเชิงเขา โดยเฉพาะบ้านแม่ต๋ำน้อย หมู่ที่ 18 ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวไทยภูเขาประชากรจะประกอบอาชีพการเพาะปลูกพืชไร่ พืชสวน และหาของป่าเป็นอาชีพหลัก
สถานที่ราชการ
แก้- มหาวิทยาลัยพะเยา
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
- ศูนย์อุตสาหกรรมอัญมณีจังหวัดพะเยา
- ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดพะเยา
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา
- สถานีวิจัยและทดสอบพันธุ์สัตว์จังหวัดพะเยา
- สำนักงานเทศบาลตำบลแม่กา
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลตำบลแม่กา กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2562.