ติหาร (อักษรโรมัน: Tihar) หรือ ยมปัญจกะ (อักษรโรมัน: Yamapanchak) เป็นเทศกาลฮินดูที่เฉลิมฉลองโดยชาวเนปาลและชาวอินเดียในแถบบสิกขิม มีลักษณะเป็นเทศกาลแห่งแสง เช่นเดียวกับทีปาวลี ชาวเนวารแห่งหุบเขากาฐมาณฑุเรียกเทศกาลนี้ว่า ยมปัญจกติหาร และในชาวมเธศีแห่งมเธศเรียกว่า ทีปาวลีติหาร

ติหาร
สตรีในเนปาลจุดตะเกียงทีโยและประดับผนังด้วยหลอดไฟอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างการฉลองติหาร
ชื่ออื่นภาอีตีกา, ทีปาวลี, ยมปัญจัก
การเฉลิมฉลองแต่งบ้านด้วยแสงไฟ รวมตัว พิธีบูชา ร้องเพลงและร่ายรำ เทวสีภาอีโล เกม อาหาร
การถือปฏิบัติพิธีทางศาสนา
เริ่มการติก กฤษณปักษ์ ตรโยทาศี
สิ้นสุดการติก ศุกลปักษ์ ทวิตยะ
วันที่ในปี 202430 ตุลาคม ถึง 3 พฤศจิกายน
ความถี่รายปี
ส่วนเกี่ยวข้องทีปาวลี, พันธิโฉรทิวาส, สวันตี, โสหราอี, พันทนา

เช่นเดียวกับทีปาวลี เทศกาลนี้ประกอบด้วยการจุดตะเกียง ทีโย ด้านในและด้านนอกบ้าน เทศกาลความยาวห้าวันนี้ประกอบด้วยการเฉลิมฉลองและบูชาสิ่งมีชีวิตสี่ชนิดที่เกี่ยวข้องกับพระยม เทพเจ้าฮินดูแห่งความตาย และวันสุดท้ายสำหรับฉลองผู้คน[1] ตามปฏิทินวิกรมสามวัต เทศกาลเริ่มต้นด้วยวันกาคติหาร (Kaag Tihar - ติหารกา) ตรงกับวันตรโยทาศี ของเดือนการติก กฤษณปักษ์ (วันที่ 13 เดือนมืด) และสิ้นสุดที่ภาอีติกา ตรงกับวันทวิติยา ของเดือนการติก ศุกลปักษ์ ของทุกปี[2] ซึ่งตรงกับเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนตามปฏิทินเกรเกอเรียน[3]

ชุมชนต่าง ๆ จะมีการจุดประทีปทีโย ประดับบ้านเรือนด้วยแสงไฟ และใช้แป้ง ธัญพืช ทราย และกลีบดอกไม้ มาจัดเรียงเป็นรงโคลีบนพื้น เพื่อเป็นการต้อนเทพเจ้า โดยเฉพาะพระลักษมี[4] และเพื่อขจัดความมืดมิด

อ้างอิง

แก้
  1. Burbank, Jon, 1951– (January 2014). Nepal. ISBN 978-0-7614-8021-1. OCLC 1046067057.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. "Kaag Tihar: When crow are worshiped". nepaltraveller.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 29 September 2020.
  3. Nepal, Naturally. "Tihar". www.welcomenepal.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2021. สืบค้นเมื่อ 29 September 2020.
  4. Selvamony 2006, pp. 172